มะเร็งหลอดอาหาร เนื้อร้ายที่หลอดอาหาร แนวทางการรักษาอย่างไร

มะเร็งหลอดอาหาร เนื้อร้ายที่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการกลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร เสมหะมีเลือด อาเจียนมีเลือด มักเกิดจากการกินที่ไม่เหมาะสมและสูบบุหรี่
มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ภาษาอังกฤษ เรียก Esophageal cancer เป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร เป็นมะเร็งที่พบมากในอันดับ 7 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งโลก ซึ่งมะเร็งหลอดอาหารพบมกในประเทศกำลังพัฒนา เราจะมาศึกษา เรื่องของมะเร็งหลอดอาหาร ความรู้เรื่องมะเร็งหลอดอาหาร ว่า สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร อาการของมะเร็งหลอดอาหาร การรักษามะเร็งหลอดอาหารทำอย่างไร การดูแลและป้องกันการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร คือ โรคเนื้อร้ายที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปรกติ และเกิดการแพร่กระจายสู่ ระบบน้ำเหลือง และ กระแสโลหิต ส่งผลให้เนื้อร้ายกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกาย

สาเหตุของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้นเกิดจากปัจจัยการบริโภค พฤติกรรมส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อหลอดอาหาร ซึ่งเราสามารถสรุปผปัจจัยของสาเหตุการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การเสพสิ่งเสพติด เช่น สุรา การสูบบุหรี่ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารบางชนิดอย่างต่อเนื่อง เช่น อาหารที่มีสารไนโตรโซ อาหารที่มีสารกันบูด อาหารปิ้งย่าง
  • อาการแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ จนเกิดเนื้อร้ายของหลอดอาหาร
  • การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิที่หลอดอาหาร
  • การอักเสบของเยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งสาเหตุของกานอักเสบมีหลายสาเหตุ เช่น การกลืนสารพิษที่มีฤทธ์เป็นกรด โรคเรื้อรังที่หลอดอาหาร เป็นต้น

ระยะของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น มีทั้งหมด 4 ระยะ  ซึ่งโรคมะเร็งระยะต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 1 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งที่หลอดอาหารมีขนาดเล็ก และเนื้อร้ายยังอยู่เฉพาะภายในหลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งจะลุกลามไปถึงเนื้อเยื่อชั้นนอกของหลอดอาหาร เกิดการลามเข้าต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 3 ในระยะนี้ก้อนมะเร็งลุกลามจากเนื้อเยื้อด้านนอกของหลอดอาการ สู่อวัยวะที่อยู่ใกล้กับหลอดอาหาร เช่น ต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งหลอดอาหาร ระยะที่ 4 ในระยะสุดท้ายเนื้อร้ายลามไปสู่อวัยวะอื่นๆ ที่ห่างจากหลอดอาหารมากขึ้น เช่น ช่องท้อง ไหปลาร้า คอ กระแสเลือด ปอด กระดูก ตับ และผิวหนัง เป็นระยะสุดท้ายที่รักษาไม่ได้แล้ว

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับ โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น ผู้ป่วยในระยะแรกมักจะไม่มีอาการให้เห็น เมื่อถึงระยะของการเกิดโรค ผู้ป่วยจะมีอาการ กลืนอาหารลำบาก รู้สึกเหมือนมีอะไรติดเวลากลืนอาหาร มีอาการเจ็บเวลากลืนอาหาร นานๆไปจะสำลักเวลากลืน เสมหะมีเลือดปน และอาเจียนเป็นเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ผอม และน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองโต และมีโอกาสมะเร็งลามไปยังอวัยวะอื่นๆ

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

การวินิจฉัย โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น เริ่มจากการสอบประวัติของผู้ป่วย ตรวจร่างกายตรวจเลือด เพื่อดูความปรกติในการทำงานของตับ ไตและระดับเกลือแร่ในร่างกาย ตรวจต่อมน้ำเหลืองที่ไหปลาร้า จากนั้นเอกซเรย์ การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร และตัดชิ้นเนื้อหลอดอาหารไปตรวจ

การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น มีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัด การฉายรังสีและการทำเคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดวิธีการรักษา ว่าจะใช้วิธีการรักษาอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ ระยะของโรค ตำแหน่งของเนื้อร้ายและตัวผู้ป่วยเองว่ามีความพร้อมอย่างไร การรักษาวิธีต่างๆมีรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดใช้รักษาโรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มต้นๆ การผ่าตัดเนื้อร้ายออก เพื่อป้องกันการลุกลามของเนื้อร้ายและช่วยในเรื่องการกลืนอาหาร
  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร โดยการฉายรังสี เป็นการควบคุมเนื้อร้ายไม่ให้ลุกลาม การรักษาวิธีนี้จะรักษาร่วมกับการทำเคมีบำบัด
  • การรักษามะเร็งหลอดอาหาร ด้วยการใช้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยารักษาตรงที่มะเร็งหลอดอาหาร การให้ยาเคมีบำบัดจะมีวัตถุประสงค์ในการรักษา เช่นเดียวกับการฉายรังสีรักษา คือ ป้องกันการแพร่กระจายของเนื้อร้าย

การป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร เราไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันการเกิดโรคที่ดีที่สุด คือ การลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค โดยแนวทางปฏิบัติตน มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารและเป็นปัญหาต่อสุขภาพ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้
  • ควบคุมน้ำหนัก และ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่างกายที่ไม่อ้วนลดโอกาสเสี่ยงการเกิดดรคต่างๆได้
  • รักษาโรคต่างๆที่เกิดกับหลอดอาหาร การเกิดโรคที่หลอดอาหาร เพิ่มโอกาสเสี่ยงความผิดปรกติของเซลล์ร่างกายโดยเฉพาะหลอดอาหาร

สมุนไพร ที่มีเบต้าแคโรทีนสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ สมุนไพรช่วยป้องกันมะเร็ง ได้ วันนี้เรารวมรวม สมุนไพรช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง มาให้เพื่อนเพื่อเป็นข้อมูล

ชะมวง สมุนไพร สรรพคุณของชะมวง ประโยชน์ของชะมวงชะมวง
บุก สมุนไพร สรรพคุณของบุก ประโยชน์ของบุกบุก
งาดำ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรงาดำ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้งผักบุ้ง

โรคมะเร็งหลอดอาหาร นั้น สาเหตุสำคัญ จากพฤติกรรม การดำรงค์ชีวิต ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้น การใส่ใจสุขภาพ อย่าทำร้ายร่างกายมากนัก จะช่วยให้ ร่างกายแข็งแรง ไม่ต้องไปหา สมุนไพร มากิน เพื่อรักษามะเร็งเลย

โรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร คือ โรคเนื้อร้ายที่เกิดภายในหลอดอาหาร ซึ่งเนื้อร้ายมีการสร้างเซลล์ที่ผิดปรกติ เกิดการแพร่กระจายสู่ ระบบน้ำเหลือง กระแสโลหิต และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการ กลืนอาหารลำบาก เจ็บเวลากลืนอาหาร เสมหะมีเลือด อาเจียนมีเลือด กลุ่มเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหาร สาเหตุ อาการ การรักษา การดูแล การป้องกัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

Last Updated on May 17, 2024