โรคคาวาซากิ หัดญี่ปุ่น มีไข้สูง ผื่นขึ้นตามตัว มือเท้าบวม

หัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคแน่ชัด อาการไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ผื่นขึ้นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง

โรคคาวาซากิ โรคหัดญี่ปุ่น โรคเด็ก โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคคาวาซากิ ( Kawasaki disease ) เรียกอีกชื่อว่า หัดญี่ปุ่น คือ โรคที่พบมากในเด็ก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อมีการติดเชื้อโรคแล้ว ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันผิดปกติจึงส่งผลต่อลักษณะอาการของโรค เป็นสาเหตุของอาการหัวใจอักเสบ และหลอดเลือดแดงอักเสบในเด็ก โรคนี้พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2510 ในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไทยพบครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2519

สาเหตุของการเกิดโรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน คือ มีไข้สูง มีผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกิดจากเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคจึงเกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคผิดปกติส่งผลต่อร่างกายิดปรกติต่างๆตามมา

กลุ่มผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ

สำหรับผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ จะเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง เท่ากับคนที่มีอายุมากกว่า โดย ในคนอายุ 2 ถึง 3 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคมากที่สุด และ เพศชายมีอัตรการเกิดโรค มากกว่าเพศหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคคาวาซาอก ลักษณะอาการกระทันหัน ซึ่งสามาถสรุปลักษณะของอาการของผู้ป่วยให้เห็นชัดมากขึ้น มีดังนี้

  1. มีไข้สูง และมีไข้นาน 1 – 4 สับดาห์
  2. มีอาการตาแดง อาการตาแดงจะเกิดหลังจากผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณ 1-2 วันและอาการตาแดงจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแดง แห้ง และริมฝีปากแตก หลังจากนั้นบริเวณลิ้นแดง
  4. ฝ่ามือกับฝ่าเท้าจะมีอาการบวม ไม่มีอาการเจ็บ จากนั้นหนังโคนเล็บจะลอก และลามไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายถึงขั้นเล็บหลุดเลย
  5. เกิดผื่นตามตัว แขนและขา จะเกิดเมื่อมีไข้แล้ว 2-3 วัน รวมถึงมีอาการคันที่ผื่นด้วย
  6. ที่บริเวณคอ จะมีอาการโต เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาอาการของโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียารักษาโรคคาวาซากิโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งที่แพทย์ใช้ในการรักษาโรค คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดบการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลิน ชนิดฉีด ( intravenous immunoglobulin , IVIG ) เพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือด สำหรับการรักษา สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และ ระยะต่อเนื่องของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคในระยะเฉียบพลันของโรค ใช้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน
  • การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน  ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคาวาซากิ

อาการแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิค คือ อาการที่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอาจอักเสบโป่งพอง ( coronary aneurysm )  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีความอันตรายต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตได้ การตรวจรักษาจึงต้องรักษาอย่างทันท่วงที

การป้องกันโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื่องจากโรคนี้ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันโดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายเมื่อเกิดโรค จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค เช่น การสูดดมอากาศ การเกิดแผล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

หัดญี่ปุ่น หรือ โรคคาวาซากิ โรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรค อาการสำคัญ คือ ไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และผื่นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง แต่หากไม่ถูกต้องอาจเสียชีวิตได้

โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม