หลอดเลือดตีบเกิดจากการสะสมของไขมันและแคลเซี่ยมที่หลอดเลือดมากเกินไป ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ เกิดอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม
ปัจจุบันพบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทย ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ มาจาก โรคหัวใจและหลอดเลือด สูงเป็นอันดับ 2 เป็นรองเพียงแค่โรคมะเร็งเท่านั้น และจากตัวเลขจากกระทรวงสาธารณสุข ยังบ่งชี้ด้วยว่า ในช่วงระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 3 หมื่นคน คิดเป็นเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตด้วยโรคนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ “โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน” ที่ปัจจุบันคนไทยมีอัตราการเกิดโรคนี้มากสุด และเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้นๆ ของเมืองไทย
โรคหลอดเลือดหัวใจ ส่วนใหญ่ เกิดจากไขมัน และ เนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้ เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นใน ตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้ หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้ เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ จนเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ซึ่งจะทำให้มี อาการเจ็บหน้าอก เกิดขึ้น หากเกิดการอุดตันของหลอดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งมักเกิดจากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออกและกลายเป็นลิ่มเลือดจะ ส่งผลให้เกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อันนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือเสียชีวิตกะทันหันได้
สาเหตุของโรคหลอดเลือดตีบ
สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนได้ทั้งหมด แต่อันตรายที่เกิดจาก การตีบของเส้นเลือด มีมาก และเราได้รวมสาเหตุหลักๆของโรคนี้ มีดังนี้
- แรงดันของความดันโลหิต
- เกิดการอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
- โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus
- การบริโภคไขมัน น้ำตาล มากเกินไป
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค คือ การสูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุ่ง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง เพศ อายุ และกรรมพันธ์ุ
อาการของโรคหลอดเลือดตีบ
อาการของหลอดเลือดหัวใจตีบ คือ หากเกิดหลอดเลือดตีบ อวัยวะจะขาดเลือด หากขาดเลือดที่ขา ขาก็จะเน่า ซึ่งการขาดเลือดจากหลอดเลือดตีบ สามารถทำให้อวัยวะในร่างกายทุกส่วนสามารถขาดเลือดได้ อาการสำคัญ ของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ดังนี้
- เจ็บเค้นอก ที่เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บหนักๆ เหมือนมีอะไรมาทับหรือรัดบริเวณกลางหน้าอกหรือใต้กระดูกกลางหน้าอก อาจมีร้าวไปบริเวณคอ กราม ไหล่ และแขนทั้ง 2 ข้างโดยเฉพาะข้างซ้าย เป็นมากขณะออกแรง เป็นนานครั้งละ 2-3 นาที เมื่อนั่งพักหรืออมยาขยายหลอดเลือดใต้ลิ้นอาการจะทุเลาลง
- เหนื่อยง่าย ขณะออกแรงหรือออกกำลังกายที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายใน 1–2 สัปดาห์ หรือที่เกิดขึ้นเรื้อรังเกินกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป
- หายใจหอบ นอนราบไม่ได้ แน่นอึดอัด หายใจเข้าไม่เต็มปอด อาจมีอาการเจ็บเค้นอกร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
- หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม ร่วมกับอาการแน่นหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน
อาการหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น
แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น เลิกสูบบุหรี่ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กำจัดความเครียด
- การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของลิ่มเลือด ยาขยายหลอดเลือด ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ ยาลดไขมัน ยาควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น
- การรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนร่วมกับการสอดฝังขดลวดค้ำยันผนังหลอดเลือด การให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์ชนิดพิเศษ
- การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
การป้องกันโรคหลอดเลือดตีบ
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบสามารถป้องกันได้ โดยการตรวจวัดระดับไขมันในเส้นเลือดอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ สามารถแบ่งเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่
- ลดความเครียด
สมุนไพรช่วยลดไขมันในเส้นเลือด สามารถช่วยบรรเทาการเกิดโรคหลอดเลือดตีบได้ เราจึงรวบรวมสมุนไพรสรรพคุณช่วยลดไขมันมาเสนอ
เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ | สมอไทย |
ถั่วเขียว | หญ้าปักกิ่ง |
ชุมเห็ดเทศ | มะกอก |
โรคหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดตีบ คือ โรคของหลอดเลือดแดงขนาดกลาง ที่มีการสะสมของไขมัน และ แคลเซี่ยม มากเกินไป จนทำให้ไปเกาะที่ผนังด้านในของหลอดเลือด เมื่อเส้นเลือดอุดตัน หรือ ตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ ทำให้เกิดอาการ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นลม การรักษาโรคหลอดเลือดตีบ
Last Updated on March 25, 2024