หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ โรคคนอ้วน 8 ปัจจัยสาเหตุของโรค

หลอดเลือดแดงที่ขาตีบ เลือดไม่สามารถไหลเวียนที่ขาได้จากการตีบของเส้นเลือดบริเวณขา ส่งผลเกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดินหลอดเลือดที่ขาตีบ โรคหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อ

หากมีอาการเส้นเลือดตีบที่ขา แต่เป็นไม่มาก ก็จะยังไม่เห็นอาการชัดเจน แต่หากมีอาการ เราสามารถสังเกตุได้จากอาการดังนี้ คือ ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน  จะมีการปวดขาเมื่อต้องเดินนานๆ และอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ ดังนั้น หากพบว่ามีอาการลักษณะนี้ สามารถสันนิฐานได้ว่า ท่าเป็นโรค เส้นเลือดขาตีบ แล้ว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดขาตีบ

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เส้นเลือดที่ขาตีบ มีดังนี้

  • พันธุ์กรรม
  • อายุที่สูงขึ้น
  • อาการหลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะอ้วน
  • การพักผ่อนน้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • ภาวะโรคแทรกซ้อน เป็นผลข้างเคียงของการเกิดโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

อาการของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

เราจะสังเกตุได้อย่างไรว่า มีอาการเป็นโรคเส้นเลือดแดงตีบ คือ ขนที่ขาจะน้อย สีผิวของขาจะคล้ำ หรือในผู้ป่วยบางคนขาจะซีด ไม่สามารถคลำชีพจรที่หลังเท้าได้ เท้าเย็น เป็นแผลเรื้อรังที่เท้า เล็บหนา บางลายจะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ ถ้าเป็นหนักมาก นิ้วเท้าอาจเน่าได้

  • ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
  • สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
  • คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
  • เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
  • แผลเรื้อรังที่เท้า
  • เล็บหนาตัว
  • หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว

การตรวจโรคเส้นเลือดแดงขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  1. การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) เป็นการวัดความดันเลือดที่แขนและขา
  2. การฉีดสี Arteriogram เข้าไปที่เส้นเลือด เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ตีบของเส้นเลือด
  3. การวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  4. การวัดระดับไขมันในเลือด
  5. การตรวจคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจ

การรักษาโรคเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ

สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การลดปัจจัยเสี่ยงของโรคทั้งหมด การรักษาสามารถทำได้ดังนี้

  1. การเดิน เพื่อช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดแดงมีการสร้างใหม่
  2. หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
  3. เลือกสวมรองเท้าที่พอดีกับขนาดของเท้า
  4. ลดการบริโภคอาหารประเภทไขมัน แป้งและน้ำตาล
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. บริโภคอาหารประเภทวิตามินB ให้มากขึ้น
  7. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. ใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย ยากที่ใช้จะเป็นยา ต้านเกล็ดเลือด
  9. การควบคุมระดับไขมันในเลือด

หากรักษาโดยการลดอาการเสี่ยงของโรคแล้วยังไม่ดีขึ้น สามารถใช้การทำ Balloon ที่เส้นเลือดแดงบริเวณที่มีการตีบได้

การป้องกันโรคเส้นเลือดแดงตีบที่ขา

สามารถทำได้โดยงดปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด เช่น รักษาระดับน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เป็นต้น

  • รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ

สมุนไพรใช้ลดน้ำหนัก สามารถช่วยป้องกันและรักษาการเป็นโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบได้ เราจึงได้รวบรวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดความอ้วน มาให้เป็นความรู้เสริม มีดังนี้

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
แมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพรแมงลัก อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด
ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพรชุมเห็ดเทศ ต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียวกระเจียว

โรคเส้นเลือดขาตีบ คือ ภาวะเลือดไม่สามารถส่งไปไหลเวียนที่ขาได้ เนื่องจากเกิดการตีบที่เส้นเลือด บริเวณขา เป็น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด ไม่ใช้โรคติดต่อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดขา ปวดน่อง เป็นตะคริว ชาที่เท้า ขาอ่อนแรง โดยเฉพาะเวลาเดิน และจะดีขึ้นเมื่อได้พัก ปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดโรคนี้ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ

Last Updated on March 25, 2024