โยคะ ท่าสนุขยืดขึ้น แก้ปวดหัว แก้เครียด ทำให้สะโพกกระชับ

ท่าสุนัขยืดขึ้น Upward-Facing Dog ช่วยยืดหลัง เพิ่มความแข็งแรงของหลัง แขน ข้อมือ ช่วยยืดอก ไหล่ ทำให้สะโพกกระชับ ห้ามทำในสตรีมีครรภ์และผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลัง

วิธีการฝึกโยคะท่าสุนัขยืดขึ้น

  1. ให้นอนคว่ำราบกับพื้น ขาให้เหยียดและให้หลังเท้าติดกับพื้น ให้งอข้อศอกและวางมือไว้ข้างลำตัว ในท่ายันพื้น
  2. จากนั้นหายใจเข้าอย่างช้าๆ ก้มหัวลง จากนั้นใช้แขนดันตัว และยกสะโพกสูงขึ้นให้สุด
  3. ค้างเอาไว้ และยกให้ส่วนสะโพกขึ้น โดยที่ส่วนที่รับน้ำหนักจะเป็นมือละข้อมือ
  4. ค่อยๆผ่อนคลายและลดตัวลงเรียบกับพื้น ทำแบบนี้ไปมาสัก 5-6 รอบ

ประโยชน์ของโยคะท่าสุนัขยืดขึ้น

การทำโยคะท่า สุนัขยืดขึ้นบ่อยๆ จะช่วยให้ กล้ามเนื้อหลัง แขน และข้อมือแข็งแรง อวัยวะภายในช่องท้องจะแข็งแรง สะโพกจะเข้ารูปสวยกระชับ ผู้ที่ทำท่านี้จะช่วยผ่อนคลาย ลดการปวดหัว และให้นอนหลับสบาย

ข้อห้ามในการทำท่าโยคะสุนับยืดขึ้น

การทำโยคะท่าสุนับยืด ห้ามทำในสตรีมีครรภ์ ผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อมือ ผู้ป่วยโรคกระดูกเปราะ

ท่าสุนัขยืดขึ้น ( Upward-Facing Dog ) ท่านี้จะช่วยยืดหลัง เพิ่มความแข็งแรงของหลัง แขน ข้อมือ ช่วยยืดอก ปอด ไหล่ ท้อง ทำให้สะโพกกระชับ ห้ามทำในสตรีมีครรภ์ และ ผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง

โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี

แหล่งอ้างอิง

  • Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
  • Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
  • Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102