โรคหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular disease ) ความผิดปรกติของหัวใจ ความดันโลหิต และ หลอดเลือด มักมีอาการเรื้อรัง ลักษณะอาการ การรักษาและการป้องกันอย่างไร
ปัจจุบันพบว่าโรคที่เป็นสาเหตุการตายลำดับหนึ่งของประชากรโลก คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ ภาษาอังกฤษ เรียก Cardiovascular disease เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มคนที่เครียดและมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสม ทั้งด้านการกินอาหารและการทำงาน สาเหตุเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ มักเกิดจากการมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือด ส่งผลต่อการไหลเวียนของโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ
เราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด มาเสนอต่อเพื่อนๆ โรคหัวใจเกิดได้อย่างไร สาเหตุของโรคหัวใจ การป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด คือ ระบบการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือด มีหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย หน้าที่ของหัวใจ คือ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ดังนั้น หลอดเลือดและหัวใจจึงเป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กัน ส่วนหลอดเลือดแดง ทำหน้าที่นำก๊าซออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หลอดเลือดแดงไต หลอดเลือดแดงตับ หลอดเลือดแดงขา และหลอดเลือดแดงแขน ส่วนหลอดเลือดฝอย ภาษาองักฤษ เรียก Capillary เป็นหลอดเลือดส่วนปลายของหลอดเลือด เป็นส่วนที่นำเลือดที่เซลล์ของร่างกายได้รับก๊าซออกซิเจนและอาหารไปแล้ว จะนำเลือดที่ถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นำกลับไปยังหัวใจเพื่อฟอกเป็นก๊าซออกซิเจนอีกครั้ง
หัวใจ ภาษาอังกฤษ เรียก Heart เป็นอวัยวะที่สำคัญมากในร่างกาย ซึ่งในหัวใจประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ ขนาดเท่ากำปั้นของคนเรา อยู่บริเวณใต้กระดูกหน้าอก ค่อนไปทางซ้าย ซึ่งหน้าที่ของหัวใจ คือ สูบฉีดเลือด เพื่อให้ออกซิเจนและธาตุอาหารไปเลืี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ หัวใจมีทั้งหมด 4 ห้อง ซึ่งหัวใจซีกขวาจะรับเลือดที่ใช้แล้ว และสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ออกทางด้านซ้าย โดยทั้งไป หัวใจของคนเรา จะเต้นอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อ60 วินาที
หลอดเลือดหัวใจ มีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและส่วนต่างๆของร่างกาย หลอดเลือดหัวใจจะอยู่บริเวณพื้นผิวของหัวใจ และแยกเส้นเลือดตามกล้ามเนื้อหัวใจ
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะโรคหัวใจที่เกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ นอกจากนั้นยังเกิดโรคหัวใจที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีนภาวะความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง ที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติ พบว่า ในทุก ๆ 2 วินาที โรคหัวใจและหลอดเลือดคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 7 คน
อาการเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
อาการของโรคหลอดเลือดและหัวใจสามารถแสดงออกให้เราสัมผัสได้ว่าเกิดจากปัญหาของหัวใจและหลอดเลือดทำงานผิดปรกติ หลักษณะหลักๆ คือ อาการเขียวคล้ำ อาการบวม อาการความดันเลือด ซึ่งรายละเอียดของอาการต่างๆมีดังนี้
- อาการเขียวคล้ำ คืออาการที่เกิดจากระดับของเฮโมโกลบินในเลือดผิดปรกติ มากเกินไป ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อเป็นสีเขียวคล้ำ ลักษณะของความเขียวคล้ำสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือ อาการเขียวค้ำส่วนกลาง และอาการเขียวคล้ำส่วนปลาย รายละเอียดของอาการเขียวคล้ำชนิดต่างๆ มีดังนี้
1. อาการเขียวคล้ำส่วนกลาง เนื่องจากเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยเกินปกติ อาจเกิดจากจากปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เพียงพอ สาเหตุของอาการเขียวคล้ำส่วนกลาง ได้แก่ โรคปอด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหืด โรคถุงลมพอง โรคปอดบวม เป็นต้น
2. อาการเขียวคล้ำส่วนปลาย เนื่องจากเลือดไหลเวียนช้ากว่าปรกติ จากมีการอุดตันของหลอดเลือดดำ ภาวะเม็ดเลือดเกิน การไหลเวียนของโลหิตล้ม เป็นต้น - อาการบวม เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อมากกว่าปรกติ มักพบในบริเวณที่อยู่ต่ำของร่างกาย เช่น เท้า ก้นกบเนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณนี้มีลักษณะอ่อน
- อาการความดันเลือด การสูบฉีดเลือดเป็นหน้าที่ของหัวใจ เมื่อเกิดการผิดปรกติของหลอดแเลือดหรือหัวใจ ส่งผลถึงระดับความดันเลือด อาจจะเกิดภาวะความดันเลือดสูง หรือภาวะความดันเลือดต่ำได้
การป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
แนวทางการป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ ปัจจัยสำคัญคือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลกระทต่อหัวใจและหลอดเลือด มีดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหารสูงและไขมันต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืชมีคอเลสเตอรอล หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีความเค็มสูงและไขมันสูง
- งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
- งดดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจวาย
- หลีกเลี่ยงภาวะควบคุมความเครียด
- หมั่นตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
- ควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
- ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ