ปากแห้ง ภาวะริมฝีปากแห้งขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย อาการมีแผลที่ริมฝีปาก เจ็บริมฝีปาก การรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร
สาเหตุของปากแห้ง
ปากแห้ง เป็นผลจากภาวะการขาดความชุ่มชื้นของริมฝีปาก จากสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะการขาดน้ำ ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะปากแห้ง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เกิดจากสาเหตุต่างๆดังต่อไปนี้
- ภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ อยู่ในภาวะที่ทำให้ร่างกายเสียน้ำจำนวนมาก เช่น เสียเหงื่อ ท้องเสีย เสียเลือด มีไข้ อาการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และ ส่งผลต่อริมฝีปากแห้ง
- การใช้ยา การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต ยาแก้แพ้ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ยาลดน้ำมูก ยาเหล่านี้ส่งผลต่ออาการปากแห้งได้
- ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง ด้วยการทำเคมีบำบัด ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงบริเวณศีรษะและคอ อาจเกิดความผิดปรกติของต่อมน้ำลายได้
- ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดบริเวณศรีษะ หรือ ลำคอ ซึ่งอากเกิดความเสียหายที่เส้นประสาทจนทำให้เกิดภาวะปากแห้งได้ ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะหรือลำคอด้วย เช่นกัน
- การใช้สารเสพติด รวมถึง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดความเสียหายของปากและอวัยวะภายในปาก ทำให้ปากแห้งอย่างรุนแรงได้
- ความเสื่อมของร่างกายตามวัย สำหรับผู้สูงอายุมักมีภาวะปากแห้ง ด้วยปัจจัยต่างๆ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การเจ็บป่วย หรือ การขาดสารอาหารบางชนิด
อาการของภาวะปากแห้ง
สำหรับผู้ป่วยภาวะริมฝีปากแห้ง มักมีภาวะการขาดน้ำร่วม โดยอาการจพแสดงออกที่ริมฝีปาก ให้เห็นอย่างเด่นชัด และ ภาวะปากแห้งเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ที่จะตามมาด้วย อาการของโรคปากแห้ง มีปัจจัยที่จะเกิดร่วม หรือ เป็นสาเหตุของโรคต่างๆที่แสดงอาการ ดังนี้
- รู้สึกคอแห้ง เจ็บคอ กระหายน้ำ
- รุ้สึกปากแห้ง และน้ำลายเหนียว
- มีแผลในปาก หรือ มีรอยแตกที่ริมฝีปาก
- มีอาการลิ้นแห้ง แสบลิ้น และ มีอาการลิ้นแดง
- มีอาการเสียงแหบ
- มีกลิ่นปาก
- ภายในจมูกแห้ง แสบจมูกเวลาหายใจ
การรักษาปากแห้ง
สำหรับแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง สามารถรักษาได้โดย การดูแลสุขภาพ รักษาความอบอุ่นของร่างกาย และ ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยแนวทางการรักษาริมฝีปากแห้ง มีดังนี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน
- อมลูกอม หรือ เคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายทำงานมากขึ้น
- อมน้ำแข็ง เป็นการเพิ่มน้ำในปาก เพิ่มความชุ่มชื่นภายในปาก
- ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปาก หรือ ทาวาสลีนช่วยรักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปาก
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมคาเฟอีน
- เลิกสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปากแห้ง
สำหรับอาการปากแห้ง เป็นการเตือนว่าร่างกายเกิดความผิดปรกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการปากแห้ง เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ แผลในปาก ปากอักเสบ เป็นต้น
การป้องกันภาวะริมฝีปากแห้ง
สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปากแห้ง ได้โดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- รักษาความอบอุ่นของร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เกิดการระคายเคืองต่อปาก เช่น อาหารเผ็ดหรือเค็มจัด
- กระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ด้วยการอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา กาแฟ
- ไม่สูบบุหรี่
ปากแห้ง คือ ภาวะริมฝีปากแห้ง ขาดความชุ่มชื้น เกิดจากภาวะขาดน้ำ น้ำลายน้อย ต่อมน้ำลายไม่ผลิตน้ำลาย เพื่อรักษาความชุ่มชื้นในปากอย่างปกติ ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และ ทำให้เกิดการติดเชื้อ แผลที่ริมฝีปาก อาการของปากแห้ง การรักษาปากแห้งทำอย่างไร
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก
Last Updated on May 17, 2024