โรคหูดับ การติดเชื้อไวรัสที่หูจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน โรคหูดับมีอาการสูญเสียการได้ยินข้างเดียว เกิดได้ทุกเพศทุกวัย
ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหูดับ ( Sudden Hearing Loss : SHL ) มักเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ช่วงอายุ 30-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามสถานบันเทิงที่มีเสียงดัง รวมถึงผู้ที่ใส่หูฟังและเปิดเพลงเสียงดังๆ
หู เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับเสียงเพื่อการได้ยิน เป็นอวัยวะเพื่อการทรงตัว ถ้าเราไม่สามารถได้ยินชัดเจน มีอาการหูอื้อ เราจะไม่อาจพูดคุยติดต่อสื่อสารและเข้าสังคมได้ตามปกติ ถ้ามีอาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือหูดังมีเสียงรบกวนด้วยจะยิ่งทรมาน การหาสาเหตุของโรคและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ สาเหตุของโรคอาจเป็นจากหูเอง หรือจากประสาทเกี่ยวข้อง หรือโรคทางสมอง หรืออาจมาจากโรคทางกายหลายๆอย่างที่เป็นต้นเหตุก็ได้ ถ้าเด็กเกิดใหม่มีการเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นรุนแรงจะไม่อาจพูดได้ ทำให้ไม่อาจพัมนาตนเองและไม่อาจศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเด็กปกติ และอาจเป็นใบ้
สาเหตุของการเกิดโรคหูดับ
สำหรับสาเหตุของการเกิดหูดับ พบว่ามีสาเหตุ 4 ประการ หลักๆ คือ
- เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด โรคหูดับเกิดจากเชื้อไวรัส พบว่ามี 60% เป็นโรคหูดับจากติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะทำให้หูชั้นในอักเสบ ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคหูดับ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B ไวรัสซัยโตเมกาโล ไวรัสคางทูม รูบิโอลา ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสงูสวัส
- การขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในเกิดอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็สามารถทำให้เกิดโรคหูดับ ได้
- ผู้ป่วยโรคออโตอิมมูน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดับ โรคในกลุ่มออโตอิมมูน เช่น โรคลูปัส อาจจะเกิดจากสภาวะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง
- การฉีกขาดของเยื่อหูชั้นใน การได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่าในบางรายเป็นโรคหูดับ จากความเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ
สำหรับอาการที่พบสำหระบอาการหูดับ ในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนศีรษะ โดยอาการของโรคหูดับนั้น สามารถสังเกตุได้ดังนี้
- ไข้สูง ผู้ป่วยอาจมี
- อาการจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด)
- อุจจาระร่วง/ท้องเสีย
- มีอาการจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- อาจมีอาการติดเชื้อชนิดเป็นหนองที่ข้อ
- มักมีประสาทหูอักเสบจนหูดับ/หูหนวกทั้งสองข้าง
การรักษาโรคหูดับ
สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูประสาทหูให้กลับมาโดยเร็ว ระหว่างการพักผ่อนห้ามฟังเสียงดังๆ อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ หายได้เองประมาณ 70 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยทั้งหมด หากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ก็ให้ยาต้านไวรัส อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) และยาแก้อักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์
การป้องกันโรคหูดับ
โรคหูดับสามารถการป้องกันได้โดย หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังๆ สำหรับการป้องกันโรคหูดับนั้นควรปฏิบัติ ดังนี้
- สวมรองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม ระหว่างปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู/สุกรทุกขั้นตอน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้
- ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร และเนื้อสุกร
- เมื่อเกิดแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร
- กำจัดเชื้อจากฟาร์ม โดยการเลี้ยงหมูตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของหมู
- ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี เช่น จิ้มจุ่มที่ต้มไม่สุกพอ หรือ ลาบสุกๆดิบๆ เป็นต้น
- ไม่กินหมูที่ป่วย หรือหมูตายจากโรค
ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ( Zoonotic infectious disease ) ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมู/สุกรสู่คน ไข้หูดับ เป็นโรคพบได้ประปรายทั่วโลก โดยมักพบในประเทศที่มีการเลี้ยงหมูเป็นอุตสาห กรรม และในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 100 คน ซึ่งในชั้นต้นของการระบาดครั้งนี้ มีการเสียชีวิตมากกว่า 20 คน
โรคหูดับ ภาวะติดเชื้อไวรัสที่หู เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน ส่วนมากโรคหูดับจะมีอาการสูญเสียการได้ยินเพียงข้างเดียว เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ
Last Updated on March 25, 2024