มะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) เกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้มีก้อนที่คอ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก สามารถลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มะเร็งต่อมไทยรอยด์ โรคมะเร็ง ต่อมไทยลอยด์ โรคต่อมไร้ท่อ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ความรุนแรงของโรคไม่มาก การรักษาได้ผลสูงถึงร้อยละ 80 หากรักษาได้ทันท่วงที สามารถหายและอยู่ได้ถึง 10 ถึง 20 ปี และผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ความรุนแรงของโรคจะสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี วันนี้เรามาทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมไทรอยด์ ว่าคืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ เนื้อร้ายที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ รวมถึงเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกับต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน และ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน รายละเอียดของชนิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน ภาษาอังกฤษ เรียก Differentiated carcinoma เป็นมะเร็งที่พบได้ถึง ร้อยละ 90 ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน พบว่ามะเร็งชนิดนี้ มีไม่มาก ประมาณร้อยละ 5

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือ คนทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ 10 ปี ถึง 80 ปี และโอกาสของการเกิดผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคได้ 3 ปัจจัยใหญ่ คือ กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการรับประทานอาหาร โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมพันธุ์  โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์บางชนิด มีรายงานว่าสามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมได้
  2. สิ่งแวดล้อม รังสีกัมมันตรังสีมีและรังสีไอออนไนซ์ผลต่อเซลล์ของต่อมไทรอยด์
  3. การรับสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์

อาการของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคคอพอก คือ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ไม่มีอาการปวด แต่ในบางครั้งก๋มีอาการปวด เมื่อกดที่ก้อนเนื้อจะมีเสียงแหบ  เนื่องจากก้อนเนื้อลุกลามไปถึงเส้นประสาท ทำให้หายใจลำบาก อาจลุกลามไปถึงหลอดลมและหลอดอาหารได้ จำเป็นต้องรีบรักษา เพราะถ้าไม่รักษาให้ทันอจากลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก ได้

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีทั้งสิ้น 4 ระยะโดย รายละเอียดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 1 มีโรคเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ และมีการลุกลามไปที่โรคกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอด้วย ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 2 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 2 มะเร็งมีการเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกาย พบว่ามีการแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก ศีรษะ สมองและตับ มากที่สุด ขนาดของมะเร็งโตไม่เกิน 4 เซ็นติเมตร
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 3 ระยะนี้มะเร็งจะมีขนาดใหญ่ ลุกลามไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ ระยะที่ 4 ระยะนี้มะเร็งมีการลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกาย และแพร่กระจายไปสู่กระแสเลือด เข้าสู่อวัยวะต่างๆ เป็นระยะสุดท้ายไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว

การตรวจโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

สามารถตรวจได้จาก การสังเกตุอาการเบื้องต้น จากนั้นตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ อัลตราซาวน์ต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลือง เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต เพื่อดูระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับแคลเซียม เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด และการตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไป

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

การรรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ นี้ มีวิธีที่ใช้อยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การให้กินรังสีแร่ไอโอดีนและการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งผู้ป่วยต้องทำการรักษาทั้ง 3 วิธี และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออก ซึ่งเป็นการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วน การผ่าตัดจะเป็นขั้นตอนแรกในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่ในการผ่าตัดนิยมผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ส่วน
  • การให้กินแร่รังสีไอโอดีน เป็นสารกัมมันตรังสีในรูปแบบแคปซูลหรือสารละลายน้ำ จะช่วยไม่ให้มะเร็งลุกลามหลังจากผ่าตัดต่อมไทรอยด์แล้ว ซึ่งการรักษาโดยให้กินแร่รังสีไอโอดีน อาจต้องกินมากกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องกินฮอร์โมนไทรอยด์ตลอดชีวิต เนื่องจากร่างกายถูกตัดต่อมไทรอยดืออกไป จำเป็นต้องให้ฮอร์โมนทดแทนการขาดหายไปอย่างเพียงพอ

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ( Thyrok ) การเกิดเนื้อร้ายที่ต่อมไทรอยด์ ส่งผลให้เกิดอาการ มีก้อนที่คอ สามารถคลำได้ ปวดเมื่อกดที่ก้อนเนื้อ มีเสียงแหบ หายใจลำบาก หากไม่รักษามะเร็งจะลามจนเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก สาเหตุของโรค อาการและระยะของโรค การรักษาทำอย่างไร โรคระบบฮอร์โมน โรคนี้ต้องกินยาตลอดชีวิต มะเร็งต่อมไทรอยด์ รักษาได้ ปัจจัยของการเกิดโรค

กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ทำให้หน้าบวมคล้ายพระจันทร์ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวแห้งโรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง อาการหน้าบวม โรคไม่ติดต่อ

โรคคุชชิง หรือ กลุ่มอาการคุชชิง ภาษาอังกฤษ เรียก Cushing syndrome  เป็นโรคต่อมไร้ท่อ เกิจากความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ลักษณะเด่นของโรคนี้ คือ อาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการมีฮอร์โมน Glucocorticoid มากเกินไป ชึ่งเกิดจากการได้รับฮอร์โมนจากภายนอกร่างกาย

Glucocorticoid เรียกย่อๆว่า GC เป็นฮอร์โมนสเตียรอยด์สร้างจากต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ACTH ภาษาอังกฤษ เรียก Adrenocorticotropic hormone ที่ถูกสร้างด้วยต่อมใต้สมอง ซึ่งฮอร์โมน ACTH มีหย้าที่ในการควบคุมการสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid

โดยฮอร์โมน Glucocorticoid เป็น ฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย เกี่ยวข้องกับการรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ต่างๆในร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็ก รวมถึงการสร้าง ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายมนุษย์ด้วย การผิดปรกติของฮอร์โมน Glucocorticoid เป็นโรคกลุ่มอาการคุชชิง

หากกล่าวถึง โรคคุชชิง แล้ว โรคนี้พบครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยศลัยแพทย์ด้านระบบประสาท ชื่อ ฮาร์เวย คุชชิง เมื่อปี พ.ศ. 2475 พบร่างกายผิดปรกติจากภาวะฮอร์โมน Clucocorticoid ในร่างกายสูงเกินไป โรคนี้พบได้ไม่บ่อย ซึ่งสามารถพบได้ในคนช่วงอายุ 20 ถึง 50 ปี และพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของการเกิดโรค กลุ่มอาการคุชชิง

พบว่า สาเหตุหลักของการเกิดโรค นี้ คือ ฮอร์โมน Glucocorticoid ในร่างกายสูงกว่าปรกติ ซึ่งสามารถแยกสาเหตุของโรคเป็น 2 เหตุหลักๆ คือ การสร้างฮอร์โมนในร่างกายผิดปรกติ และการได้รับฮอร์โมนมากกว่าปรกติ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุ สามารถอธิบายได้ดังนี้

  1. สาเหตุจากร่างกายสร้างฮอร์โมน Glucocorticoid มากกว่าปกติ ซึ่งทางการแพทย์พบว่า เกิดจากความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ ที่ต่อมหมวกไต เช่น การเกิดเนื้องอก หรือ มะเร็งที่ต่อมใต้สมอง หรือ มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ ชนิด Medullary carcinoma สาเหตุของโรคคิชชิง จากการสร้างฮอร์โมนมากผิดปรกติ พบได้น้อย และโอกาสเสี่ยงของการเกิดพบว่า ผู้หญิงมีดอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 6 เท่า
  2. สาเหตุของโรคจากการได้รับฮอร์โมน Glucocorticoid จากภายนอกร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการได้รับฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกาย เกิดจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อใช้ในการรักษาโรคบางชนิด เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคออโตอิมมูน เป้นต้น

กลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคกลุ่มคุชชิง คือ ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์ ที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคหืดหอบ โรคออโตอิมมูน

อาการของโรคกลุ่มอาการคุชชิง

อาการของโรคนี้สามารถแบ่งอาการของโรค ได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะอาการทั่วไป และลักษณะอาการที่เป็นเฉพาะที่ รายละเอียดของอาการกลุ่มโรคคุชชิง มีรายละเอียดดังนี้

  1. ลักษณะอาการทั่วไป เป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนClucocorticoid ที่มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เช่น หิวบ่อย กินมากขึ้น ใบหน้าบวมพระจันทร์เต็มดวง อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุง แต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่ด้านหลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกง่าย เป็นแผลง่าย แผลหายยาก ความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลในเลือดสูง เป็นเบาหวาน มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกหักง่าย ต้นแขน ต้นขา ลีบและอ่อนแรง ระบบสมองแปรปรวน ซึมเศร้า ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดก ความรู้สึกทางเพศลดลง ติดเชื้อโรคง่าย ลักษณะอาการทั่วป แต่ส่งผลกับระบบในร่างกายทุกส่วน
  2. ลักษณะอาการเฉพาะที่ เป็นลักษณะของอาการเนื้องอกที่ต่อมใต้สมองหรือ ต่อมหมวกไต ทำให้มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง มีความผิดปกติเรื่องการมองเห็นภาพ

การวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดยการ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำลาย เพื่อดูระดับฮอร์โมนGlucorticoid ในร่างกาย นอกจากนั้น การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจช่องท้อง และการเอ็กซ์เรยสมอง เพื่อดูหาเนื้อร้าย เป็นต้น

การรักษาโรคกลุ่มอาการคุชชิง

การรักษาโรคนี้ สามารถทำการรักษาโดยการปรับลดระดับออร์โมนที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค และการประคับประคอบอาการแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการมีฮอร์โมนมากเกินไป รายละเอียด ดังนี้

  1. การปรับลดระดับฮอร์โมน Clucocorticoid โดยการให้หยุดยากลุ่มสเตียรอยด์ แต่ให้ลดปริมาณยาทีละน้อย ห้ามลดโดยการเลิกยาแบบกระทันหัน อาจเกิดอาการขาดยาได้ เรียกอาการขาดยา ว่า Adrenal crisis ซึ่งลักษณะของอาการขาดยา คือ ไข้สูง เหงื่อออก ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลียมาก ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เนื่องจากอันตรายถึงเสียชีวิตได้
  2. การรักษาอาการจากความผิดปรกติของออร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ สามารถทำการรักษาโดย การผ่าตัด เนื้องอกหรือเซล์มะเร็ง ที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น มะเร็งปอด เนื้องอกต่อมหมวกไต เนื้องอกต่อมใต้สมอง แต่การฝ่าตัดเนื้อร้ายออกจะทำให้เกิดอาการ Adrenal crisis ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  3. การรักษาโดยประคับประคองตามอาการ เช่น การลดน้ำตาลในเลือด การลดความดันโลหิต เป็นต้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกลุ่มอาการคุชชิง

โดยปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ กินยาให้ครบและถูกต้อง รักษาสุขอนามัย ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระวังการเกิดอุบัตติเหตุจากการกระแทกอย่างรุนแรง

การป้องกันโรคกลุ่มอาการคุชชิง

สามารถทำได้โดย ไม่ซื้อยากลุ่มสเตียรอยด์มาใช้เอง การป้องกันเราสามารถป้องกันโรคจากสาเหตุภายนอกเท่านั้น ส่วนสาเหตุอื่นๆป้องกันได้ยาก

โรคคุชชิง กลุ่มอาการคุชชิง ( Cushing syndrome ) เกิดจากฮอร์โมน Glucocorticoid สูงกว่าปรกติ ความผิดปรกติของต่อมใต้สมอง ส่งผลให้เกิดอาการบวมของใบหน้าคล้ายพระจันทร์ อ้วนบริเวณไหปลาร้า มีพุงแต่แขนขาลีบ มีก้อนไขมันที่หลังคอ ปัสสาวะมาก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ผิวหนังแห้ง เป็นแผลง่าย ความดันโลหิตสูง มีภาวะกระดูกพรุน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove