ผักกระเฉด ผักน้ำ สมุนไพร เป็นยาเย็น บำรุงสายตา

ผักกระเฉด Water mimosa ผักพื้นบ้าน นิยมกินเป็นอาหาร สรรพคุณของผักกระเฉด บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ทำความรู้จักกับผักกระเฉดด้านสมุนไพรและการรักษาโรค

ผักกระเฉด ผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด

ผักกระเฉด ภาษาอังกฤษ เรียก Water mimosa ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเฉด คือ Neptumia oleracea Lour. FL. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักกระเฉด เช่น ผักหละหนอง ผักหนอง ผักรู้นอน ผัดฉีด ผักกระเสด เป็นต้น ต้นกระเฉด เป็นน้ำพืชผัก เจริญเติมโตได้ในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำ เรียกว่า “ นมกระเฉด ” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด ซึ่งนมกระเฉดมีคุณสมบัติทำให้ต้นลอยน้ำ นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน กระเฉด เป็นพืชคลุมดินตระกูลเดียวกันกับผักบุ้ง พืชพื้นเมืองของไทย

ผักกระเฉดในประเทศไทย

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่

ลักษณะของต้นกระเฉด

กระเฉด เป็นพืชล้มลุกตระกูลเดียวกับผักบุ้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระเฉด มีดังนี้

  • รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก
  • ลำต้นผักกระเฉด ลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้
  • ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก ใบเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด
  • ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อ สีเหลือง คล้ายดอกกระถิน
  • ผลของผักกระเฉด ผลเป็นฝักขนาดเล็ก ลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด

สำหรับการรับประทานผักกระเฉดเป็นอาหาร นิยมรับประทานลำต้นและใบ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แคลเซียม 387 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.0 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 5.3 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3,710 ไมโครกรัม ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซีน 3.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม

ผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด

สรรพคุณของผักกระเฉด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักกระเฉดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักกระเฉด สรรพคุณของผักกระเฉด มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  • ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  • ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  • เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยแก้พิษไข้
  • บรรเทาอาการปวดฟัน
  • ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยรักษาโรคกามโรค
  • ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
  • ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา

โทษของผักกระเฉด

สำหรับการรับประทานผักกระเฉด มีคำแนะนำในการรับประทานผักกระเฉด ดังนี้

  • การนำผักกระเฉดมาทำอาหาร ควรทำให้สุกก่อน เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิ
  • ผักกระเฉดก่อนนำมาทำอาหาร ให้ล้างให้สะอาด เพื่อป้องกันพยาธิ และ ยาฆ่าแมลง
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม