ชะมวง Cowa สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง บำรุงเลือด รักษาไข้ ละลายเสมหะ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ถอนพิษ แก้บิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ธาตุพิการ

สรรพคุณของชะมวง ชะมวง ใบชะมวง สมุนไพร

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมวง คือ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy ชะมวงเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับมังคุด สำหรับชื่อเรียกอื่นของชะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น พืชท้องถิ่นของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยมักจะพบตามป่าดิบชื้น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาคของประเทศ แต่จะพบมากในแถบภาคใต้และภาคตะวันออก

ประโยชน์ของชะมวง ใบชะมวงมีรสเปรี้ยว นิยมใช้ปรุงอาหารให้รสเปรี้ยว เช่น หมูชะมวง ผลชะมวงสุก ใช้รับประทานได้ ยอดอ่อนหรือใบอ่อนชะมวง ใช้รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ป่นแจ่ว หรือนำไปใช้ปรุงอาหาร เช่น ต้มส้ม ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง ทำแกงชะมวง ต้มซี่โครงหมูใบชะมวง ใช้แกงกับหมู หมูชะมวง หรือนำมาใส่ในแกงอ่อม เป็นต้น ผลและใบอ่อน ใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน ให้รสเปรี้ยว ผลและใบแก่ นิยมนำมาหมักจะฤทธ์เป็นกรด นำมาใช้สำหรับการฟอกหนังวัวหรือหนังควาย ต้นชะมวง สามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้ให้ร่มเงาได้ดี เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เป็นต้น น้ำยางจากต้นชะมวง ใช้ผสมในน้ำมันชักเงา ยอดอ่อนชะมวง นำมาหมักกับจุลินทรีย์จะทำให้เกิดรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาปราบศัตรูพืช

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง เป็นพืชท้องถิ่น เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงปานกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด การปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะของต้นชะมวง จะเป็นทรงพุ่มคล้ายกรวยคว่ำ ความสูงของต้นชะมวงประมาณ 10 เมตร ลำต้นของชะมวงจะเกลี้ยง แตกกิ่งก้านใบตอนบนของลำต้น
  • เปลือกของชะมวงจะเป็นสีดำออกน้ำตาล มีลักษณะขรุขระ เป็นสะเก็ด แต่เปลือกด้านในจะมีสีขมพูออกแดง มีน้ำยางออกบริเวณเปลือก
  • ใบของชะมวง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว รูปรี ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 เซนติเมตร ใบอ่อนของชะมวงจะมี สีเขียวอ่อน ส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม
  • ดอกของชะมวง จะออกดอกตามซอกใบและกิ่ง ดอกจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชะมวง จะเป็นทรงกลม ผิวเรียบและมัน ผลอ่อนจะมีสีเขียวและผลสุกจะมีสีเหลือง ผลสุกจะมีรสเปรี้ยว สามารถทานได้

คุณค่าทางโภชนาการของต้นชะมวง

สำหรับการรับประทานชะมวง นิยมรับประทานใบชะมวง ปรุงรสอาหารให้รสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบชะมวง ขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 3.2 กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7333 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.04 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.2 มิลลิกรัม และวิตามินซี 29 มิลลิกรัม

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของชะมวง เราสามารถนำชะมวงมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ และผล รายละเอียดมี ดังนี้

  • ผลอ่อนของชะมวง สามารถนำมาใช้ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต เป็นยาระบาย
  • ผลแก่ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ
  • รากของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยถอนพิษไข้ เป็นยาแก้ไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้เสมหะ ช่วยแก้บิด
  • ดอกของชะมวงสามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยแก้ดีพิการ
  • ใบของชะมวง สามารถนำมาใช้ ช่วยรักษาธาตุพิการ เป็นยาแก้ไข้ ช่วยฟอกโลหิต แก้อาการกระหายน้ำ แก้อาการไอ ช่วยแก้เสมหะ เป็นยาระบาย เป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • เนื้อไม้ของชะมวง สามารถนำมาใช้ ยาระบาย แก้อาการเหน็บชา

โทษของชะมวง 

การใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง โทษของชะมวง มีดังนี้

  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้
  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ไทรอยด์  Thyroid gland ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนผิดปรกติ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เหงื่อออกง่าย หงุดหงิด ฉุนเฉียว ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ

ไทรอยด์เป็นพิษ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ไทยรอยด์ คือ ต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ของร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่หลัก คือ ผลิตฮอร์โมนต่างๆ ความสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองและระบบประสาท ควบคุมระบบเผาผลาญและรักษาอุณหภูมิของร่างกาย หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติ ระบบต่างๆในร่างกายจะถูกกระตุ้นให้ทำงานมากขึ้น ทำให้เกิด ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ไทรอยด์เป็นพิษ ( Hyperthyroidism , Overactive Thyroid )คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะส่งผลให้ระบบในร่างกายทั้งหมดผิดปรกติ ซึ่งระบบประสาทจะไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้

ความผิดปรกติของไทรอยด์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

  1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน เป็น ภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินความจำเป็น  ส่งผลให้หัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักตัวลด ทำให้มีอารมณ์แปรปรวนบ่อย
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ( Hypothyroidism ) เป็นภาวะที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาน้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง รู้สึกหนาว ระบบความจำเสื่อม ตัวบวม ท้องผูก ถ้าเกิดกับเด็กจะทำให้ตัวการเจริญเติบโตของเด็กไม่ดี ตัวจะแคระแกรน
  3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนของร่างกายหลั่งออกมาปกติ แต่มีความผิดปกติที่ตรงต่อมไทรอยด์

สาเหตุของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ

สาเหตุของโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นเกิดขึ้นจาก การทำงานมากกว่าปรกติของต่อมไทรอยด์ จนทำให้ร่างกายมีปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าความต้องการของร่างกาย สามารถแยกสาเหตุได้ 3 สาเหตุหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • การรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโรคไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุของต่อมไทรอยด์สามารถส่งผลต่อการทำงานของของต่อมไทรอยด์ได้ โดยการอักเสบของต่อมไทรอยด์จะทำให้ฮอรโมนไทรอยด์ถูกผลิตออกมามากขึ้น และทำให้ฮอร์โมนรั่วไหลออกไปที่กระแสเลือด ทั้งนี้การอักเสบของต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บ ยกเว้นอาการไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันที่เกิดขึ้นได้น้อย สามารถส่งผลให้เกิดอาการเจ็บได้
  • เนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ เป็นกรณีที่พบได้น้อย เนื้องอกที่เกิดบริเวณไทรอยด์ และเนื้องอกที่เกิดบริเวณต่อมใต้สมอง อาจส่งผลให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษได้
  • การได้รับการเสริมฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนบางชนิด เช่น ยาอะไมโอดาโรน (Amiodarone) ที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะทำให้เกิดการหลั่งของฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจนกลายเป็นพิษ

อาการของโรคไทยรอยด์

อาการของโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยจะมีความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบการเผาผลาญ ของร่างกายถูกกระตุ้น ทำให้น้ำหนักตัวลดลง นอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย เนื่องจากระบบทางเดินอาหารถูกกระตุ้นให้ทำงาน ตาโปนเยื่อหลังนัยน์ตาขยาย ในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน ซึ่งสามารถสรุปอาการของโรคเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ดังนี้

  • อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ
  • คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
  • นอนหลับยาก
  • มีปัญหาสายตา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน เป็นต้น
  • สุขภาพผมเปลี่ยนไป ผมเปราะบางขาดง่าย และมีอาการผมร่วง
  • ผู้หญิงมีรอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมีสีจางและมาไม่สม่ำเสมอ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขาและต้นแขน
  • เล็บยาวเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • มือสั่นตลอดเวลา
  • มีอาการคัน
  • เหงื่อออกมาก
  • ผิวหนังบาง
  • น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
  • อาจพบเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นในเพศชาย

มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyroid carcinoma ) มีทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรง จะพบมากในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย แต่พบว่าผู้ชายจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้หญิง

การรักษาโรคไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์  สามารถทำการรักษาได้โดย กินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน เมื่อเราพบว่าร่างกายเป็นภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป สามารถรักษาได้โดย การกินยาไทรอยด์เพิ่มระดับฮอร์โมน และให้ยาขับน้ำ เพื่อลดการบวมของร่างกาย หากพบว่าเป็นมะเร็งต่อมไทยรอยด์ จะต้องทำการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน รวมถึงฉายรังสีรักษา

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไทยรอยด์

เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าวหรือสังเกตเห็นมีก้อนเนื้อผิดปกติในบริเวณต่อมไทรอยด์ และ/หรือลำคอ ควรรีบพบแพทย์เสมอภายใน 1 – 2 สัปดาห์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดีกว่า ใช้เวลารักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่าการรักษาในระยะที่เป็นโรคเรื้อรังหรือเป็นโรคมะเร็งในระยะลุกลาม

ป้องกันไม่ให้เกิดโรคของต่อมไทรอยด์

การป้องกันโรคไทยรอยด์ในทางการแพทย์นั้น โรคต่อมไทรอยด์ ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคคอพอก ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น การป้องกันโรคไทรอยด์ เราต้อง รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของ ไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่มีสารไอโอดีย เช่น อาหารทะเล เกลือทะเล นอกจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโนคนี้ได้

 

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove