การตั้งครรภ์ พัฒนาการของลูกในแต่ละสัปดาห์ ดูแลตัวเองอย่างไร

การตั้งครรภ์ ( Pregnancy ) เป็นช่วยเวลาที่สำคัญของมนุษย์การกำเนิดของมุนุษย์จะมีพัฒนาการเจริญเติบโตในร่างกายแม่ภายใน 40 สัปดาห์ เป็นช่วยเวลาที่ต้องดูแลลูกและแม่

การตั้งครรภ์ ( Pregnancy ) คือ การมีลูก เป็นภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างอสุจิของผู้ชายและไข่ของผุ้หญิง การปฏิสนธิทำให้เกิดตัวอ่อนฝังอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก ตัวอ่อนนี้จะมีพัฒนาการเจริญเติบโตขึ้นภายใน 40 สัปดาห์เป็นคน โดยการตั้งครรภ์จะมีระยะในการตั้งครรภ์จนคลอดทารกออกมา อายุครรภ์จะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน

ระยะเวลาการตั้งครรภ์

สำหรับผู้หญิงอยู่ในภาวะการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละสัปดาห์ของทารกว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้ลูกที่จะเกิดขึ้นมามีความแข็งแรง สมบูรณ์ พร้อมทั้งด้านร่างกาย และสมอง รายละเอียดของพัฒนาการของการตั้งครรภ์ในแต่ละสัปดาห์ มีรายละเอียดดังนี้

การตั้งครรภ์และพัฒนาการของเด็กในแต่ละสัปดาห์

mom13พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 1-4
ช่วง 4 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาการเริ่มของการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่มือใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหลายส่วน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ต้องมีการบำรุงร่างกายของแม่ และระวังเรื่องการรับประทานยา ควบคุมอารมณ์ของแม่ และะสิ่งเเวดล้อมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การอุ่มท้องตลอดเวลา 40 สัปดาห์
mom14พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 5-8
ช่วง 2 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ทารกจะมีการเจริญเติบโต ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้ง่าย ซึ่งผลกระทบต่อภายนอกและ ส่งผลต่อการจะเกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้
mom15พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16
เดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะมีการสร้างอวัยวะต่างๆครบถ้วน เริ่มมีการขยับแขน ขาและศีรษะ นิ้วต่างๆเริ่มมีเล็บ ทารกในระยะนี้ยังมีเล็ก ทารกสามารถขับของเสียได้ ไตเริ่มขับของเสียออกจากร่างกายผ่านกระเพาะปัสสาวะและสายสะดือ ในระยะนี้ทารกมีขนาดความยาวประมาณ 4 นิ้ว
mom15พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20
เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 4 นั้น ผิวหนังของทารกจะมีสีชมพูใสๆ เริ่มมีขนคิ้วและขนตา เริ่มมีการสร้างหูชั้นนอก หน้า ตา คอยาวขึ้น ทารกในครรภ์ระยะนี้ ทารกจะสามารถลืมตา กลืนน้ำ นอน ตื่นและการเคลื่อนไหวได้
mom16พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24ช่วงเดือนที่ 5 ของอายุครรภ์ ทารกจะเริ่มมีรายนิ้วมือ มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากขึ้น ตับจะเริ่มสร้างเม็ดเลือดแดง ถุงน้ำดีจะเริ่มสร้างน้ำดี ฟันน้ำนมเริ่มโตที่ใต้เหงือก มีผม ขนคิ้ว ขนตา ในช่วงเดือนที่ 5 นั้นทารกจะมีการตื่นและนอนอย่างเป็นเวลา ซึ่งคุณแม่สามารถรู้ได้ถึงการเลื่อนไหวของทารกในครรภ์
mom17พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 6 ระยะนี้ผิวหนังของทารกจะแดงและมีขนอ่อน มีไขมัน ผมและเล็บเท้า สมองเจริญเติบโต ระบบประสาทเริ่มทำงาน แต่ปอดยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ในระยะนี้ทารกจะมีขนาดความยาวประมาณ 1 ฟุ๊ต
mom18พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32
เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 7 คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก ท้องที่โตมากขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น มดลูกของคุณแม่จะหดตัวและบีบรัด ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งทารกจะมีการเคลื่อนไหว เช่น การจาม การดูดมือ การดูดนิ้วเท้า เป็นต้น
mom19พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 33-36
เมื่ออายุครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 8 พัฒนาของทารกจะรวดเร็วกระดูกแข็งแรงขึ้น มีผิวเหมือนคนปกติ เส้นประสาทสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน ในระยันี้เด็กจะรับแสง เสียง และความเจ็บปวดได้
mom20พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงเมื่ออายุครรภ์สัปดาห์ที่ 37-40 
ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ทารกพร้อมออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว สมองของทารกจะเจริญเติบโตเร็วมาก ภูมิคุ้มกันจากแม่จะเข้าสู่ลูก เด็กมีการขยับตัวมากขึ้น เด็กสามารถคลอดออกมาได้ตลอดเวลา เป็นระยะที่คุณแม่ จะรู้สึกอึดอัดมาก แน่นท้อง หายใจเร็ว และท้องผูก

ดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่มือใหม่เริ่มตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น ต้องดูแลตัวเองให้เหมาะสมกับพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งการดูแลตัวเอง ต้องทำดังนี้

  • การรับประทานอาหาร คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็ก
  • การออกกำลังกาย  สำหรับคนท้องสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่อย่าหักโหมเกินไป
  • การทำงาน สำหรับเรื่องการทำงานนั้นสำหรับคนท้องต้องหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้แรงมาก ไม่ควรทำงานอย่างต่อเนื่องจนเกินกำลัง
  • การเดินทาง สำหรับคนท้องต้องระมัดระวังเรื่องการกระแทก การเคลื่อนไหวตัว ซึ่งการเดินทางมีความเสี่ยงต่อการกระแทกสูง ต้องระมัดระวังและเลือกการเดินทางที่เหมาะสมต่อสวัสดิภาพ
  • การเลือกใช้เสื้อผ้า ต้องใส่เสื้อที่หลวม หลีกเลี้ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดท้อง
  • การขับถ่าย สำหรับคนท้องปัญหาเรื่องการท้องผูกเป็นปัญหาของคนท้อง ต้องดื่มน้ำให้มากพอ รับประทานผักและผลไม้
  • การดูแลสุขภาพฟัน การดูกเป็นส่วนที่ทารกจะดูดสารอาหารประเภทแคลเซียมเพื่อสร้างพัฒนาการของลูก ทำให้คนท้องจะมีภาวะการขาดแคลเซียม ต้องดูแลร่างกายดดยเฉพาะเรื่องกระดูกและฟันให้มาก
  • การมีเพศสัมพันธ์ สำหรับคนท้องสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ในช่วงระยะสุดท้ายก่อนคลอดให้งดการมีเพศสัมพันธ์
  • งดการการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดืมแอลกอฮอล์ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

บทความที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์