โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด ร้ายแรง อักเสบทั่วร่างกาย

โลหิตเป็นพิษ เกิดจากมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายอักเสบ อาการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดทั่วร่างกาย แนวทางการรักษาต้องหาเชื้อโรคที่อยู่ในกระแสเลือด

โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด โรคติดเชื้อ

โลหิตเป็นพิษ หมายถึง ภาวะร่างกายติดเชื้อโรคหรือได้รับสารพิษ ซึ่งเชื่อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เนื่องจากโลหิตที่มีพิษไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เป็นอาการที่รุนแรง ผู้ป่วยจะเจ็บและปวดทั่วร่างกาย จัดว่าเป็นดรคที่มีความอันตรายมากโรคหนึ่ง

สาเหตุของโลหิตเป็นพิษ

ภาวะโลหิตเป็นพิษเกิดจากร่างกายได้รับเชื้อโรคหรือสารพิษ และ เชื้อโรคหรือสารพิษเหล่านั้นเข้าสู่กระแสโลหิต จึงแสดงอาการต่างๆออกมา ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อในกระแสเลือด เราสามารถแบ่งสาเหตุตามอวัยวะที่ติดเชื้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การติดเชื้อที่ช่องท้อง ได้แก่ ไส้ติงอักเสบ ไส้ติ่งแตก ลำไส้ทะลุ ถุงน้ำดีอักเสบ ช่องท้องอักเสบหรือเป็นหนอง  ลำไส้อักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
  • การติดเชื้อที่ระบบประสาท ได้แก่ ไขสันหลังอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การติดเชื้อที่ระบบหายใจได้แก่ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้แก่ แผลติดเชื้อ หนองที่ผิวหนัง แผลเบาหวาน ฝี ผื่นแพ้ที่มี
  • การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ กรวยไตอักเสบ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโลหิตเป็นพิษ

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษนั้น มีหลายสาเหตุหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เราสามารถจำแนกปััจัยของการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น การรับประทานยา ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การเกิดแผล การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เป็นต้น
  • ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุซึงกลุ่มอายุน้อยและกลุ่มอายุมาก ภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดง่ายกว่าคนในกลุ่มปรกติวัยเจริญพันธ์

อาการภาวะโลหิตเป็นพิษ 

ผู้ป่วยที่มีอาการโลหิตเป็นพิษ ลักษณะอาการจะมีอาการปวดตามอวัยวะที่ติดเชื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ซึม ปัสสาวะได้น้อย ที่ผิวจะอุ่นและมีสีแดง ตัวซีด ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

การรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะโลหิตเป็นพิษ แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ การรักษาโดยการให้ยา การรักษาโดยการจัดการสาเหตุของการติดเชื้อ และ การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ ซึ่งการรักษาต้องเริ่มจากการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อก่อนจากนั้นจึงใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคนั้นๆ แนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด
  • กำจัดต้นเหตุของการติดเชื้อ เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก เปลี่ยนเส้นใหม่ เป็นต้น
  • ให้ออกซิเจนและการเพิ่มความดันโลหิต โดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
  • ให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ความดันเลือดอยู่ภาวะปรกติ
  • เติมเลือดเข้าไปในร่างกาย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรด

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

หากเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อเลือดที่มีพิษเข้าสู่อวัยวะต่างๆ สามารถทำให้เกิดการทำงานล้มเหล้วของอวัยวะนั้นๆได้ เช่น ปอดอักเสบเฉียบพลัน สมองอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ หัวใจอักเสบ หลอดดเลือดอักเสบ ซึ่งอาการต่างๆจะลามจนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

การป้องกันภาวะโลหิตเป็นพิษ

สำหรับโรคนี้แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ เช่น ไม่ลงไปแช่ในน้ำคลองที่สกปรก ไม่ลงไปเล่นโคลน แหล่งมลพิษทางอากาศ
  • สวมเครื่องมือป้องกัน เมื่อต้องทำกิจกรรมทีมีความเสียงเกิดอุบัตติเหตุ
  • หากเกิดแผลไม่ควรเปิดแผลสด ควรใช้ผ้าพันแผลปิดแผล เพื่อป้องกันการรับเชื้อโรคทางผิวหนัง
  • รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ปรุงสุก และ สะอาด
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม