โรคตาแดง เยื่อบุตาขาวอักเสบ 5 สาเหตุทำให้เกิดตาแดง

โรคตาแดง Conjunctivitis เยื่อบุตาขาวอักเสบ มี 2 แบบ ตาแดงเฉียบพลัน ตาแดงเรื้อรัง สาเหตุจากป่วยไข้ อดนอน ขยี้ตา ติดเชื้อที่ตา แนวทางการรักษาและป้องกันมีอะไรบ้าง

โรคตาแดง โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบ โรคตา โรคติดเชื้อ

โรคตาแดง คือ ความผิดปรกติของตาขาว ซึ่งเกิดอาการแดงมากผิดปรกติ จัดเป็นโรคตาชนิดหนึ่ง ทางการแพทย์เรียก โรคเยื่อตาขาวอักเสบ ( Conjunctivitis ) ดวงตาสีแดงจัดจากการอักเสบและเส้นเลือดฝอยที่ดวงตาขยายตัว สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงการขยี้ตาแรงๆ เป็นต้น

ประเภทของโรคตาแดง

สำหรับการแบ่งประเภทของโรคตาแดง สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ โรคตาแดงเฉียบพลัน และ โรคตาแดงแบบเรื่อรัง ซึ่งแบ่งตามความอันตรายของอาการตาแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคตาแดงเฉียบพลัน เป็นลักษณะของอาการตาแดงที่อันตรายน้อย ได้แก่ ตาแดงจากภูมิแพ้ ตาแดงจากต้อลมและต้อเนื้อ ตาแดงจากเส้นเลือดฝอยแตก และ ตาแดงตามฤดูกาล
  • โรคตาแดงอันตราย ลักษณะอาการแตแดงที่มีความอันตรายและเป็นอาการเรื้อรัง ได้แก่ ตาแดงจากการติดเชื้อหนองใน ตาแดงจากต้อหินเฉียบพลัน ตาแดงจากงูสวัด

สาเหตุของโรคตาแดง

ภาวะเยื่อบุตาขาวแดง เกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งร่างกายสามารถรักษาอาการตาแดงให้หายเองได้ภายใน 14 วัน ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุที่เป็นปัจจัยทำให้ตาแดง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยอาการตาแดง จากการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา เครื่องสำอาง การเล่นน้ำในที่เดียวกัน
  • การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา เช่น แมลงเล็กๆ เศษฝุ่น เป็นต้น
  • ติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่พบบ่อย คือ Adenoviruses และ Herpes Simplex viruses
  • ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อย คือ Staphylococcus aureus, Streptococcus pneumoniae และ Haemophilus influenzae
  • ภาวะจากโรคภูมิแพ้ การได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ น้ำหอม เครื่องสำอาง ควันบุหรี่ ไรฝุ่น หรือแม้แต่ยาหยอดตาบางชนิด เป็นต้น

อาการของโรคตาแดง

สำหรับการแสดงอาการของโรคตาแดง จะเห็นความผิดปรกติที่ตาขาว ซึ่งเปลี่ยนเป็นสีแดงอย่างชั้ดเจน โดยส่วนมากอาการโรคตาแดงจะเกิดกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง โดยสามารถสังเกตุอาการต่างๆได้ดังนี้

  • เยื่อบุตาขาวแดง
  • ปวดเบ้าตาเล็กน้อย
  • รู้สึกคันตาและเคืองตา
  • น้ำตาไหล
  • เปลือกตาบวม
  • หากติดเชื้อลุกลามไปยังกระจกตา ส่งผลให้สายตาพร่ามัว

การรักษาโรคตาแดง

สำหรับแนวทางการรักษาอาการตาแดง หากเกิดจากการอักเสบ หรือ มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ดวงตาทำให้เยื่อบุตาอักเสบ ร่างกายจะมีกลไกลในการขับสิ่งแปลกปลอมออกมาเอง สังเกตุจากน้ำตาและขี้ตา เมื่อสิ่งแปลกปลอมออกจากตาหมด ดวงตาจะค่อยๆกลับมาปรกติเอง ภายใน 2 สัปดาห์

สำหรับอาการตาแดงจากการติดเชื้อไวรัส สามารถใช้น้ำตาเทียม ช่วยลดอาการระคายเคือง และ การประคบเย็น เพื่อลดการอักเสบ และ ใช้ยาหยอดตาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย และหากอาการตาแดงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาด้วย ยาหยอดตาช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

หากมีอาการปวดตาอย่างรุนแรง สายตาพร่ามัว ตาแดงจัด มีจุดขาวเล็กๆที่กระจกตา ควรพบแพทย์ฉพาะทางเพื่อรับการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด

การป้องกันโรคตาแดง

แนวทางการป้องกันโรคตาแดง สามารถป้องกันได้จากการป้องกันดวงตาจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • หมั่นล้างมือให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา
  • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วยอาการตาแดง
  • สำหรับคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ หากมีอาการผิดปรกติให้หยุดการใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการจะหายสนิท
  • พักการใช้สายตาและพักผ่อนให้เพียงพอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

Last Updated on May 17, 2024