หูดหงอนไก่ ติดเชื้อไวรัส HPV มีติ่งเนื้อในที่ลับ

หูดหงอนไก่ ภาวะติดเชื้อไวรัส HPV อาการมีหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ อวัยวะเพศ หูด HPV ทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งได้ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคหูดหงอนไก่ HPV โรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะติดเชื้อ HPV  ( Human Papilloma virus ) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์  HPV บางสายพันธุ์เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งแนวทางการรักษาโรคผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ คือ การติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่วา่จะทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือ การใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน รวมถึงติดต่อทางผิวหนังจากรอยแผลต่างๆ และ สตรีมีครรภ์สามารถแพร่เชื้อสู่บุตรได้จากการคลอดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี
  7. กลุ่มหญิงและชายที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน
  8. กลุ่มคนที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนังและสัมผัสคนที่มีเชื้อโรค
  9. กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  10. กลุ่มคนที่อยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น สระว่ายน้ำ เป็นต้น

อาการของโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่จะมีความผิดปรกติที่ผิวหนัง คือ เกิดหูดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ผู้ป่วยหูดหงอนไก่ มี 4 ลักษณะ คือ หูดทั่วไป หูดแบบแบนราบ หูดฝ่าเท้า และ หูดอวัยวะเพศ ลักษณะของหูดจะแตกต่างกัน รายละเอียด ดังนี้

  • หูดทั่วไป ลักษณะของหูด เป็นตุ่มเล็ก ๆ ผิวขรุขระ สีเนื้อออกชมพู มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือ ข้อศอก ส่วนมากหูดลักษณะนี้ไม่อันตราย แต่อาจมีอาการเจ็บปวดบางครั้ง
  • หูดชนิดแบนราบ ลักษณะของหูด ขนาดเล็ก นูน ผิวเรียบ สีหูดจะเข้มกว่าสีผิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ผู้ชายมักพบบริเวณเครา
  • หูดฝ่าเท้า ลักษณะของหูด เป็นตุ่มแข็ง ผิวสัมผัสหยาบ มักขึ้นบริเวณส้นเท้า หูดจะทำให้รู้สึกเจ็บในระหว่างการยืนหรือเดิน
  • หูดอวัยวะเพศ เรียกว่า หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก มักเกิดอาการคันแต่ไม่มีอาการเจ็บ หูดที่อวัยวะเพศสามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

ปัจจุบันไม่มียารักษาอาการติดเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งการรักษาโรคร่างกาคจะค่อยๆสร้างภูมิคุ้มกันโรคและกำจัดเชื้อโรคเอง แต่เป็นหูดที่มีความผิดปรกติ ลักษณะเสี่ยงว่าเป็นหูดมะเร็ง เช่น มะเร็งหรือหูด วิธีรักษาจะแตกต่างกันไปตามอาการของโรคที่พบ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี เพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม

การป้องกันโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

โรคหูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) และ การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อจากปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรค ได้ดังนี้

  1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอนให้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม