โรคไข้เลือดออก โรคที่พบบ่อยช่วงฤดูฝน มียุงลายเป็นภาหะนำโรค

ไข้เลือดออก DHF การติดเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีผื่นแดงตามผิวหนัง หากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิต

โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคต่างๆ

โรคไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) คือ โรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบโรคนี้มากในประเทศเขตร้อนชื้น โรคไข้เลือดออก สามารถเรียกย่อๆ ว่า DHF  ลักษณะอาการคล้ายไข้ไหวัดทั่วไปในระยะแรก แต่อาการจะมีความรุนแรงมากขึ้น และหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ ไวรัสแดงกี่ ซึงเกิดจากยุงลายตัวเมียกัด เมื่อโดนยุงลายกัดเชื้อไวรัสแดงกีจะขยายตัวและเข้าสู่ระบบเลือดของมนุษย์ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากรักษาไม่ทันท่วงที่จะทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออกจะพบมากในเด็ก และมักเกิดมากในฤดูฝนที่เป็นช่วงเวลายุงลายขยายพันธ์ได้ง่าย

ระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคอันตรายและโอกาสการเกิดโรคง่าย ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก สามารถแบ่งให้เห็นภาพอย่างชั้ดเจนได้ 4 ระดับ คือ ระดับที่1 ระดับที่2 ระดับที่3 และ ระดับที่4 โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ มีไข้ และอาการที่สามารถสังเกตุได้อย่างเด่นชัด คือ มีจุดแดง ๆ ตามผิวหนัง แต่ยังไม่แสดงอาการอื่นๆ ในระยะนี้ เหมือนการป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา
  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีอาการ จ้ำเลือดที่ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกจากที่อื่น ๆ ด้วย เช่น การอาเจียนเป็นเลือด การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ในระยะนี้ ชีพจรและความดันเลือดของผู้ป่วยยังคงปรกติ
  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการช็อก เช่น มีอาการกระสับกระส่าย มีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เต้นเร็ว ระดับความดันต่ำ เริ่มอันตรายแล้วในระยะนี้
  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการช็อกอย่างรุนแรง ชีพจรเต้นเบา ความดันต่ำมีเลือดออกมาก เช่น อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดมาก

ซึ่งระดับของความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในระดับที่ 2 ถึง 4 นั้น จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ต้องมีการจับชีพชร วัดความดันโลหิต และตรวจความเข้มข้นของเลือด และตรวจเกล็ดเลือด เป็นระยะ ๆ

อาการโรคไข้เลือดออก

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในระยะแรกจะแสดงอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ตัวร้อน เวียนหัว แต่อาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นผื่นแดง ปวดตามตัว ปวดศรีษะและปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา และ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมากกว่านี้โดยไม่รักษา อาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งระยะของอาการไข่เลือดออกมี 3 ระยะ คือ ระยะไข้สูง ระยะช็อกและมีเลือดออก และ ระยะพื้นตัว รายละเอียด มีดังนี้

  • ระยะไข้สูง ในระยะนี้ อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตาแดง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว กระหายน้ำ เบื่ออาหารและอาเจียน หลังจากนั้นในระยะ 1 ถึง 2 วัน จะเกิดอาการผิวหนังแดง บริเวณ ใบหน้า ลำคอ และ หน้าอก ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ในวันที่ 3 จะมีผื่นแดงเหมือนหัด แต่ไม่มีอาการคัน ซึ่งผื่นนี้จะขึ้นตามแขนขา และลำตัว ในผุ้ป่วยบางรายจะพบลักษณะของผื่น เป็นจ้ำเลือด จุดแดงๆ ร่วมด้วย ขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ และในช่องปาก หากอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเกิน 7 วันโดยไม่รักษา จะทำให้เข้าสู่ระยะอันตรายแล้ว คือ ระยะช็อกและมีเลือดออก
  • ระยะช็อกและมีเลือดออก ในระยะนี้ ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 3 และ 4 อาการมีไข้จะลดลง แต่อาการป่วยจะหนักขึ้น ซึมมากขึ้น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 วัน แต่หากสามารถผ่านระยะนี้ไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว
  • ระยะฟื้นตัว เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วง ร่างกายก็จะฟื้นเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มทานอาหารได้  ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ

การรักษาโรคไข้เลือดออก

สำหรับการรักษาโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสแดงกี่ แนวทางการรักษาโรค คือ การประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟู และ ประคับประคองไม่ให้เกิดอาการช็อค โดยให้ผู้ป่วยกินยาลดไข้ หมั่นเช็ดตัวรักษาอุณหภูมิร่างกาย ให้ดื่มน้ำมากๆ และ รักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองได้ภายใน 7 วัน

สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือ น้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รับประทานยาลดไข้ แต่หากพบอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง ตัวเย็น และไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

สำหรับแนวทางการป้องกำจัดโรคไข้เลือดออก ต้องป้องกันที่สาเหตุขอการเกิดโรค คือ ยุงลาย ต้องป้องกันการถูกยุงลายกัด และ ลดการขยายพันธ์ของยุงลาย โดยแนวทางการป้องกันโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและกำจัดยุงลายและลูกน้ำ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
  • ดูแลสภาพแวดล้อมไม้ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น ตัดต้นไม้ที่รกให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทดี ไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง
  • นอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่ติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
  • ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาและควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของโรค
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ไข้เลือดออก ( DHF ) การติดเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ลักษณะอาการของโรคมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีผื่นแดงตามผิวหนัง หากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม