พาร์กินสัน อาการสั่นควบคุมร่างกายไม่ได้ โรคระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองสร้างสารโดพาไมน์ไม่เพียงพอ ปัจจัยของการเกิดโรค เช่น กรรมพันธ์ุ สมองอักเสบ และ อายุโรคสมอง โรคระบบประสาท โรคพาร์กินสัน พาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคไม่ติดต่อ ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้ มีการสั่นของมือและการเคลื่อนไหวตัวได้น้อย จากการศึกษาพบว่าเซลล์สมองไม่สามารถสร้างสารโดพาไมน์ ( dopamine ) อย่างเพียงพอ ในสมองส่วนหน้า( forebrain ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ จดจำ คิด คำนวน การควบคุมการเคลือนไหว และสมองน้อย(cerebellum) มีหน้าที่ช่วยประสานงานของการทำงานกล้ามเนื้อ และช่วยการทรงตัว ในส่วนเนื้อสมองส่วนที่3และส่วนที่4 จะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว จะมีกลุ่มกล้ามเนื้ออีกส่วนหนึ่งคลายตัว จะช่วยรักษาสมดุลการทำงานของระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์

อาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สำหรับอาการผู้ป่วยจะมีอาการสั่นโดยเฉพาะที่ มือ แขน ขา กรามและหน้า มีอาการเกร็งที่แขนและลำตัว การเคลื่อนไหวตัวทำได้ช้า ทรงตัวได้ไม่ดี ไม่สามารถแสดงออกของหน้าได้ พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

สาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสัน

โรคพากินสัน เกิดจากเซลล์สมองในส่วน substantia nigra ซึ่งมีหน้าที่สร้างสารโดพาไมน์(dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าเชื่อมไปยังสมองส่วนที่ทำหน้าที่ให้การทำงานของกล้ามเนื้อ เซลล์ส่วนนี้ไม่สามารถสร้างได้อย่างเพียงพอ ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อผิดปรกติ จะมีอาการ สั่นและกระตุก สาเหตุอื่นๆที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน เช่น กรรมพันธ์ุ การได้รับสารพิษบางชนิด โรคเส้นเลือดสมองตีบ สมองอักเสบ อายุที่มากขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อป่วยโรคพาร์กินสัน

สำหรับผู้ป่วยโรคพากินสัน มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคความดันต่ำ ภาวะท้องผูก ปัสสาวะคั่ง ความต้องการทางเพศลดลง

การรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

สามารถทำได้โดยการทำกายภาพบำบัด การใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  1. การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีเพื่อช่วยให้ผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือตนเองได้ การรักษาด้วยวิธีทำกายภาพบำบัด จะช่วยให้การเคลื่อนไหว ของผู้ป่วยถูกต้อง เช่น การเดิน การนั่ง การทรงตัว รวมมถึงอวัยวะอื่นๆที่เคลื่อนไหวลำบาก
  2. รักษาโดยการให้ยา แต่ยาที่ให้ จะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตาย คืนสภาพกลับมาได้ แต่ยาที่ให้จะช่วยเรื่องการเพิ่มสารโดพาไมน์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. รักษาโดยการผ่าตัด เป็นวิธีรักษาแบบใหม่ เป็นการผ่าตัดฝังสายเพื่อกระตุ้นไฟฟ้าอย่างอ่อน ในสมอง ส่วนที่เรียกว่า Globus Pallidus หรือ Subthalamic mucleus ส่งผลให้อาการสั่นของผู้ป่วยลดลง การเคลื่อนไหวทำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถปลูกถ่ายเซลเนื้อเยื่อจากต่อมหมวกไต หรือปมประสาทที่อยู่บริเวณคอ โดยนำไปปลูกในโพรงสมอง โดยเนื้อเยื่อเหล่านี้ จะช่วยสร้างสารโดพามีน การใช้วิธีนี้รักษาผู้ป่วยจะไม่ต้องกินยา หรือรับยาในปริมาณที่ลดลง แต่วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง และแนะนำให้รักษาในผู้ป่วยที่ยังมีอายุน้อยอยู่

การดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

จำเป็นต้องดูแลไม่ว่าจะเป็นส่วนการรับประทานอาหาร การเดิน หารออกกำลังกาย และการนอน เป็นต้น

  1. การรับประทานอาหาร ควรให้รับประทานอาหารจำพวก ผัก ผลไม้และธัญพืช เป็นอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก หลีกเลียงอาหารที่ทำให้ท้องผูก เช่น กาแฟ ชา เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ นม เนย กะทิและไอศกรีม เป็นต้น ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีปัญหาเรื่องการเคี้ยวอาหาร ดังนั้นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ต้องช่วยลดภาระการเคี้ยวอาหาร
  2. การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แนะนำให้ผู้ป่วยว่ายน้ำ ทำสวน เต้นรำ หรือยกน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดี การเคลื่อนไหวดีขึ้น และอารมณ์ดี
  3. การเดินสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เมื่อรู้สึกว่าการเดินเริ่มลากเท้า เดินได้ช้าลง แนะนำให้ใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีขนาดกว้างและยาวขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการล้ม เนื่องจากผู้ป่วยจะทรงตัวได้ไม่ดีทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย
  4. การนอนหลับสำหรับผู้ป่วยดรคพาร์กินสัน เป็นปัญหามาก โดยผู้ป่วยจะผู้เข้าหลับง่าย แต่ตื่นเช้ามืด เพราะจะรู้สึกนอนไม่หลับ การขยับตัวทำได้ยาก ในบางราย จากลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อย แต่เคลื่อนไหวตัวลำบาก อาจจะต้องให้ยาเพื่อช่วยควบคุมอาการเหล่านี่ในตอนกลางคืน
  5. ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ให้สะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ภายในตัวบ้าน ห้องน้ำ ห้องนอน
    ห้องครัว แนะนำให้ติดราวบันได เพื่อในการทรงตัว ในส่วนของพื้นให้เรียบ และป้องกันพื้นลื่น

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

  • คนรอบข้างควรช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย ป้องกันการเกิดข้อยึดติด เช่น การแกว่งแขวน การเดินก้าวเท้ายาว ยกเท้าสูงขึ้น
  • แนะนำการบริหารลูกตาด้วยการกลอกลูกตาไปมา โดยการดูกีฬาที่มีการโต้ตอบไปมา เช่น เทนนิส ปิงปอง เป็นต้น
  • ในระยะแรก หากผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การปั่นจักรยาน ก็อาจให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดังกล่าวได้
  • ระวังเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาการกลืน การพูด
  • ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและดูแลสภาพจิตใจอยู่เสมอ เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้า

สมุนไพรที่บำรุงสมอง สามารถช่วยบรรเทาและลดการเกิดโรคต่างๆ เกี่ยวกับระบบสมองได้ เราจึงขอแนะนำสมุนไพร สรรพคุณบำรุงระบบสมอง มีดังนี้

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรหอมหัวใหญ่  ทำอาหารก็อร่อย ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท
ดอกชมจันทร์ สมุนไพร สรรพคุณของชมจันทร์ชมจันทร์ สรรพคุณ เป็นยาระบายอ่อนๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งได้ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ สมุนไพร สรรพคุณ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา เราสามารถนำหญ้าคามาใช้สำหรับ ต้านอาการอัดเสบ ต้านเลือดเหนียว ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงสมอง มะพร้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชยืนต้นมะพร้าว สมุนไพร ผลไม้ที่มีประโยน์ ประกอบด้วย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพรกระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ ตะไคร้ สมุนไพร พืชสมุนไพร สมุนไพรไทยตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของคะไคร้ เช่น ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาหารปวด

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) โรคอันตราย เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย รา อาการมีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้อาเจียน ชักหมดสติ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมอง โรคติดเชื้อ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลัง ซึ่งโดยรวมเรียกว่า เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งการอักเสบเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพต่างๆ แต่ในบางครั้งก็สามารถเกิดจากการใช้ยาบางชนิด โรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากการอักเสบ เกิดขึ้นใกล้กับเนื้อสมองและไขสันหลัง

เยื่อหุ้มสมอง ภาษาอังกฤษ เรียก Meninges เป็นเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีความแข็งแรง หุ้มสมองทุกส่วน โดยทำหน้าที่ปกป้องสมอง การเกิดการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อของสมอง เป็นโรคทีีสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ได้พบบ่อยมาก แต่อาการของโรคนี้ค่อนข้างรุนแรง จากสถิติในประเทศแถบตะวันตก พบผู้ป่วยโรคนี้ 100,000 คน พบได้ 3 คน และพบว่าสาเหตุของโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่ 10 คน ต่อประชากร 100,000 คน โรคนี้พบได้ในประเทศกำลังพัฒนาได้มากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุก เพสและทุกวัย

การเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร

เราพบว่า สาเหตุของการเกิดโรค จากการติดเชื้อไวรัส มากเป็นอันดับหนึ่ง และรองลงมา เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ตามลำดับ  เชื้อต่างๆสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง เราได้รวบรวม เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีดังนี้

  • เชื้อไวรัสเอนเทโร ภาษาอังกฤษ เรียก Enterovirus เป็นชื้อโรคที่ทำให้เกิด โรคมือ เท้า ปาก และโรคหวัด
  • เชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์  ภาษาอังกฤษ เรียก Varicella zoster virus เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
  • เชื้อไวรัสคางทูม ภาษาอังกฤษ เรียก Mumps virus เป้นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคคางทูม
  • เชื้อแบคทีเรียนัยซ์ซีเรีย เมนิงไจติดิส ภาษาอังกฤษ เรียก Neisseria meningitidis
  • เชื้อแบคทีเรียมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส ภาษาอังกฤษ เรียก Mycobacterium tuberculosis เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรควัณโรค
  • เชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา ภาษาอังกฤษ เรียก Leptospira เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคฉี่หนู

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถรับเชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองทางกระแสเลือดมากที่สุด นอกจากการรับเชื้อโรคทางกระแสเลือดแล้ว การรับเชื้อโรคจากการฉีกขาดของเนื้อเยื้อโดยอุบัตติเหตุ นอกจากนี้การสัมผัสเชื้อโรค ผ่านทาง อื่นๆ เช่น การหายใจ การไอ การจาม สัมผัสอุจจาระ สัมผัสปัสสาวะ และแผล ก็สามารถเป็นช่องทางการที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมด

ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ รายละเอียด ดังนี้

  1. ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ต่ำ สามารถพบได้ในเด็กและผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังของโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคเอดส์ เป็นต้น
  2. การติดสุรา เนื่องจากผู้ติดสุรามักจะมีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ
  3. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดม้าม เนื่องจากม้ามเป็นอวัยวะที่สร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  4. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดทางเดินน้ำไขสันหลัง เนื่องจากน้ำไขสันหลังเป็นช่องทางที่เข้าสู่สมอง จึงเป็นช่องทางที่ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่สมองได้
  5. ผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อที่หูเรื้อรัง
  6. คนที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

อาการของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โดยอาการของโรค อาการอาจเหมือนหรือต่างกันได้ ตามช่วงอายุ โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. เด็กอายุไม่เกิน 1 เดือนสามารถพบได้บ่อย โดยอาการที่พบ คือ มีไข้สูง กระสับกระส่าย ร้องโยเย ร้องไห้เสียงสูง ไม่ดูดนม อาเจียน อาจชัก บริเวณกระหม่อมนูน
  2. เด็กวัยทั้วไป และคนทั่วไป อาการที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดหัวอย่างรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน ตากลัวแสง อาจชัก ซึม มึนงง สับสน และอาจหมดสติ
  3. ผู้สูงอายุและคนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานร่างกายต่ำ อาการที่พบ คือ ไม่ค่อยมีไข้ มึนงง และง่วงซึม

การตรวจโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย ตรวจสอบประวัติการติดเชื้อ การเกิดอุบัติเหตุ การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง และตรวจเชื้อโรคจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองไขสันหลัง การตรวจเลือด เพื่อดูภูมิต้านทานต่างๆ   เป็นต้น

การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การรักษาสามารถทำได้โดยการรักษาตามสาเหตุ และประคับประคองตามอาการ เช่น เมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะทำการให้ยาปฏิชีวนะ ตามชนิดของเชื้อ เมื่อติดเชื้อไวรัส ประคับประคองตามอาการ
เมื่อเกิดจากเชื้อโรคอื่นๆ ก็ให้ยาฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ ส่วนการประคับประคองโรคให้รักษาตามอาการ เช่น มีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ ปวดหัว ก็ให้ยาแก้ปวด หากมีการอาเจียนก็ให้น้ำเกลือ เป็นต้น

การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สามารถทำได้โดย การป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย เช่น รักษาสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยติดเชื้อต่างๆ ใช้หน้ากากอนามัยป้องกันตัว ล้างมือให้สะอาด กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัคซีนโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด วัคซีนโรคคางทูม และวัคซีนโรคอีสุกอีใส เป็นต้น

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) ภาวะการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ คือ มีไข้สูง ปวดหัวรุนแรง คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ชัก หมดสติ โรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิต การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove