โรคอัลไซเมอร์ ความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ทำให้ความจำเสื่อม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนไป ในที่สุดจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เสียชีวิตในที่สุด
โรคอัลไซเมอร์ ภาษาอังกฤษ เรียก Alzheimer’s disease คือ ความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โรคที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ทำให้เกิดอาการ เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม นิสัยและพฤติกรรมเปลี่ยน ซึ่งอาการจะค่อยๆเป็นอย่างละช้าๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และ เสียชีวิตในที่สุด โรคอัลไซเมอร์ สามารถพบได้มากกับผู้ป่วยที่อายุมาก อายุยิ่งมากเท่าไรก็มีโอกาสเป็นมากขึ้น จากสถิติ ประชากรไทย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคนี้ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 4
สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
ซึ่งทางการแพทย์พบว่า ร้อยละ 7 ของผู้ป่วยสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งเป็นความผิดปรกติของโครโมโซม คู่ที่ 1 14 19 และ 21 ซึ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคปัญญาอ่อน หรือโรคกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) หลังจากอายุเกิน 40 ปี จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในที่สุด นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ เช่น อายุที่มากขึ้น การเกิดอุบัติเหตุที่สมอง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโหิตสูง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดอัลไซลเมอร์ได้
อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร
อาการของโรคนี้สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ระยะ คือ ระยะก่อนสมองเสื่อม สมองเสื่อมระยะแรก สมองเสื่อมระยะปานกลาง และสมองเสื่อมระยะสุดท้าย ซึ่งรายละเอียดของอาการสมองเสื่อมแต่ละระยะมีดังนี้
- ระยะก่อนสมองเสื่อม ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการจดจำสิ่งที่พึ่งเรียนรู้มาไม่นาน แต่ว่ายังไม่มีอาการที่ชัดเจน ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ และยังสามารถตัดสินใจทำในสิ่งต่างๆได้ ยกเว้นเรื่องที่สลับซับซ้อน
- สมองเสื่อมระยะแรก ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำระยะสั้น หรือความจำที่เพิ่งเรียนรู้มา ลักษณะอาการ เช่น ลืมของ ลืมเวลานัด ทานยารักษาโรคซ้ำๆ ถามซ้ำ พูดซ้ำ ในระยะนี้การใช้ชีวิตของผู้ป่วยเริ่มไม่เป็นปกติ แต่ยังสามารถสื่อสารบอกความคิดพื้นฐานของตนได้ ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ แต่ขาดความคล่องแคล่วเหมือนปรกติ
- สมองเสื่อมระยะปานกลาง ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำระยะสั้นไปเลย ส่วนความจำระยะยาว และความรู้ทั่วไป จะค่อยๆเสื่อมลง ในระยะนี้ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะอาศัยอยู่ในบ้านของตัวเองแต่จะมีความรู้สึกว่าอยู่ต่างสถานที่ตลอดเวลา เรื่องของภาษาและการพูดจะมีปัญหาชัดเจน ทักษะเรื่องของการอ่านและการเขียน จะค่อยๆเสื่อมลง ผู้ป่วยรู้สึกสับสน วิตกกังวล หงุดหงิด โมโหง่าย และอารมณ์แปรปรวน
- สมองเสื่อมระยะสุดท้าย ในระยะนี้ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจทั้งหมด ทั้ง ระยะสั้น ระยะยาว และความรู้ทั่วไป ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆได้เลย แม้กระทั้งการอาบน้ำ การกินข้าว การแต่งตัว การเดิน หรือการนั่ง และไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
ผลข้างเคียงของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 10 ปี ซึ่งการใช้ชีวิตจะเริ่มลำบาก และจะเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อความทรงจำหาย
การรักษาโรคอัลไซเมอร์
ปัจจุบันยังไม่มี ยาหรือวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่การรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ยาเพื่อช่วยชะลออาการของโรค โดย ยาที่ให้ มีอยู่ 4 ชนิด คือ Donezpezil , Rivastigmin, Galantamine, และ Memantine และการให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด การบำบัดโดยอาศัยสัตว์เลี้ยง
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการความจำเสื่อม ให้หยุดขับรถด้วยตนเอง ไม่ควรให้ผู้ป่วยไปยังสถานที่ไม่คุ้นเคยเพียงลำพัง ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยไปทำธุระสำคัญคนเดียว เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน และเมื่อมีอาการมากต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา พาผู้ป่วยพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินอาการ ควรให้ผู้ป่วยพกป้ายประจำตัว ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเบอร์ติด อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการพลัดหลง
ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์สามารถทำได้อย่างไร
เราได้รวบรวมมาให้ มีรายละเอียด ดังนี้
- ในผู้หญิงวัยหมดประำเดือน ต้องให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือให้ฮอร์โมนชนิดผสมเอสโตรเจน-โปรเจสโตโรน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นต้องระวังการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
- ให้รับประทานอาหาร ที่มีสิตามินบี 12 และมีกรดโฟลิกสูง จำพวก ผักและผลไม้สด ธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา ไวน์แดง
- ลดการบริโภค อาหารประเภท ไขมันสูง เค็มจัด หวานจัด และอาหารจานด่วนต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของดรค โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ทำกิจกรรมที่ฝึกสมองและความคิด เช่น อ่านหนังสือ เล่นหมากรุก เป็นต้น
สมุนไพรช่วยบำรุงสมอง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทได้ มีดังนี้
Last Updated on March 26, 2024