มือชา ปวดมือ จากภาวะกดทับเส้นประสาทข้อมือ พิมพ์งานนาน

กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ อาการปวดข้อมือ ชาบริเวณมือ ปวดมือ และ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน มืออ่อนแรง เกิดจากการนั่งพิมพ์งานนานๆ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต

กดทับเส้นประสาทข้อมือ มือชา โรคออฟฟิตซินโดรม โรคข้อและกระดูก

ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งเส้นประสาทที่ข้อมือทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ และ รับความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ การกดทับเส้นประสาทนานๆทำให้เส้นประสาทตีบแคบ และ อักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการชา และ ปวดข้อมือ เป็นกลุ่มอาการสำหรับคนทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุของอาการบาดเจ็บ มีองค์ประกอบหลักๆ 2 สาเหตุ คือ

  • เกิดจากสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ในสำนักงานไม่เหมาะสำต่อสรีระของคนทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และ computer เป็นต้น รวมถึง เสียง แสงสว่าง ที่ส่งผลต่อ สายตา กล้ามเนื้อ และอาการปวดศรีษะ
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของคนทำงาน เช่น การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ

กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงาน ( Office syndrome ) มีหลายอาการ เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ( Carpal tunnel syndrome)  หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ( HNP ) กล้ามเนื้ออักเสบ ( Myofascial pain syndrome ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ ( tennis elbow ) กระดูกสันหลังยึดติด ( Lumbar dysfunction ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ ( golfer elbow ) เป็นต้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

สาเหตุของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สาเหตุสำคัญหลักของการเกิดโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ คือ การใช้ข้อมือและมือแบบซ้ำๆ ซึ่งลักษณะมีการกดข้อมือกับพื้นนานๆ เช่น การพิมพ์งาน การขับรถ รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆที่มีการสั่นตลอดเวลา เช่น เครื่องเจาะพื้นถนน เมื่อมีการกดทับที่ข้อมือนานๆทำให้เส้นประสาทที่ข้อมือตีบและแคบลง และ เส้นประสาทข้อมืออักเสบ พบว่าอาการโรคนี้จะพบร่วมกับภาวะโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน และ โรคเบาหวาน ซึ่งสามาทรถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้ มีดังนี้

  • เพศ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย
  • ช่วงอายุ พบว่าคนในช่วงอายุ 35 ถึง 40 ปี เป็นวัยทำงาน มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
  • ลักษณะของข้อมือ คนที่มีข้อมือลักษณะกลม จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะข้อมือแบน
  • ภาวะการตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดการกดทับเส้นประสาทมากกว่าคนไม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มคนที่ต้องใช้การกระดูกข้อมือขึ้นลงบ่อย เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว คนซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะ เป็นต้น
  • ภาวะกระดูกหัก หรือ ข้อมือเคลื่อน
  • ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หรือ โรคไทรอยด์

อาการของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับอาการของโรคจะแสดงอาการที่เจ็บปวด และ อาการอ่อนแรง ซึ่งแสดงอาการที่ข้อมือและมือ คือ ชาบริเวณมือ ปวดบริเวณฝ่ามือ ปวดร้าวจากมือไปจนถึงข้อศอก มืออ่อนแรง สามารถแบ่งอาการให้ง่ายต่อการศึกษา ได้ดังนี้

  • ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
  • อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น
  • มีอาการกล้ามเนื้อลีบที่ฝ่ามือ

แนวทางการวินิจฉัยโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักประวัติ และสังเกตุจากอาการ จากนั้นต้องทำการตรวจมือ ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท ( Electrodiagnosis ) และ เอกซเรย์เพื่อดูโครงสร้างของมือ อัลตราซาวด์เพื่อวิเคราะห์การบีบอัดของเส้นประสาท และ เอ็มอาร์ไอเพื่อดูเนื้อเยื่อบริเวณเส้นประสาท

การรักษาโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

สำหรับแนวทางการรักษา แนวทางการรักษามี 2 แนวทาง คือ การทำกายภาพบำบัด หรืแ การผ่าตัด ซึงแนวทางการรักษาเบื้องต้นจะไม่ใช้การผ่าตัดในการรักษา ซึ่งสามารถสรุปการรักษาโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ ได้ดังนี้

  • การรักษาด้วยการไม่ใช้การผ่าตัด ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือและข้อมือ ใส่เฝือกอ่อนดามบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลือนไหวของมือและข้อมือ ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ และ การทำกายภาพบำบัดบริหารมือ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ผ่าตัดเยื่อหุ้มเอ็นบริเวณข้อมือให้แยกจากกัน ซึ่งหลังจากการผ่าตัดข้อมือ ให้ผู้ป่วยยกมือสูงเพื่อลดอาการบวมหลังการผ่าตัด และ ให้ทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค

การป้องกันโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

แนวทางการป้องกันโรคนี้ให้หลีกเลี่ยงการกดทับและการใช้ข้อมือหนักๆ การนั่งพิมพ์งานให้พัก และ บริหารมือ เพื่อให้ข้อมือและมือได้ผ่อนคลายความเกรง

กดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ อาการปวดข้อมือ ชาบริเวณมือ ปวดมือ และ ปวดร้าวขึ้นไปที่แขน มืออ่อนแรง เกิดจากการนั่งพิมพ์งานนานๆ พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

Last Updated on May 17, 2024