มะเฟือง สมุนไพร 20 ประโยชน์และข้อควรระวังการบริโภาคมะเฟือง

มะเฟือง สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะเฟืองเป็นอาหาร ต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง

มะเฟือง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณมะเฟือง

ต้นมะเฟือง ( Star fruit ) ชื่อวิทาศาสตร์ของมะเฟือง คือ acerrhoa carambola L เป็น ผลไม้ สมุนไพรรูปทรงเหมือนดวงดาว รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นพืชท้องถิ่นของอินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย มาเลเซีย

มะเฟือง นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งอาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น สรรพคุณของมะเฟือง บำรุงผิว ลดการเกิดสิว ช่วยขับปัสสาวะ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รักษานิ่ว

สายพันธ์มะเฟือง

สำหรับสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย มี 4 สายพันธ์ ได้แก่ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์กวางตุ้ง สายพันธ์ไต้หวัน และ สายพันธ์มาเลเซีย รายละเอียด ดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ รสเปรี้ยว มีทั้งลูกใหญ่และลูกเล็ก
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะเด่น คือ ผลสีขาว ขอบสีเขียว รสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ กลีบบาง ขอบบิด รสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเซีย ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ น้ำเยอะ หวานอมเปรี้ยว

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ผล ไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย ความสูงไม่เกิน 10 เมตร ลำต้นเปราะ เป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน ใบของมะเฟืองคล้ายใบมะยม ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ดอกเป็นสีม่วงขาว ดอกจะออกเป็นพวง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตาข้างตามกิ่งและลำต้น มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง ผลของมะเฟือง ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู สีเขียว ผลสุกจะมีสีเหลือง รสชาติ เปรี้ยว อมหวาน

คุณค่าทางอาหารของมะเฟือง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะเฟืองสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม น้ำตาล 3.98 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.04 กรัม ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะเฟือง

มะเฟือง สามารถนำมาใช้เป็นสรรพคุณทางสมุนไพร โดยการบริโภคผลของมะเฟือง ผลมะเฟืองสด สามารถบริโภคสดได้ เช่น เป็นเครื่องเคียง แหนมเนือง ในอาหารเวียดนาม การกินมะเฟืองสด ต่อเนื่องประมาณ 15 วัน จะช่วยให้ขับปัสสาวะสะดวก นอกตากนี้สามารถนมาทำเป็นน้ำมะเฟืองได้ ได้สรรพคุณทางยาครบ และรสชาติอร่อย

มะเฟือง นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลบริ้วรอยแผลเป็น มีประโยชน์ต่อผิวพรรณลดการเกิดสิว ลดจุดด่างดำ ทำให้ผิวใบหน้าขาวสดใสและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการผ่าผลสุกและนำมาแตะทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่จึงล้างออก

ข้อควรระวังในการรับประทานมะเฟือง

ในผลของมะเฟืองนั้นมีกรดออกซาลิกสูง ซึ่งกรดชนิดนี้ส่งผลต่อการทำงานของไต การรับสารออกซาลิกเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคนิ่ว หรือ ไตวายเฉียบพลัน สำหรับ คนที่อยู่ในภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย หากรับประทานมะเฟือง หรือดื่มน้ำมะเฟืองมากๆ จะเป็นอันตรายต่อไต ดังนั้น การรับประทานมะเฟืองต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

มะเฟือง คือ ไม้ผล สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะเฟือง เป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

Last Updated on March 26, 2024