แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

คอพอก ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีน ทำให้คอโต อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก อันตรายกับสตรีมีครรถ์ ลูกเป็นปัญญาอ่อนได้โรคคอพอก โรคขาดสารไอโอดีน โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

โรคคอพอก ภาษาอังกฤษ เรียก Simple goiter คือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ คือ ต่อมไทรอยด์  หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งโรคคอพอกจะมีลักษณะ คือ คอโต ซึ่งโรคคอพอกสามารถแบ่งได้ 4 ชนิด รายละเอียด ดังนี้

  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์โตเรียบทั่วทั้งต่อม และ สามารถสร้างฮอร์โมนได้ปกติ เรียกว่า Diffuse nontoxic goitre คือ  ลักษณะนี้ต่อมไทรอยด์ ยังสามารถทำงานได้ตามปรกติ เกิดจากการขาดสารไอโอดีน ลักษณะคอจะโตเรียบ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำและสามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปรติ เรียกว่า Nontoxic multinodular goitre โรคคอพอกชนิดนี้พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดคอพอก ถึง 10 % เกิดจากสถาพแวดล้อมขาดสารไอโอดีน จะมีปุ่มเกิดขึ้นบริเวณคอ เหมือนก้อนเนื้อ
  • คอพอก ชนิดต่อมไทรอยด์เป็นตะปุ่มตะป่ำ แต่เกิดการสร้างฮอร์ดมนมากกว่าปรกติ เรียกว่า Toxic multinodular goitre ลักษณะคอพอกชนิดนี้ พบไม่มาก ลักษณะเกิดปุ่มเหมือนก้อนเนื้อที่คอ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ทำให้เกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้ สาเหตุเกิดจากความผิดปรกติของพันธุกรรม และการขาดสารไอโอดีน
  • คอพอก ชนิดมีปุ่มเนื้อปุ่มเดียว และ เกิดการสร้างฮอร์โมนมากกว่าปกติ เรียกว่า Hyperfunctioning solitary nodule เป็นการเกิดที่ต่อมไทรอยด์เพียงกลีบเดียว สามารถคลำได้ เป็นก้อน ลักษณะของไทรอยด์ชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วยได้

โดยทั่วไปคอพอกสามารถแบ่ง ระดับของคอพอก ได้ 5 ระดับ ประกอบด้วย ระดับ 0 1A 1B 2 และ 3 รายละเอียดของ คอพอกระดับต่างๆ มีดังนี้

  • ระดับ 0 ไม่พบอาการคอบวม
  • ระดับ 1A ระดับนี้จะมีก้อนที่คอ ขนาดเท่าหัวแมมือ สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
  • ระดับ 1B ระดับนี้ขนาดของคอพอกจะโดตขึ้น 2 ถึง 3 เท่า
  • ระดับ 2 สามารถมองเห็นอาการคอพอกได้อย่างชัดเจน มีอาการบวมอย่างเห้นได้ชัด
  • ระดับ 3 ขนาดของคอพอกโตมาก สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคคอพอก

เป็นที่ทราบกันว่า โรคคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน ซึ่งหากจะแยก ปัจจัยของการขาดสารไอโอดีน มีดังนี้

  1. ปัจจัยด้านภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศที่ห่างไกลทะเล สารไอโอดีน เป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารทะเล ซึ่งในพื้นที่ที่ไม่ติดทะเล จะไม่สามารถหาอาหารทีมีสารไอโอดีนจากสัตว์ทะเลทานได้ จึงเป็นปัจจัยของการขาดสารไอดอดีน
  2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีน มีราคาสูงเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ ในคนที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจไม่ดีมาก ก็ไม่สามารถหาอาหารทะเลทานได้
  3. ปัจจัยด้านการคมนาคม การเดินทางที่ไม่สะดวก ทำให้อาหารที่มีสารไอโอดีนอย่างอาหารทะเลเข้าไม่ถึง
  4. ปัจจัยด้านพฤติกรรมกิน ในกลุ่มคนที่ไม่ชอบทานอาหารทะเล ก็ทำให้ขาดสารไอโอดีนได้
  5. ปัจจัยด้านร่างกาย ในบางคนมีความผิดปรกติของร่างกาย ร่างกายดุดซึมสารไอโอดีนได้ไม่ดี

อาการของโรคคอพอก

สามารถแบ่งอาการของโรคนี้ตามวัยของผู้ป่วย ประกอบด้วย ทารกในครรถ์ ทารกแรกเกิด เด็กและวัยรุ่น สุดท้าย คือ ผู้ใหญ่ อาการของคอพอก ในวัยต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

  • อาการโรคคอพอกในทารกในครรถ์และมารดา เป็นลักษณะมารดาที่ตั้งครรถ์มีอาการคอพอก เป็นภาวะขาดสารไอโอดีน ซึ่ง เป็นอันตราย ซึ่งจะส่งผลทำให้แท้งบุตรได้ ในรายที่อาการหนักมาก มารดาสามารถเสียชีวิตได้
  • อาการคอพอกที่เกิดกับทารกแรกเกิด ไม่เกิน 2 ปี ในมารดาที่มีอาการคอพอกในช่วงตั้งครรถ์ หากคลอดลูกออกมา ลูกจะเกิดความผิดปรกติ จากภาวะฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และร่างกาย ส่งผลให้เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น
  • อาการของคอพอกที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น การขาดสารไอโอดีนในช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาการเพื่อการเจริญเติบโตนั้น ทำให้พัฒนาของร่างกายช้า ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ ทำให้ร่างกายแคระแกร็น ผอม สติปัญญาต่ำ
  • อาการของโรคคอพอกในผู้ใหญ่ ระดับฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย

การรักษาโรคคอพอก

สามารถทำได้หลายวิธี โดยการรับประทาอาหารที่มีไอโอดีน รับสารไอดอดีนเข้าร่างกายและการผ่าตัด ซึ่งรายละเอียดการรักษา มีดังนี้

  1. การให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนให้มากขึ้น เนื่องจาก สาเหตุของคอพอกเกิดจากการขาดสารไอโอดีน
  2. การให้สารไอโอดีนเข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถให้สารไอโอดีนโดยวิธีการฉีดสารเข้าสู่ร่างกายและการให้สารไอโอดีนเพื่อรับประทาน
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งวิธีนี้จะใช้กับผู้ป่วยที่เป็นมาก คอบวมและโตจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปรกติ

การป้องกันโรคคอพอก

สามารถทำได้โดยการป้องกันที่สาเหตุของโรค คือ การขาดสารไอโอดีน ดังนั้น ต้องรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนบ้าง ซึ่งอาหารที่มีไอโอดีนสูง เป็น อาหารจำพวก อาหารทะเล และในปัจจุบันมีอาหารต่างๆที่ใส่สารไอโอดีนเป็นส่วนประกอบทำให้ได้รับสารไอโอดีนโดยไม่ต้องรับประทานอาหารทะเลได้

โรคคอพอก เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ จากการขาดสารไอโอดีน ส่งผลให้คอโต ทำให้ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย หากเกิดกับสตรีมีครรถ์ จะทำให้ลูกที่เกิดมา ความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และ ร่างกาย เป็นปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น

โรคคอพอก คืออะไร สาเหตุ อาการ การป้องกัน เป็นโรคคอพอก ควรรับประทานอะไรดี อาการของโรคคอพอก มีอาการคอบวมเป็นคอพอกหรือเปล่า วิธีตรวจโลกคอพอกทำอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่องเกี่ยวกับโรคคอพอก กัน ไทรอยด์ กับ คอพอก ต่างกันอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove