โรคคางทูม บวมที่หลังหู คางบวม ต่อมน้ำลายอักเสบจากเชื้อไวรัส

คางทูม Mumps ต่อมน้ำลายอักเสบจากเชื้อไวรัส RNA อาการมีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ การรักษาทำอย่างไรคางทูม ต่อมน้ำลายอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคคางทูม โรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัส บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร เป็นการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย โรคคางทูมมีโรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง การป้องกันโรคคางทูมทำอย่างไร ผู้ป่วยโรคนี้ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

โรคคางทูม ภาษาอักกฤษ เรียก Mumps ถือเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง โรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ เป็นการติดเชื้อไวรัส RNA ซึ่งไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus ทำให้ผู้ติดเชื้อมีไข้และต่อมน้ำลายอักเสบ อาจจะทำให้ตับอ่อนอักเสบได้ และในบางคนพบว่ามีอัณฑะอักเสบในเพศชาย และมีรังไข่อักเสบในเพศหญิง อาการอาจสามารถลามไปถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ โรคคางทูมสามารถติดต่อกันได้ทาง น้ำลายและเสมหะ

สาเหตุของโรคคางทูม

โรคคางทูม เกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิกโซ(paramyxovirus) ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมาจากน้ำลาย หรือการการไอ การจาม รวมถึงการสัมผัสน้ำลายของผู้มีเชื้อโรคดังกล่าว เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกาย จะเข้าสู่กระแสเลือด ก่อนที่จะแพร่กระจายไปสู่ยังอวัยวะต่าง ๆ เมื่อเข้าสูต่อมน้ำลายทำให้เกิดการอักเสบ

อาการของคางทูม

โรคคางทูมมีอาการอย่างไร หลังจากผู้ป่วยได้รับเชื้อไปประมาณ 7-20วัน จะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารหลังจากนั้นต่อมน้ำลายจะอักเสบ จะมีอาการบวมที่ใต้หู้ เราเรียกว่าต่อม parotid ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง อาการบวมจะเริ่มจากหน้าใบหูบวมมายังหลังใบหู และลงมาคลุมขากรรไก อาการบวมมักจะไม่เกิน 7 วัน  ปวดมากเวลาพูด กลืนและเคี้ยวอาหาร ในเพศชายจะมีอาการอัณฑะอักเสบ หลังจากต่อมน้ำลายอักเสบแล้ว 4-10 วัน โรคคางทูมอาจทำให้สมองอักเสบได้ โดยสังเกตุอาการโดย ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดหัวและมีอาการซึม คอแข็ง หลังแข็ง หากพบอาการดังกล่าวให้พบแพทย์โดยด่วน

โรคแทรกซ้อนที่มากับคางทูม

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการเป็นโรคคางทูม เช่น โรคอัณฑะอักเสบ รังไข่อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และระบบประสาทหูอักเสบ รายละเอียดดังนี้

  • อัณฑะอักเสบจากโรคคางทูม โดยส่วนมากชายที่เป็นคางทูมร้อยละ 25 จะมีอาการอัณฑะอักเสบ ลูกอัณฑะจะปวดบวม เจ็บและรู้สึกอึดอัด หากไม่รีบรักษา อาจทำให้เป็นหมันได้
  • รังไข่อักเสบจากโรคคางทูม หากเกิดผู้หญิงเป็นโรคคางทูม จะทำให้มีไข้และปวดท้องน้อย หากการตั้งครรภ์มีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งบุตรสูง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้ปวดศีรษะอย่างหนัก คอแข็ง หลังแข็ง หากรักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ระบบประสาทหูอักเสบจากโรคคางทูม เนื่องจากโรคคางทูม อยู่ในจุดที่ใกล้กับระบบประสาทหู อาการประสาทหูอักเสบจะเข้าไปทำลายระบบการได้ยิน ทำให้หูชั้นในอักเสบ ซึ่งหากไม่รักษาสามารถทำให้หูหนวกได้

การรักษาโรคคางทูม

การรักษาโรคคางทูม ไม่มียาที่รักษาโรคคางทุมได้เฉพาะทาง ทำได้โดยการรักษาอาการตามโรค เช่น ยาแก้ปวดและการพักผ่อนให้มาก

การป้องการโรคคางทูม

โรคคางทูมสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9 ถึง 12 เดือน และต้องฉีดซ้ำอีกครั้งในช่วง อายุ 4 ถึง 6 ปี

การดูแลผู้ป่วยโรคคางทูม

โรคคางทูมมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส การดูแลผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถทำได้เพียง ให้พักผ่อน ช่วยลดไข้ และร่างกายจะรักษาตัวเองตามธรรมชาติ โดยทั่วไปอาการไข้จะอยู่ในช่วงไม่เกิน 6 วัน และอาการบวมจะลดลงเองภายใน 10 วัน ซึ่งผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และทานยาลดไข้ เวลาปวดให้ใช้น้ำเย็นประคบ เลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง ควรรักษาตัวอยู่บ้านเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อโรคสู่ผู้อื่น

สมุนไพรช่วยแก้ปวด สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บสำหรับผู้ป่วยโรคคางทูมได้ เราได้รวบรวมมาให้ ดังนี้

โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพาโหระพา ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชีผักชี
แห้ว ต้นแห้ว สรรพคุณของแห้ว สมุนไพรแห้ว ต้นมะยม มะยม สรรพคุณของมะยม สมุนไพรมะยม
ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว เผือก ต้นเผือก ประโยชน์ของเผือก สรรพคุณของเผือกเผือก

โรคคางทูม ( Mumps ) ต่อมน้ำลายอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส RNA อาการคางทูม มีไข้ บวมที่หลังหู บวมที่หน้าหู บวมที่คาง ปวดเวลาเคี้ยวอาหาร อาจทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

Last Updated on March 17, 2021