โยคะท่านั่งบิดตัว ( Seated Twist ) ท่าที่ช่วยนวดลำไส้ ช่วยกระตุ้นอวัยวะภายใน และ ระบบย่อยอาหาร ท่าโยคะนี้ถือว่าเด็ดสุดสำหรับระบบภายใน การออกกำลังกายโยคะ
ท่านั่งบิดตัว Seated Twist เป็นอีกหนึ่ง ท่าโยคะง่ายๆ ที่จัดว่าให้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยมเกินคาด เพราะนอกจากจะช่วยยืดหยุ่นและผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้ดีแล้ว ยังช่วยกระตุ้นระบบอวัยวะภายในร่างกาย เรื่องระบบย่อยอาหารด้วย ที่สำคัญยังจัดเป็นท่าโยคะที่ช่วยให้นอนหลับสบาย เหมาะสำหรับคนที่นอนหลับยากและคนที่เป็นโรคหอบหืด โยคะท่านี้ช่วยทำให้กระดูกสันหลังแข็งแรง
ท่านี้จะช่วยให้เลือดลมสูบฉีดดี ทำให้ผิวพรรณผ่องใส บรรเทาอาการท้องผูก ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดสิวนั่นเองค่ะ และยังช่วยคลายจากอาการปวดหลังได้ จึงเหมาะกับคนที่ต้องนั่งทำงานทั้งวัน หรือเกร็งอยู่บนส้นสูงเป็นประจำ
วิธีการฝึกโยคะท่าบิดตัว
- เริ่มด้วยการนั่งบนพื้นโดยชันเข่าหยียดขาออกไปด้านหน้า มือวางไว้แนบลำตัวทั้งซ้ายขวา ต้องนั่งยืดอกยืดหลังให้ตรง
- จากนั้นนำเท้าซ้ายสอดเข้าไปอยู่ใต้ขาขวาโดยให้ส้นเท้าซ้ายอยู่ใกล้กับสะโพกด้านขวาให้มากที่สุดและเท้าซ้ายต้องแนบติดพื้น ส่วนขาขวาให้ยกเท้าขวาวางข้ามเข่าซ้ายโดยให้เท้าขวาวางแนบพื้นใกล้กับสะโพกด้านซ้าย
- หายใจเข้าลึกๆ พอหายใจออกให้บิดลำตัวไปทางด้านขวา ให้มือซ้ายยกไปวางราบพื้นอยู่ใกล้กับสะโพกทางด้านขวา บิดลำตัวค้างไว้ 30-60 วินาที
- ค่อยๆผ่อนคลายยกเท้าขวาออกเพื่อสลับทำอีกข้างนึง พยายามยืดไหล่ ยืดหลังให้ตรง เพื่อบิดหน้าท้องได้เต็มที่
ประโยชน์จากการฝึกโยคะท่าบิดตัว
- ช่วยให้กระดูกสันหลังมีการบิดตัว ทำให้ระบบประสาท มีการคลายตัวของแนวกระดูกสันหลัง
- ลดอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ สะโพก เอว และแผ่นหลัง
- ช่วยรักษาภาวะบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
- ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญการย่อย ดูดซึม ของร่างกาย
- ป้องกันอาการหลังค่อม เนื่องจากการทรุดตัวของกระดูก
- ช่วยให้บุคลิกภาพดี
ข้อควรระวังและข้อห้ามในการฝึกโยคะท่าบิดตัว
- คนที่มีภาวะโรคหอบหืด ไม่ควรปฏิบัตท่านี้
- สำหรับคนที่เป็นโรคท้องร่วงอยู่ให้งดท่านี้
- คนที่ปวดหีวอยู่ ไม่ควรทำท่านี้
- ไม่แนะนำสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ
- สำหรับคนที่นอนไม่หลับไม่ควรทำท่านี้
- คนที่มีภาวะความดันต่ำไม่ควรทำท่านี้
- คนที่มีประจำเดือนอยู่ให้งดการทำท่านี้
- สตรีมีครรภ์ห้ามทำท่านี้
ท่านี้จะช่วยนวดลำไส้และระบบอวัยวะภายใน ทำให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดี การออกกำลังกายโยคะ ท่านั่งบิดตัว Seated Twist ในช่วงที่นั่งบิดลำตัวให้เกร็งสะโพกติดพื้นไว้จะดีมาก ถือเป็นการกระชับสะโพกไปด้วยในตัว ผู้ที่ฝึกฝนโยคะท่านี้บ่อยๆ จะพบว่าระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระบบขับถ่ายเป็นเวลา ถือว่าโยคะท่านี้ดีมากต่อระบบภายใน
โยคะท่านั่งบิดตัว Seated Twist สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการการผ่อนคลาย หรือมีเวลาว่างหลังจากเมื่อยล้าจากการทำงานหนัก สำหรับท่านี้แนะนำว่าไม่เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องกระดูกคอและกระดูกหลัง เพราะในการฝึกโยคะท่านี้จะใช้กระดูกสันหลังเป็นหลักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกสันหลัง หากผู้ที่พบปัญหานี้ควรหลีกเลี่ยงโยคะท่านี้ เพราะอาจทำให้บาดเจ็บได้ง่าย การเล่นโยคะทุกท่าควรศึกษาวิธีฝึกก่อนว่าแต่ละท่าต้องใช้ร่างกายส่วนไหน เพื่อดูศักยภาพของตัวเอง ผู้ที่พึ่งเริ่มฝึกฝนควรเลือกท่าพื้นฐานง่ายๆก่อนจนชำนาญ แล้วค่อยพัฒนาต่อเนื่องไปยังท่าที่ยากขึ้น
โยคะท่านั่งบิดตัว Seated Twist ท่านี้ นอกจากช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยเรื่องระบบขับถ่ายได้ดีเยี่ยมแล้ว ยังถือเป็นอีกทางเลือกนึงสำหรับคนที่มองหาการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน ก็สามารถทำให้คุณดูดีและแข็งแรงขึ้นได้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คุณควรหันมาใส่ใจดูแลตัวเอง
โยคะ (สันสกฤต: योग) เป็นกลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยถือกำเนิดที่ประเทศอินเดีย หลายพันปีมาแล้ว วิธีการฝึกโยคะนั้นมีการได้ถ่ายทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน ในแถบหุบเขาอินดัส วอลเลย์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลัก และงานศิลปะประเภทรูปปั้น ที่มีการฝึกโยคะ นักปราชญ์ชาวฮิน ชื่อ ปตัญชลี ได้ปรับปรุงรูปแบบการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน และได้เขียนตำราสูตรการฝึกโยคะไว้ 8 ข้อ ผู้ที่ฝึกและปฏิบัติโยคะ หากเป็นชายจะเรียกว่า โยคี และหากเป็นสตรีจะเรียกว่า โยคินี โยคะมาเป็นการออกกำลังกาย จะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนประสาท ทำให้การทำงานของต่อมต่างๆทำงานดีขึ้น ท่าต่างๆในการฝึกโยคะ จะยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะสอดคล้องกับการหายใจ และการทำสมาธิ การฝึกโยคะจะทำให้สุขภาพจิตและสุขภาพกายดี
แหล่งอ้างอิง
- Denise Lardner Carmody, John Carmody (1996), Serene Compassion. Oxford University Press US. p. 68.
- Stuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga. SUNY Press, 2005, pp. 1–2.
- Tattvarthasutra [6.1], see Manu Doshi (2007) Translation of Tattvarthasutra, Ahmedabad: Shrut Ratnakar p. 102
Last Updated on March 26, 2024