ว่านชักมดลูก สมุนไพร ข่วยขับประจำเดือน กระชับช่องคลอด

ว่านชักมดลูก ( Curcuma comosa Roxb. ) สมุนไพรสำหรับสตรีแก้ปัญหาช่องคลอดหลวมไม่กระชับ สรรพคุณช่วยบีบมดลูก ขับน้ำความปลา ทำให้มดลูกเข้าอู่สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ว่านชักมดลูก สมุนไพร สรรพคุณของว่านชักมดลูก ประโยชน์ของว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก ( Curcuma comosa Roxb. ) สมุนไพรสำหรับสตรี มีปัญหาช่องคลอดหลวม ไม่กระชับ แก้ไขได้ด้วยว่านชักมดลูก สรรพคุณของว่านชักมดลูก เช่น แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นยาบีบมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร  แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับประจำเดือน แก้โรคมดลูกพิการปวดบวม  ปวดท้องประจำเดือน แก้ริดสีดวงทวาร  รักษาไส้เลื่อน ยาขับเลือด ยาขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลมชัก ช่วยย่อยอาหาร แก้ตกขาว มีการวิจัยว่านชักมดลูก พบว่า มีเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ว่านชักมดลูกสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี

ว่านชักมดลูก ถือเป็น สมุนไพร ชนิดหนึ่ง เป็นพืชตระกูลขิง มีหัวอยู่ใต้ดิน ว่านชักมดลูก มีอยู่ 2 สายพันธุ์  คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย ภาษาอังกฤษ เรียก Curcuma comosa Roxb.  และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ ภาษาอังกฤษ เรียก Curcuma latifolia Roscoe มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma xanthorrhiza Roxb ว่านชักมดลูกพบว่ามีการปลูกมากในจังหวัดเลย และเพชรบูรณ์ แต่เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร หัวของว่านชักมดลูกอยู่ใต้ดิน ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปวงรี ขนาดกว้างประมาณ 15 เซ็นติเมตรและยาวประมาณ 40 เซ็นติเมตร ก้านกยาว 20 เซ็นติเมตร

  • หัวของว่านชักมดลูก อยู่ใต้ดิน ขนาดยาวถึง 10 เซ็นติเมตร เนื้อสีส้มถึงสีส้มแดง หัวใต้ดินของว่านชักมดลูกตัวผู้ จะมีลักษณะจะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า หัวใต้ดินของว่านชักมดลูกตัวเมีย จะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกเหนือดิน รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมใบหอกกว้าง 15 – 20 ซม. ยาว 40 – 90 ซม. มีแถบสีม่วงกว้างได้ถึง 10 ซม. บริเวณกลางใบ ดอกช่อเชิงลด ออกที่บริเวณกาบใบ
  • ก้านดอกว่านชักมดลูก ยาว 15 – 20 ซม. กลีบดอกสีแดงอ่อน ใบประดับสีม่วง เกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน แปรรูปคล้ายกลีบดอกสีเหลือง ผลแห้ง แตกได้

การนำเอาว่านชักมดลูกมาใช้ประโยชน์ เราสามารถนำส่วน เหง้าและราก มาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร รายละเอียด ดังนี้

  • รากของว่านชักมดลูก ใช้แก้ท้องอืดเฟ้อได้ดี
  • เหง้าของว่านชักมดลูก ใช้เป็นยาบีบมดลูก สำหรับทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ใช้กับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยให้ประจำเดือนมาตามปรกติ รักษาโรคมดลูกพิการปวดบวม แก้ปวดประจำเดือน ใช้รักษาริดสีดวงทวารหนัก รักษาไส้เลื่อน เป้นยาขับเลือด ช่วยขับลม ขับน้ำคาวปลา แก้โรคลมชัก ช่วยย่อยอาหาร

สรรพคุณทางยาของว่านชักมดลูก

  • ช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือ มดลูกต่ำ
  • ช่วยขยายหน้าอก
  • ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีเลือดฝาด
  • ช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และ รอยดำ
  • ช่วยลดอาการอารมณ์แปรปรวนของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป
  • ช่วยกระชับหน้าท้องหลังคลอดลูก
  • ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
  • ช่วยทำให้ซีสต์ในช่องคลอดฝ่อ
  • ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด
  • ช่วยแก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • แก้อาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน
  • ช่วยแก้อาการตกขาว
  • ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในสตรี
  • ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ช่วยแก้อาหารเป็นพิษ
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยบำรุงหลอดเลือด

ข้อควรระวังในการบริโภคยาว่านชักมดลูก

  • จะทำให้มีการตกขาวมากกว่าปกติ
  • อาจทำให้เวียนหัว ปวดหัว มีไข้ ไอ แต่อาการนี้จะเกิดกับสตรีที่ไม่แข็งแรง หากพบปัญหานี้ให้ลดปริมาณการบริโภค
  • อาจมีผื่นขึ้นที่ผิวหนังและลำตัว หากมีผื่นมาก แนะนำให้ลดปริมาณการบริโภคลง
  • อาจปวดหน้าอก รู้สึกตึงหน้าอก ปวดมดลูก
  • สตรีในวัยทอง ที่หมดประจำเดือนไปแล้ว อาจจะมีประจำเดือนกลับมาได้
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม