ไตรั่ว ไตอักเสบเนโฟรติก ภาวะเนื้อไตหนากรองโปรตีนไม่ได้

ไตรั่ว ไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) เนื้อไตหนาทำให้ไม่กรองโปรตีนไม่ได้ อาการปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันสูง ตัวบวม การรักษาโรคไตรั่วอย่างไรโรคไตรั่ว โรคไต ไตอักเสบเนโฟรติก โรคไม่ติดต่อ

โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก ภาษาอังกฤษ เรียก nephrotic เกิดจาก การผิดปรกติของไต เนื่องจาก ไตขับโปรตีนออกทางปัสสาวะมากเกินไป ซึ่งเกิด หลอดเลือดที่ไตไม่สามารถกรองโปรตีน ได้

สาเหตุของโรคไตรั่ว

สาเหตุของโรคกลุ่มเนโฟตริก หรือไตรั่ว เกิดจาก 3 สาเหตุ หลักๆ คือ สาเหตุจากโรคไต สาเหตุ จาก โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิด โรคไต และ การใช้ยา และ สารเคมีบางชนิด โดยรายละเอียดมี ดังนี้

  1. สาเหตุจาก โรคไต สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือ ไต จะไม่สามารถกรองโปรตีน ได้ เนื้อไตหนา ตัวหรือแข็ง ตัวเป็นแห่งๆ การติดเชื้อที่ไต
  2. สาเหตุจาก โรคอื่น  ที่มีผลต่อเป็น โรค กลุ่มโรคเนโฟตริก เช่น โรคหัวใจ ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อ
  3. สาเหตุ จาก การใช้ยา หรือ สารเคมีบางชนิด เช่น เฮโรอิน ยารักษาโรคมะเร็ง ยาแก้ปวดข้อ ยาที่รักษาโรคกระดูกพรุน

อาการของโรคไตรั่ว

อาการของโรคไตรั่ว สามารถสังเกตุได้ ดังนี้ คือ ที่ขาหากกดจะยุบลงไป ปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง เนื่องจาก อาการของโรค เกิดจากการที่ ร่างกายขับโปรตีนทางปัสสาวะ ไต ที่ทำหน้าที่ กรองปัสสาวะ ทำให้มี ระดับโปรตีนในเลือดต่ำ จึงเกิด อาการตัวบวม ผู้ป่วยที่เป็น โรค นี้มักจะไม่รู้ตัว

อาการแทรกซ้อน ของผู้ป่วย โรคไตรั่ว คือ เกิดภาวะขาดสารอาหาร ขาดโปรตีน ผม และ เล็บเปราะ ผมร่วง ภาวะโพแทสเซียมต่ำ ภาวะแคลเซียมต่ำ เป็นต้น ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายต่ำ ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย

การรักษาโรคไตรั่ว

การรักษาโรคกลุ่มอาการเนโฟตริก ต้องทำ การตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อ ตรวจสอบระดับสารไข่ขาวในเลือด ระดับโคเลสเตอรอล และ ระดัยไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เป็นอย่างไร ซึ่งหลังจากทราบระดับสารในเลือดและปัสาวะแล้ว ก้จพทำให้รักษาได้ง่ายและตรงจุดขึ้น การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ และให้ผู้ป่วยงดใช้ยาที่ผู้ป่วยมีอาการแพ้ ให้ยาสเตียรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน ถ้าพบว่าในเลือดสารไข่ขาวในสูง แสดงว่าอาการดีขึ้น แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจให้ ยาขับปัสสาวะ เพิ่ม แต่ถ้าการให้ยาไม่ได้ผล จะต้องเจาะเนื้อไตไปตรวจ โรค นี้จะเป็น เรื้อรัง ผู้ป่วยต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ในผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรง อาจเกิด ภาวะไตวาย แทรกซ้อน อันตรายถึงแก่ชีวิต ได้

การดูแลผู้ป่วยโรคไตรั่วหรือโรคไตอักเสบเนโฟรติก

เนื่องจาก โรคไตรั่ว ผู้ป่วยจะมี การเปลี่ยนแปลงระดับไขมัน น้ำ และ เกลือแร่ในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมอาหาร โดย ลดอาหารแต่ละมื้อลง หลีกเลี่ยงอาหารทีมีไขมัน เลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล  ให้รับประทาน คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 60 ของ พลังงานที่รับประทานทั้งหมด รับประทานผักและผลไม้ ที่ไม่หวาน ลดการกินอาการรสเค็ม ให้ รับประทานผักและผลไม้ เป็นหลัก รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม ให้มากขึ้น

สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม เป็น สมุนไพรบำรุงกระดูก เราได้รวบรวม สมุนไพรบำรุงกระดูก มาให้เพื่อนๆ มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะละกอ
ส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สมุนไพรไทยส้มโอ
กระชาย สมุนไพร สมุนไพรไทย ต้นกระชายกระชาย
กระเฉด สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัวผักกระเฉด

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคไตรั่ว

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วย โรคไตรั่ว คือ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดอาหารเค็ม อาหารไขมัน อาหารหวาน เน้นการรับประทานผักและผลไม้ และ อาหารที่มีแคลเซียม

โรคไตรั่ว โรคไตอักเสบเนโฟรติก ( nephrotic ) คือ ภาวะของการอักเสบของไต จากการเกิดจากความผิดปรกติของไต ไม่สามารถกรองโปรตีนได้ จากเนื้อไตหนา ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะเป็นฟอง เท้าบวม ขอบตาบวม หน้าบวม ไขมันในเลือดสูง ตัวบวม โรคไตอักเสบเนโฟรติก  ความผิดปรกติของไตแบบเรื้อรัง อาการของโรคไตรั่ว การรักษาโรคไตรั่ว โรคเรื้อรังของไต

 

โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก ต้องทำอย่างไร แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคไตรั่ว อาการของโรคไตรั่วเป็นอย่างไร สาเหตุของโรคไตอักเสบเนโฟรติกคืออะไร การรักษาโรคไตรั่ว โรคไตรั่ว หรือ โรคไตอักเสบเนโฟรติก เป็น ความผิดปรกติของไต โรคเรื้อรังของไต มาทำความรู้จักกับ โรค นี้กันว่าเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

Last Updated on May 17, 2024