โรคติดต่อ ภาวะเชื้อโรคติดต่อสู่คน โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อร้ายแรง มักเกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคในช่องทางต่างๆ ลักษณะอาการ การรักษาโรคและแนวทางการป้องกันโรค
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภูมิประเทศในเขตเมืองร้อนชื้น จึงมีเป็นแหล่งการเจริญเติบโตที่ดีของเชื้อโรคและแมลงต่างๆที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งประเทศเขตร้อนจะพบโรคติดต่อมากกว่าประเทศในเขตอากาศหนาว โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่สามารถติดต่อจากสิ่งมีชีวิตสู่คนได้ บทความนี้มาทำความรู้จักกับโรคติดต่อ ความหมายของโรคติดต่อ โรคติดต่อมีอะไรบ้าง สาเหตุของโรคติตต่อ โรคติดต่อมีกี่ประเภท ต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดโรคติดต่อ และโรคแต่ละโรคที่เป็นโรคติดต่อนั้นเป็นอย่างไร อาการของโรค การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคทำอย่างไร
โรคติดต่อ คือ ภาวะของการเกิดความผิดปรกติของร่างกาย ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดจากผู้ที่มีเชื้อโรคที่เป็นภาหะในการเกิดโรค สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อโรคต่างๆ ที่ส่วนมากการติดต่อของโรคเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์เป็นปัจจัยร่วมอยู่ด้วย
โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นทั้งในสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปสู่คนอื่นๆได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ผ่านการสัมผัสโดยตรง การหายใจ การกินอาหาร และช่องทางทุกช่องทางที่สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ สำหรับโรคติดต่อในประเทศไทยนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
โรคติดต่อในประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทย นั้นมีมากเนื่องจากสภาพภูมิอาการ ที่อยู่ในเขตร้อนชื้น เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ เป็นอย่างดี ประเทศเขตร้อนจะมีโอกาสพบโรคติดต่อได้มากกว่าประเทศในเขตอากาศหนาว สำหรับประเทศไทย มีการออกพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ในปีพุทธศักราช 2523 รายละเอียดว่าโรคติดต่อมีอะไรบ้างและโรคติดต่ออะไรต้องมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ รายละเอียดดังนี้
- โรคติดต่อ อันตราย ประกาศให้มีทั้งสิ้น 5 โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง โรคไวรัสอีโบล่า และกาฬโรค
- โรคติดต่อ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2524 มีทั้งสิ้น 44 โรค ประกอบด้วย
โรคแผลเรื้อรัง
โรคไข้กลับซ้ำ
หนองในเทียม
หนองใน
โรคทริคิโนซิส (trichinosis)
ไข้จับสั่น
สครับไทฟัส (scrub typhus)
โรคบิดบะซิลลารี
อาหารเป็นพิษ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ไข้อีสุกอีใส
ไอกรน
โรคคอตีบ
ไข้เหลือง
โรคเรื้อน
วัณโรด
ไข้รากสาดเทียม
ไข้รากสาดน้อย
โรคไวรัสตับอักเสบบี
โรคพิษ สุนัขบ้า
ไข้หัดเยอรมัน
อหิวาตกโรคโรคอุจจาระร่วง
แผลริมอ่อน
กามโรคของต่อมน้ำเหลือง
โรคซิฟิลิส ( Syphilis )
โรคฉี่หนู
มูรีนไทฟัส (murine typhus)
ไข้รากสาดใหญ่
โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery)
โรคตาแดง
โรคไข้เลือดออก
ไข้หวัดใหญ่
โรคคางทูม
โรคบาดทะยัก
ไข้ทรพิษ
โรคกาฬโรค
โรคเท้าช้าง
แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ
โรคคุดทะราด
โรคแอนแทรกซ์
ไข้หัด
โปลิโอ
โรคไวรัสอีโบล่า - โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มีทั้งหมด 15 โรค คือ อหิวาตกโรค โรคกาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง โรคคอตีบ บาดทะยักในเด็กเกิดใหม่ โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ ไข้พิษสุนัขบ้า ไข้รากสาดใหญ่ แอนแทร็กซ์ โรคทริคิโนซิส ไข้กาฬหลังแอ่น โรคคุดทะราดระยะติดต่อ โรคเอดส์ (AIDS) หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม
สมุนไพรที่สรรพคุณเกี่ยวกับโรคติอต่อ
- สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย
- สมุนไพรช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ
- สมุนไพรรักษาหลอดลมอักเสบ
- สมุนไพรช่วยผ่อนคลาย แก้นอนไม่หลับ
- สมุนไพรลดไข้
โรคติดต่อ โรคที่สามารถถ่ายทอดถึงกันได้ระหว่างคนกับคน หรือ สัตว์กับคน ผ่านการสัมผัสโดยตรง การหายใจ การกินอาหาร เป็นต้น ปัจจุบัน โรคติดต่อ ที่เป็นอันตรายหลายชนิดถูกควบคุมและกำจัดไปหมดแล้ว เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ ส่วน โรคติดต่อ บางชนิดยังคงพบอยู่บ้างแต่ลดความรุนแรงของโรคลง เช่น อหิวาตกโรค แต่ก็ยังคงมี โรคติดต่อ หลายชนิดปรากฎอยู่ และยังพบ โรคติดต่อ ชนิดใหม่เกิดขึ้นอยู่