หูดับเฉียบพลัน ภาวะสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หูอื้อ เวียนหัว

หูดับเฉียบพลัน ภาวะสูญเสียการได้ยิน ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเกิดจากติดเชื้อที่หู พักผ่อนไม่เพียงพอ มักสูญเสียการได้ยินเพียงข้างเดียว เกิดได้กับทุกคน

โรคหูดับ โรคติดเชื้อ โรคหู

โรคหูดับเฉียบพลัน ส่วนมากแล้วไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค ซึ่งจากการวินิจฉัยพบว่าสาเหตุอาจมาจาก การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม เมื่อร่างกายอ่อนแอจะทำให้เชื้อโรคจะทำให้ระบบประสาทหูเกิดปัญหา หรืออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรียจากการกินเนื้อดิบโดยเฉพาะเนื้อหมู เลือดหมู ซึ่งในเนื้อหมูมีเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ( Streptococcus suis ) ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน ลักษณะสาเหตุการขากเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในพบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น รวมถึง ภาวะการได้ยินเสียงดังมากๆ เช่น ได้ยินเสียงระเบิด ฟ้าผ่า ประทัดดังๆ รวมถึงการใส่หูฟังที่เปิดเสียงดัง

สำหรับกลุ่มเสี่ยงในการเกิดภาวะหูดับ มักเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ดดยเฉพาะคนช่วงอายุ 30-60 ปี โดยกลุ่มคนที่ทำงานสถานบันเทิงที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง หรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามสถานบันเทิงที่มีเสียงดัง รวมถึงผู้ที่ใส่หูฟังและเปิดเพลงเสียงดังๆ

หู เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นที่ตั้งของอวัยวะรับเสียงเพื่อการได้ยิน เป็นอวัยวะเพื่อการทรงตัว ถ้าเราไม่สามารถได้ยินชัดเจน มีอาการหูอื้อ เราจะไม่อาจพูดคุยติดต่อสื่อสารและเข้าสังคมได้ตามปกติ ถ้ามีอาการเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน หรือหูดังมีเสียงรบกวนด้วยจะยิ่งทรมาน การหาสาเหตุของโรคและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ สาเหตุของโรคอาจเป็นจากหูเอง หรือจากประสาทเกี่ยวข้อง หรือโรคทางสมอง หรืออาจมาจากโรคทางกายหลายๆอย่างที่เป็นต้นเหตุก็ได้ ถ้าเด็กเกิดใหม่มีการเสียการได้ยินตั้งแต่แรกเกิด ถ้าเป็นรุนแรงจะไม่อาจพูดได้ ทำให้ไม่อาจพัมนาตนเองและไม่อาจศึกษาเล่าเรียนได้อย่างเด็กปกติ และอาจเป็นใบ้

สาเหตุของการเกิดโรคหูดับ

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหูดับเฉียบพลันนั้นมีหลายสาเหตุ และ ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดอย่างเฉพาะเจาะจงได้ แต่เกิดจากระบบประสาทหูส่วนการได้ยินเกิดปัญหาทำให้สูญเสียการได้ยิน ซึ่งเราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดภาวะหูดับได้  4  สาเหตุ หลักๆประกอบด้วย

  1. ภาวะการติดเชื้อโรค มีกเกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิดพบว่ามี 60% เป็นโรคหูดับจากติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะทำให้หูชั้นในอักเสบ ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคหูดับ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ type B ไวรัสซัยโตเมกาโล ไวรัสคางทูม รูบิโอลา ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสงูสวัส เป็นต้น
  2. ภาวะการขาดเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในเกิดอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็สามารถทำให้เกิดโรคหูดับ ได้
  3. ภาวะการเกิดโรคออโตอิมมูน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดับ โรคในกลุ่มออโตอิมมูน เช่น โรคลูปัส อาจจะเกิดจากสภาวะร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง
  4. ภาวะฉีกขาดของเยื่อหูชั้นใน การได้ยินเสียงดังมาก ๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่าในบางรายเป็นโรคหูดับ จากความเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ

ช่องทางการรับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการหูดับ สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง คือ ทางการบริโภค โดยการบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดหมูที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ลาบดิบๆ และใส่เลือดดิบ เป็นต้น และ การรับเชื้อโรคทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสสุกรที่เป็นโรค

อาการของผู้ป่วยโรคหูดับ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคหูดับ หากเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อโรค หลังจากที่รับเชื้อ ภายใน 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบวมตามข้อ คอแข็ง พบเกิดอาการในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน อาการของโรคหูดับนั้น สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • ไข้สูง ผู้ป่วยอาจมี
  • อาการจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต
  • อุจจาระร่วง ท้องเสีย
  • มีอาการจากการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองทำให้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาจมีอาการติดเชื้อชนิดเป็นหนองที่ข้อ
  • มักมีประสาทหูอักเสบจนหูดับ หรือ หูหนวกทั้งสองข้าง

การรักษาโรคหูดับ

แนวทางการรักษาโรคหูดับ ให้พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูระบบประสาทหูให้กลับมาโดยเร็ว ลดการฟังเสียงดังๆ ส่วนมากแล้วอาการของผู้ป่วยโรคหูดับจะหายได้เองประมาณ 70 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยทั้งหมด สำหรับการใช้ยารักษาโรคนั้นแพทย์จะให้ยาลดการอักเสบของเส้นประสาท แต่การวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดเป็นสิ่งที่จำเป็น แพทย์จะทำการเจาะเลือด ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง ตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากการหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคทำให้รักษาได้อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถฟื้นตัวได้เร็วและกลับไปได้ยินเหมือนปกติได้

การป้องกันโรคหูดับ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคหูดับ สามารถการป้องกันได้โดย หลีกเลี่ยงการฟังเสียงดัง หลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังๆ รวมถึงหลึกเลี่ยงการรับเชื้อโรคจากการกินหรือสัมผัสเชื้อโรคด้วย โดยแนวทางการป้องกันโรคหูดับ มีดังนี้

  • หากทำงานเกี่ยวข้องกับสุกร ให้สวมเครื่องป้องกันต่างๆ เช่น รองเท้าบู๊ต สวมถุงมือ สวมเสื้อผ้าที่รัดกุม
  • รักษาสุขอนามัยก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงการปฏิบัติงานในสถานที่เสี่ยง เช่น ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดหลังการสัมผัสสุกร
  • ไม่รับระทานเนื้อหมูที่ไม่สุกดี
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่เสียงดัง
  • ระวังการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อหูและศรีษะ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

Last Updated on March 12, 2024