หลวงปู่ชา สุถัทโท เป็น พระเกจิสายพระกรรมฐาน ที่รู้จักกันดี หลวงปู่ชา มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และพระกรรมฐานที่เป็นทายาทธรรมของท่านหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง พระกรรมฐาน ธรรมะ

  • หลวงปู่สี สิริญาโณ แห่งวัดป่าศรีมงคล อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี
  • พระมงคลกิตติธาดา หรือพระอมร เขมจิตฺโต แห่งวัดป่าวิเวก(ธรรมชาน์) อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) วัดหนองป่าพง ตำบลโนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
  • พระครูปทุมภาวนาวิกรม (ประสพไชย กันตสีโล) วัดป่าจิตตภาวนา(ฟ้าคราม) ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
  • พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน วัดมาบจันทร์ ต. แกลง อ. เมือง จ. ระยอง
  • พระอาจารย์อัครเดช(ตั๋น) ถิรจิตโต วัดบุญญาวาส ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
  • หลวงพ่อคูน อัคตธัมโม วัดป่าโพธิ์สุวรรณ ต.นาโพธิ์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี

มาทำความรู้จักกับประวัติของหลวงปู่ชา สุภัทโท 

พระโพธิญาณเถร หรือ หลวงปู่ชา สุภทฺโท เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ที่ บ้านจิกก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้อง 10 คน และมรณภาพ ณ วันที่  16 มกราคม พ.ศ. 2535

หลวงปู่ชา สุภัทดท เรียนจบระดับประถมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านได้บวชเรียน มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาบาลี ในด้านพระธรรม ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมได้ชั้นสูงสุด คือ นักธรรมเอก หลวงปู่ชา สุภัทโท ได้รับสมณศักดิ์ พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ “พระโพธิญาณเถร” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2516 และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2517

เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เช้าอุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยพระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่ชา สุภัทโทได้ออกธุดงค์ ตามสำนักธรรมต่างๆ จนเมื่อ พ.ศ. 2497 ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่ วัดหนองป่าพง และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนมรณภาพเมื่อ 16 มกราคม 2535 เวลา 05.20 น.

วัดหนองป่าพง มีวัดสาขาทั่วประเทศ  82 สาขา และ 7 สาขาในต่างประเทศ วัดหนองป่าพง ถือเป็นวัดที่มีลูกศิษย์เป็นชาวต่างประเทศจำนวนมาก รายนามสาขาของวัดหนองป่าพงในต่างประเทศ  ประกอบด้วย วัดจิตตวิเวก ประเทศอังกฤษ วัดอมรวดี ประเทศอังกฤษ วัดป่าสันติธรรม ประเทศอังกฤษ วัดรัตนคิรี (ฮาร์นัม) ประเทศอังกฤษ เดว่อน วิหาร ประเทศอังกฤษ วัดสันตจิตตรามา ประเทศอิตาลี วัดธรรมปาละ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วัดอภัยคิรี อเมริกา
วัดป่านานาชาติ อุบลราชธานี ออสเตรเลีย วัดโพธิญาณ ประเทศออสเตรเลีย โพธิญาณรามา นิวซีแลนด์

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ คือชื่อของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ซึ่งกรรมฐาน พระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่มีชื่อเสียงหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี พระกรรมฐาน ธรรมะ

หลวงปู่เทสก์ เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 และได้มรณภาพลงในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 รวมอายุ 92 ปี กับ 235 วัน พรรษา 71

หลวงปู่เทสก์เข้าอุปสมบท 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ได้บวช และสังกัดฝ่ายธรรมยุติก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ เกิดที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 ปีขาล หลวงปู่เทสก์เกิดในครอบครัวชาวนา หลวงปู่เทสก์เป็นบุตรของนายอุส่าห์ นางครั่ง เมื่อหลวงปู่เทสก์อายุได้ 18 ปี ได้บวชเณรและติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี และวัดศรีทอง

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีได้เข้าอุปสมบท ที่พัทสีมาวัดสุทัศนาราม ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 โดยพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ระหว่างที่ท่ายออกธุดงค์ กับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีการจาริกธุดงค์ ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านได้จาริกธุดงที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ และท่านได้ปฏิบัติกรรมฐานในแถบภาคเหนือ ถิ่นของชาวเผ่ามูเซอร์ ท่านหลวงปู่เทสก์ ได้จาริกโปรดคนบริเวณจังหวัดลำพูน หลังจาก ในปี พ.ศ. 2492 นั้นท่านได้กลับมาพำนักที่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ท่านได้ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่อาพาธ ณ วัดบ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านหลวงปู่มั่นได้มรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2493 หลังจากที่หลวงปู่มั่นมรณภาพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ก็ไปจำพรรษาที่ภาคใต้ ในแถบจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่ เป็นเวลา 15 ปี จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดถ้ำขาม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และวัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ในเวลาต่อมา

สมณศักดิ์ของหลวงปู่เทสก์ เทศรังสี

  • ได้สมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ พระครูนิโรธรังสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498
  • ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะยกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500
  • ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533

ในวาระสุดท้ายของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ท่านพำนัก ณ วัดถ้ำขาม และมาณภาพลงอย่างสงบ ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เวลา 21.45 น อายุได้ 93 ปี 71 พรรษา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระราชทานหีบทองทึบ และรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์

พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้จัดขึ้นที่วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย ในทุกๆ วันที่ 17 ธันวาคม ของทุกปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะให้ผู้แทนพระองค์นำแจกันดอกไม้วางหน้าพระอัฐิหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ณ วัดหินหมากเป้ง

คำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

“ชีวิตและเลือดเนื้อตลอดถึงข้อวัตร ที่หลวงปู่ทำอยู่ทั้งหมด ขอมอบบูชาพระรัตนตรัยเหมือนกับบุคคลเด็ดดอกไม้บูชาพระฉะนั้น”

“”คนเราเกิดมาในเมืองมนุษย์ ต้องพบมนุษย์อยู่ร่ำไป พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่ด้วยความสงบวิเวกด้วยใจ อย่าไปยึดเอาเรื่องของคนอื่นมาไว้เป็นอารมณ์ของใจ แล้วก็จะวิเวกอยู่คนเดียว ถ้าใจไม่สงบแล้วจะอยู่ในป่าคนเดียวมันก็ไม่สงบอยู่ดีๆนั่นเอง””


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove