ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ต้นว่านหางจระเข้เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ สมุนไพร สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น รักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับบำรุงผิว

ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera ) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็น ไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

การใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราจะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ ซึ่ง การใช้ว่านหางจระเข้ ทางสมุนไพร มีดังนี้

  • นำว่านหางจระเข้มารักษาแผลไฟไหม และน้ำร้อนลวก โดย ใช้น้ำยางมาทาผิวของแผล ช่วยรักษาแผล และสมานแผลได้
  • การรักษาสิว โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ทาหน้า รักษาสิวให้แห้งและหลุดง่าย
  • บำรุงผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ ลดอาการคันหนังศรีษะ ไม่มีรังแค
  • นำว่านหางจระเข้มารับประทาน ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

เมื่อสรรพคุณของว่านหางจระเข้มีอยู่มากมายรอบด้านขนาดนี้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากว่านหางจระเข้ก็ย่อมต้องทยอยออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลากหลาย ดังนี้

  • เจลว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ใช้ทาเพื่อลดอาการบวม เป็นครีมทาใต้ตา บำรุงผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ผสมกับส่วนผสมต่าง ๆ พอกหน้าแทนวุ้นว่านหางจระเข้ได้ ทั้งยังใช้ทาแผลพุพอง แผลสด เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการยิงเลเซอร์ และมีรอยไหม้แดงบนใบหน้า จะทำให้บรรทาอาการลงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ครีมว่านหางจระเข้ ก็มีสรรพคุณเดียวกันกับเจลว่านหางจระเข้ แตกต่างกันที่เนื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์เข้มข้นกว่า อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีหน้ามัน เพราะเนื้อครีมจะให้ความรู้สึกหนักกว่าเนื้อเจล แต่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่มีหน้าแห้ง เพราะจะให้ความชุ่มชื้นที่มากกว่า

ทั้งนี้นอกจากเจลว่านหางจระเข้และครีมว่านหางจระเข้แบบทั่วไปแล้ว ยังถูกต่อยอดออกไปเป็นเจลล้างหน้าว่านหางจระเข้ เจลและครีมว่านหางจระเข้แบบผสมสารกันแดด นอกจากนี้ยังมีน้ำว่านหางจระเข้สำหรับดื่มอีกด้วย โดยสรรพคุณไม่แตกต่างจากว่านหางจระเข้สดมากนัก

คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
  • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
  • การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
  • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษากระเพาะอักเสบ แก้ท้องเสีย ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทยจะพบการปลูกกล้วยมากมายกล้วยน้ำว้า สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า ภาษาอังกฤษ เรียก Cavendish banana ชื่อวิทยาศาสตร์ของกล้วยน้ำว้า คือ Musa sapientum Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกล้วยน้ำว้า เช่น กล้วยใต้ กล้วยนาก กล้วยมณีอ่อง กล้วยส้ม เจกซอ มะลิอ่อง เป็นต้น กล้วยน้ำว้า เป็น ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง

กล้วยน้ำว้ากับสังคมไทย

กล้วยกับสังคมไทยเป็นพืชคู่ครอบครัวทุกครัวเรือน งานแต่งงานในประเพณีไทย ต้องมีต้นกล้วยเป็นหนึ่งในเครื่องแต่งขันหมาก ทุกบ้านในประเทศไทยนิยมปลูกกล้วยเพื่อใช้ประโยชน์ ซึ่งกล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งต้นเลย ใบกล้วย หงวกกล้วย หัวปลี ผลกล้วย สำหรับด้านอาหาร กล้วยน้ำว้า สามารถแปรรูปได้หลากหลาย อย่างกล้วยน้ำว้าสุกสามารถใช้ทำเป็นขนม ของหวานต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยตาก ข้าวต้มมัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า

ต้นกล้วยน้ำว้า เป็นไม้ล้มลุก กล้วยหนึ่งต้นจะให้ผลครั้งเดียวจากนั้นจะตาย การขยายพันธุ์ของกล้วย ใช้การแยกหน่อ ลักษณะของต้นกล้วยน้ำว้า มีดังนี้

  • ลำต้นกล้วยน้ำว้า ลักษณะเป็นกาบ ลำต้นกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นเป็นสีเขียว ผิวเรียบ อวบน้ำ
  • ใบกล้วยน้ำว้า ลัฏษณะเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดใหญ่ ยาว ผิวใบเรียบ เส้นใบขนานกันในแนวขวาง ก้านใบเป็นร่องแคบ
  • ดอกกล้วยน้ำว้า เรียก หัวปลี ก้านดอกแทงออกจากยอดของลำต้น ลักษณะตูมเหมือนดอกบัว ขนาดใหญ่ ภายในมีกลีบดอกจำนวนมาก ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผลกล้วยต่อไป
  • ผลกล้วย ลักษณะเป็นเครือ ในหนึ่งเครือ มีกล้วยหลายหวี และ ในหนึ่งหวีมีผลกล้วยหลายผล ลักษณะผลกล้วยยาวเรียว ขนาดยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ผลดิบเป็นสีเขียว ผิวผลเรียบ เนื้อในมีสีขาว ส่วนพอสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดกลมๆสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการบริโภคกล้วยเป็นอาหาร สามารถใช้ประโยชน์จากผลกล้วย และ ปลีกล้วย ซึ่งจากการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกล้วยน้ำว้า ขนาด 100 กรัม พบว่า สามารถให้พลังงาน 85 แคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 75.7 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม เถ้า 0.8 กรัม แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม วิตามินเอ 190 IU วิตามินซี 10 มิลลิกรัม ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม และไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุด กล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีนและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น กินกล้วยน้ำว้าสุก จะช่วยระบายท้องและสามารถรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยกินวันละ 4-6 ลูก แบ่งกินกี่ครั้ง ก็ได้ กินกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี เห็นผลได้ใน 1 สัปดาห์ กล้วยน้ำว้าดิบและห่ามมีสารแทนนิน เพคตินมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษา อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยกินครั้งละครึ่งผล หรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง นอกจากนี้จากการศึกษาวิจัยยังพบว่า มีผลในการรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย การนำกล้วยน้ำว้ามาใช้ประโยน์ทางสมุนไพร สามารถนำ ผล หัวปลี และหยวกกล้วย มาใช้ได้ ดังนี้

  • ผลดิบของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน แก้ท้องเสีย
  • ผลสุกของกล้วยน้ำว้า นำมารับประทาน เป็นยาระบาย
  • ยางของกล้วยน่ำว้า สามารถทำมาทาแผล ใช้เป็นยาสมานแผลห้ามเลือดได้ดี
  • หัวปลี นำมารับประทาน ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาเบาหวานได้

ประโยชน์ของกล้วย

  1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
  3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
  4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
  5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
  6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
  7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
  8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
  9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
  10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ

โทษของกล้วยน้ำว้า

สำหรับการรับประทานกล้วยน้ำว้าเป็นอาหาร ยางกล้วยมีความเป็นพิษ มีสารซิโตอินโดไซด์ ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสเตียรอยด์ ไม่ควรรับประทานยางกล้วย การรับประทานกล้วยมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ

กล้วยน้ำว้า ผลไม้ พืชเศษฐกิจ สรรพคุณของกล้วยน้ำว้า ช่วยสมานแผล ยาระบาย รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง สมุนไพร พืชสารพัดประโยชน์ ปลูกง่าย สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตามบ้านเรือนของไทย จึงพบเห็นการปลูกกล้วยอยู่มากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove