ไข้กาฬหลังแอ่น มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามแขนและลำตัว รักษาอย่างไร

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น ติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส Neisseria meningitides อาการไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง ซึม ชัก เลือดออกตามผิวหนัง เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว

สาเหตุของการเกิดโรคไข้กาฬหลังแอ่น

เกิดจากการติดเชื้อโรคเมนิงโกค็อกคัส ซึ่งเป็นการติดต่อจากคนสู่คน โดยไม่มีสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค การติดต่อเกิดจากการหายใจเอาเชื้อโรค เข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรคเหล่านี้ปะปนอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย รวมถึงสารคัดหลั่งจากเยื่อบุจมูก ตา หรือปาก โรคไข้กาฬหลังแอ่นจะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้อนี้จะติดต่อทางน้ำลาย เสมหะ โดยการสูบบุหรี่ร่วมกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน จูบปากกัน หรือ การผายปอดช่วยชีวิต ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้

อาการของผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับอาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น พบว่าผู้ป่วยจะมีไข้สูง มีอาการหนาวสั่น ปวดหัวมากปวด ตามตัว มีอาการคลื่นไส้ สุดท้ายจะคอแข็งและหลังแอ่น ส่วนมากผู้ป่วยจะมีผื่นเป็นจุดเลือดบนผิวหนัง และผู้ป่วยที่มีตึ่มน้ำตามผิวหนังนั้นพบไม่มาก ในรายที่มีอาการหนัก เชื้อโรคจะเจ้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ในผู้ป่วยบางรายเป็นเรื้อรัง หลายเดือน ซึ่งอาการสามารถแยกได้เป็น 2 กลุ่มผู้ติดเชื้อ คือ อาการที่พบในเด็กเล็ก และ อาการที่พบในเด็กวัยรุ่น โดยรายละเอียดของอาการมีดังนี้

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กเล็ก

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • มีอาการอาเจียน
  • ซึม นอนตลอดเวลา
  • มีผื่นขึ้นตามแขน ขา และตามตัว
  • ผิวเป็นรอยจ้ำ

อาการไข้กาฬหลังแอ่นในเด็กวัยรุ่น

  • มีไข้ขึ้นสูง
  • ปวดหัว
  • มีอาการอาเจียน
  • เกร็งที่คอ มีอาการคอแข็ง
  • ซึมลง
  • เกิดผื่นขึ้นตามขาและแขน
  • สายตาสู้แสงจ้าๆไม่ได้

อาการที่สำคัญที่พบ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็ง ผื่นตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ซึมลง เกิดผื่นตามแขนขา

การรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น

สำหรับการรักษาโรคไข้กาฬหลังแอ่น มียาปฏิชีวนะใช้รักษา สามารถรักษาได้โดยการให้ยาแอมพิซิลลิน (ampicillin) ยาเพนิชิลสิน (penicillin) ยาคลอแรมฟีนีนิคอล (Chloram­phenicol) ยาซัลโฟนาไมด์ (sulfonamide) แต่การรักษานั้น จะรักษาใน 3 ลักษณะ คือ การให้ยาปฏิชีวนะ การประคับประคองอาการ และ การรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้ 

การใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ผู้ป่วยจะถูกรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และแยกห้องเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • การรักษาหลักคือการให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยในเบื้องต้น
  • หากยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่นอนจากทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะให้ยาปฏิ ชีวนะชนิดที่ครอบคลุมการฆ่าเชื้อได้หลายชนิด เนื่องจากการเป็นโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆบางโรค ผู้ป่วยจะมีไข้และผื่นที่เป็นจุดเลือดออกคล้ายกับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นได้ ยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่ม Cephalosporin รุ่นที่ 3 หรือใช้ยา Meropenem เป็นต้น
  • ในกรณีที่ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการว่าเกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น แพทย์จะเลือก ใช้ยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อ เช่น ยา Penicillin G หรือยา Chloramphenicol เป็นต้น

การรักษาด้วยการประคับประคอง เป็นลักษณะของการให้ยลดไข้ การให้น้ำเกลือป้องกันภาวะการขาดน้ำ ทำให้ช็อก และ การกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเลือดออกที่ต่อมหมวกไต และการให้ยาช่วยให้เลือดแข็งตัว ในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือไม่แข็งตัว

การรักษาภาวะแทรกซ้อน

  • ผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด มีอัตราตายประมาณ 2-10%
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงมีอัตราตายสูงถึง 70-80% แต่หากการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อัตราตายจะอยู่ที่ประมาณ 40%
  • ผู้ป่วยที่เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากรอดชีวิตอาจเกิดอัมพาตของเส้นประ สาทจากสมอง (Cranial nerve) หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตครึ่งซีกของร่างกายได้
  • อาจเกิดสมองเสื่อม ปัญญาอ่อน หรือหูหนวกได้
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง ตามปลายนิ้วมือ ปลายนิ้ว เท้าอาจเกิดการเน่าตายเนื่องจากภาวะช็อกทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายไม่พอ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตัน

การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

  1. ให้วัคซีนป้องกันโรค กับผู้ป่วยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  2. ปรับปรุงสุขอนามัยให้สะอาด ปราศจากดรค
  3. หากพบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้กาฬหลังแอ่นให้นำผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน

ไข้กาฬหลังแอ่น ไข้กาฬนกนางแอ่น ติดเชื้อแบคทีเรียเมนิงโกค็อกคัส Neisseria meningitides โรคติดต่อ อาการรุนแรง มีไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง อาการซึม ชัก เลือดออกตามผิวหนัง และ เสียชีวิต อย่างรวดเร็ว โรคติดต่อทางระบบหายใจ