หัวใจโต ( Cardiomegaly ) ภาวะหัวใจใหญ่กว่าปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูง แต่หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี อาการเหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวียนหัว อ่อนเพลีย เท้าบวม แน่นหน้าอก
ภาวะหัวใจโต นั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นสภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากที่เกิดจากการเกิดโรคของ หัวใจ ปอด และหลอดเลือด ซึ่งโดยแล้ว ภาวะหัวใจโต สามารถพบได้ 2 ลักษณะ คือ หัวใจโตจากผนังห้องหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophy) และ ห้องของหัวใจมีการขยายผิดปกติ (Dilatation)
หัวใจโต พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุจากการเสื่อมของเซลล์ต่างๆของหัวใจตามธรรมชาติ และโอกาสเกิดหัวใจโต ใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย จากสถิติการเกิดโรคหัวใจโต นั้นพบว่าในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ บ่อยๆ เป็นประจำ จะมีภาวะหัวใจโต
โรคหัวใจโต ไม่ใช้โรคติดต่อ แต่ความร้ายแรงของโรคสามารถทำให้เสีชีวิตได้ โรคนี้มักเกิดกับคนที่มีความดันโลหิตสูง ซึ่งทำให้หัวใจทำงานหนัก โรคหัวใจโต คือ โรคที่ขนาดของหัวใจที่โตกว่าปกติ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ
- หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ การที่กล้ามเนื้อหัวใจใหญ่ขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก บีบตัวมากขึ้น ลักษณะนี้ ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และโรคลิ้นหัวใจตีบ ได้
- หัวใจโตจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ดี ทำให้มีเลือดคั่งหัวใจ ทำให้เหมือนลูกโป่ง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจโต
มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจโต ประกอบด้วย
- อายุที่สูงขึ้น
- การสูบบุหรี่
- ภาวะอ้วน
- การดื่มสุรา
- ความผิดปกติของการเผาผลาญและการใช้พลังงานของร่างกาย มักเกิดจากการเป็นโรคแทรกซ้อนของโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดหัวใจ มีโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคสูงกว่าปรกติ
สาเหตุของโรคหัวใจโต
เราสามารถแยกสาเหตุที่ทำให้หัวใจโตได้ ดังนี้
- โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากการทำมีการสูบฉีดเลือดมาจะทำให้หัวใจทำงานหนัก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจโต
- โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือโรคลิ้นหัวใจตีบ หรืออาการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
- ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiomyopathy) เช่น การดื่มสุรามาก ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย
- ความผิดปรกติ จากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจรั่ว เป็นต้น
- โรคหัวใจเต้นผิดปกติ สามารถทำให้หัวใจโตได้
- ความดันปอดสูง เป็นสาเหตุทำให้หัวใจโตได้
- โรคไทรอยด์ ซึ่งโรคนี้ทำให้หัวใจทำงานหนัก เป็นสาเหตุของหัวใจโต
- การสะสมธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรค Hemochromatosis
- เกิดจากความผิดปรกติของโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจ เรียกว่า Amyloidosis
อาการของโรคหัวใจโต
ผู้ป่วยมักไม่ค่อยเห็นอาการผิดปรกติมาก เพราะผู้ป่วย ยังมีหัวใจที่ทำงานปรกติ แต่สามารถสังเกตุอาการ ต่างๆ ได้ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว มีอาการเวียนหัว อ่อนเพลียง่าย มีใจสั่น เท้าบวม ไอตอนนอน และจะแน่นหน้าอกตอนนอนราบ สามารถแยกอาการให้ชั้ดเจนมากขึ้น เป็นข้อๆ มีดังนี้
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกแรง
- วิงเวียน คล้ายเป็นลม ง่าย
- หัวใจเต้นผิดปกติ อาจ เบา เร็ว ช้า หรือ ไม่สม่ำเสมอ
- อาจมีอาการไอผิดปกติโดยไม่รู้สาเหตุ
- หายใจลำบาก
- อาจบวม เท้า แขน ขา ใบหน้า
- อาจเจ็บหน้าอก
- อาจนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วจะหายใจลำบาก
เราสามารถการตรวจโรคหัวใจโตได้หลายวิธี มีดังนี้
- การทำเอ็กซ์เรย์ปอดและหัวใจ
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูความผิดปรกติของการเต้นของหัวใจ
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ และการทำงานของลิ้นหัวใจ
- การตรวจแสกนMRI
- เจาะเลือดตรวจ
การรักษาโรคหัวใจโต
สามารถทำได้ โดยการใช้ยารักษา และการผ่าตัด
- การให้ยารักษาใช้ยาจำพวก ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน เพื่อป้องกันหัวใจวาย
- การผ่าตัด จำเป็นต้องตรวจดูความผิดปรกติที่ชัดเจน เช่น การผ่าตัดในกรณีมีความผิดปรกติที่ลิ้นหัวใจ หรือในกรณีที่หนักมาก จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การป้องกันการเกิดโรคหัวใจโต
สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง และระดบน้ำตาลในเลือดสูง เช่น เลิกการสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ปรับการรับประทานอาหารโดยรับประทานอาหารรสจืด ลดการบริโภคน้ำตาล ควบคุมความดันดลหิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ
สมุนไพรลดความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเป็นสามเหตุของโรคหัวใจโต เราจึงแนะนำสมุนไพรที่สรรพคุณช่วยในเรื่องลดความดันโลหิต มี ดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรคหัวใจโต ( Cardiomegaly ) คือ ภาวะหัวใจใหญ่กว่าปกติ สาเหตุของหัวใจโต มีหลากหลายสาเหตุ ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว เวียนหัว อ่อนเพลีย ใจสั่น เท้าบวม ไอตอนนอน แน่นหน้าอก ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ การรักษาและป้องกันโรคหัวใจโตำอย่างไร