กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตันอย่างกะทันหัน ทำให้อาการเจ็บหน้าอก โอกาสเสียชีวิตสูง หากมีมอาการดังกล่าวต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
การอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ อย่างเฉียบพลันและขัดขวางการไหลของเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ เมื่อหัวใจขาดเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ เป็น โรคที่เกิดจากร่างกายที่ผิดปรกติ เป็น โรคที่เกิดมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประชากรมีการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อโรค และ มีความเครียดสูง ส่วนผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ที่อายุไม่มาก และผู้ชายมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมากก่วาผู้หญิง
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน พบมากในประเทศที่พัฒนาแล้วมากกว่าประเทศด้อยพัฒนาอย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยมากถึง 1.5 ล้านคนต่อปี หรือพบผู้ป่วยทุกๆ 600 คนในประชากร 100,000 คน ในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งรวมถึงประเทศไทยพบผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในรูปแบบของประเทศที่พัฒนาแล้ว ทำให้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็งกันมากขึ้นและส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
สำหรับ สาเหตุของอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย นั้น คือ การที่หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งสาเหตุของการทำใหเหลอดเลือดหัวใจตีบตัน คือ การสะสมไขมัน และ คอเรสเทอรัล ในร่างกายสูง โรคนี้เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่ง ลิ่มเลือด เหล่านี้ เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไป จนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด
เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
เราสามารถแบ่งปัจจัยของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประกอบด้วย
- เพศ ซึ่งเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง
- อายุ คนอายุมากมีโอกาสเป็นมากกว่าคนอายุน้อย เนื่องจากระบบการเผาผลาญไขมันและคอเรสเตอรัลในร่างกายคนอายุน้อยจะทำได้ดีกว่านอายุมาก
- โรคความดันโลหิตสูง
- คนที่มีโคเลสเตอรอลสะสมในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
- คนอ้วน
- คนสูบบุหรี่จัด
- คนพักผ่อนน้อย และขาดการออกกำลังกาย
อาการของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
อาการเริ่มต้นคือ ผู้ป่วยรู้สึกแน่นอึดอัดบริเวณกลางหน้าอก อาจมีอาการปวดไปตามต้นคอ กราม และแขน มีเหงื่อออกมาก และอาการเจ็บหน้าอก หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างนี้ ต้องนำตัวส่งแพทยย์โดยด่วน ซึ่งอาการของโรคสามารถแบ่งได้ดังนี้
- เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตรงกลางอก และเป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป
- เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปยังบริเวณคอ กราม ไหล่และแขนทั้งสองข้าง
- มีเหงื่อออกตามร่างกาย
- เหนื่อยง่าย หายใจถี่กระชั้น
- วิงเวียน หน้ามืด
- ชีพจรเต้นเร็ว
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
สามารถทำได้โดยเผ้าดูการเต้นหัวใจอย่างใกล้ชิด เพราะ อาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลวได้ ให้ออกซิเจนกับผู้ป่วย เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับออกซิเจนมากขึ้น ให้ผู้ป่วยนอนพัก ลดการทำงานของหัวใจให้มากที่สุด จากนั้นให้ยา ยาขยายหลอดเลือด ยาลดการทำงานของหัวใจ ยาต้านการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ยาลดไขมัน ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น แต่การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดในภาวะฉุกเฉิน คือ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด คู่กับกานให้ยาสะลายลิ่มเลือด และอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- การรักษาในระยะก่อนที่กล้ามเนื้อหัวใจจะตาย คือ การทำให้หลอดเลือดที่อุดตัน หายอุดตันและทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจต่อไปได้ ซึ่งจะช่วยลดบริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจตายให้น้อยที่สุด และลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนต่างๆลงได้ โดยมีวิธีการอยู่ 2 รูปแบบคือ
- การใส่สายสวนหัวใจเพื่อไปละลายกลุ่มลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดหัวใจเรียกว่า Percutaneous coronary intervention (PCI)
- การให้ยาละลายกลุ่มลิ่มเลือด (Fibrinolysis) เช่น ยา Tissue plasminogen activa tor, Streptokinase, Tenecteplase และ Reteplase โดยระยะเวลานับตั้งแต่หลอดเลือดเกิดการอุดตันจนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจตายคือประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆด้วยได้แก่ มีการอุดตันของหลอดเลือดโดยสมบูรณ์หรือไม่ หรือยังพอมีเลือดไหลได้บ้างเล็กน้อย มีหลอดเลือดแดงเล็กๆมาช่วยเลี้ยงบริเวณนั้นหรือไม่ ความต้องการออกซิเจนของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจในขณะนั้น เป็นต้น
- การรักษาในระยะที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ป่วยที่มีอาการมานานเกินระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งกล้ามเนื้อหัวใจตายสนิทแล้ว การรักษาโดยการทำให้หลอดเลือดหายอุดตันและมีเลือดไหลไปเลี้ยงนั้นไม่มีประโยชน์แล้ว
ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จึงอาศัยการรักษาตามอาการ โดยผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดภายในหอผู้ป่วยวิกฤตเพื่อระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น มีการติดตามสัญญาณชีพ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัว ใจตลอดเวลา และให้ผู้ป่วยนอนพักอยู่บนเตียงเท่านั้นในช่วง 12 ชั่วโมงแรก ให้ขับถ่ายบนเตียง ทั้งนี้เพื่อลดภาระงานของหัวใจ รวมถึงการงดอาหาร การให้ยาคลายเครียด ยานอนหลับ และให้ยาแก้ปวดแก่ผู้ป่วยเช่น ยากลุ่มมอร์ฟีน เป็นต้น
นอกจากนี้แพทย์จะใช้ยากลุ่มที่ไปลดภาระการทำงานของหัวใจโดยตรงร่วมด้วยเช่น ยากลุ่ม Beta-adrenoceptor blocker, Angiotensin-converting enzyme inhibitor, Angiotensin recep tor blockers เป็นต้น - การรักษาภาวะแทรกซ้อน โดยให้การรักษาตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเช่น ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เป็นต้น
- การป้องกันการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในบริเวณที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นได้อีก ผู้ป่วยทุกรายจึงต้องได้รับยาป้องกันตลอดชีวิตหากไม่มีข้อห้ามอื่นๆเช่น ยาป้องกันการเกาะตัวของลิ่มเลือด (เช่น แอสไพริน หรือ Clopidogrel) ในบางรายอาจได้รับยาละลายลิ่มเลือดร่วมด้วยเช่น Warfarin ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายก็อาจได้ยาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors หรือ Angiotensin receptor blockers เป็นต้น
การป้องการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
สำหรับการป้องกัน คือ การลดไขมัน และคอเรสเตอรัลในร่างกาย โดย เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร ลดความเครียด ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรีสูง หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ลดเครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาล และเน้นการบริโภคผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- หยุดสูบบุหรี่
- ลดความเครียด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในร่างกาย
เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่ | สมอไทย |
ถั่วเขียว | หญ้าปักกิ่ง |
ชุมเห็ดเทศ | มะกอก |
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คือ อาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย เนื่องจากขาดเลือด ซึ่งพบว่าเกิดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจอุดตันอย่างกะทันหัน อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย คือ เจ็บหน้าอก โรคนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูง สิ่งที่ควรทำหากพบผู้ป่วยอาการลักษณะนี้ คือ รีบนำตัวส่งแพทย์
Last Updated on March 25, 2024