ฝีดาษ โรคติดต่อร้ายแรงจากเชื้อไวรัสวาริโอลา เป็นแผลเต็มตัว

โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus อาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นทั่วตัว รักษาอย่างไรโรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคฝีดาษ เกิดขึ้นครั้งแรงใน ปี พ.ศ. 2301 และ สำหรับประเทศไทยมีการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตคนไทยเสียชีวิตจากโรคฝีดาษมากกว่า 15,000 คน โรคฝีดาษถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากพบการติดเชื้อต้องมีการแจ้งความต่อหน่วยงานสาธารณสุข แต่ในปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

โรคฝีดาษเกิดจากร่างกายติดเชื้อเชื้อไวรัสวาริโอลา ( Variola Virus ) ซึ่งไวรัสขนิดนี้สามารถติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีเชื้อโรค ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนั้น กลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น คนใกล้ชิดกับผู้ป่วย การหายใจ สััมผัสละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อการใช้เครื่องนอน เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วย ล้วนเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งสิ้น

อาการโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษ มีระยะฟักตัว 5 – 17 วัน และเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน หลังจากนั้นจึงจะเห็นอาการของโรคอย่างชัดเจน ลักษณะของอาการจะมีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง และหากเกิดในในเด็กจะมีอาการอาเจียน อาการชัก และหมดสติ ด้วย หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา ทั่วทั้งตัว โดยจะมีอาการคันมากและผื่นจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง จากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดใน 2 สัปดาห์ต่อมา ระยะของการเกิดโรคฝีดาษจะแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก ระยะออกผื่น และ ระยะการติดต่อของโรค ซึ่งแต่ละระยะจะแสดงอาการต่างๆ มีดังนี้

  • ฝีดาษระยะเริ่มแรก อาการในระยะนี้ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ หลังจากนั้นบางรายอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นใน 2 วันแรกโดยผื่นขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ฝีดาษระยะออกผื่น หลังจากมีไข้สูงและแสดงอาการในระยะเริ่มแรกประมาณ 3 ผู้ป่วยจะแสดงอาการผื่นขึ้น ซึ่งผื่นจะเริ่มขึ้นที่หน้า และจะลามไปที่แขน หลัง และขา หลังจากนั้นผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน และผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส ในวันที่ 5 ตุ่มน้ำใสจะขุ่น ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้ง และกลายเป็นสะเก็ดในวันที่ 12 ถึง 13 ของการเกิดโรค
  • ฝีดาษระยะติดต่อ การติดต่อของโรคสามารถเกิดได้ตั้งแต่ช่วยสัปดาห์แรกจนถึงระยะแผลแห้งเป็นสะเก็ด

การรักษาโรคฝีดาษ

แนวทางการรักษาโรคฝีดาษ ปัจจุบันนี้ยังยารักาาโรคได้โดยเฉพาะเจาะจง แต่สามารถหายเองได้ ซึ่งแนวทางการรักษาจะใช้การประคับประครองตามอาการของโรค ป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆที่จะทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากพบมีผู้ป่วยโรคฝีดาษต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคแต่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้นลักษณะอาการ คือ การติดเชื้อโรคและเกิดแผลตามร่างกาย ซึ่งในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่อ่อนแอและเกิดแผลที่ร่างกาย จึงเป็นช่องทางในการติดเชื้ออื่นๆร่วม ซึ่งเป็นอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ลักษณะของอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. ภาวะแทรกซ้อนที่กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

แนวทางการป้องกันโรคฝีดาษ ปัจจุบัน สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซี่งหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร่างกายจะสร้างภูมิต้านทางโรคและอยู่ได้ 3 – 5 ปี หากได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจะอยู่นานขึ้น การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล

โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม