โรคบาดทะยัก Tetani ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani จากสนิมเหล็ก ทำให้เกิดอาการชักแข็ง หลังแอ่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตลอดเวลา อันตรายถึงชีวิต
โรคบาดทะยัก เป็นโรคติดเชื้อพบได้ทุกที่ทั่วโลก เกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย บาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ที่พบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น มูลสัตว์ และ สนิมจากเหล็ก ซึ่งติดเชื้อผ่านบาดแผลตามร่างกาย และเชื้อโรคส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือแข็งเกร็ง แต่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้จากการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก
สาเหตุของการเกิดบาดทะยัก
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) ซึ่งพบว่าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยทาง ตะปู เข็ม หรือ กิ่งไม้ ตำร่างกาย หรือแผลไฟไหม้ แผลกดทับ สัตว์กัด ( สุนัข แมว ค้างควา หนู ) แผลเรื้อรัง แผลเบาหวาน ฟันผุ หูชั้นกลางอักเสบ ซึ่งช่องทางการที่เชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียม เตตานิ ( Clostridium Tetani ) เข้าสู่ร่างกาย มีดังนี้
- ผ่านทางแผลสด โดยส่วนใหญ่จะเป็นแผลขนาดเล็กๆแต่ลึก เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลอื่นๆ เช่น แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือแม้แต่แผลผ่าตัดก็พบได้ ถ้าระบบปลอดเชื้อของห้องผ่าตัดไม่มาตรฐาน หรือการดูแลแผลผ่าตัดที่ไม่สะอาด รวมทั้งแผลจากการถอนฟัน รักษารากฟัน ก็มีโอกาสติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน
- ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่นแผลเบาหวาน และแผลเป็นฝี
- ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย ( Tattoo )
- ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก
- จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ
- มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน
อาการของโรคบาดทะยัก
อาการของผู้ป่วยโรคบาดทะยักจะแสดงอาการที่ความผิดปรกติของระบบประสาท เช่น อาการเกร็งที่เนื้อรอบแผล เกร็งอ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ คอและหลังมีการเกร็ง ปวดตามตัว หายใจลำบาก และ อาจจะเสียชีวิตในที่สุด
ซึ่งหลังจากร่างกายได้รับเชื้อโรค จะมีระยะการฟักตัวของโรค ประมาณ 4 ถึง 21 วัน แต่โดยส่วนมากพบว่าระยะฟักตัวอยู่ที่ 10 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และ ตำแหน่งของแผล รวมถึงเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เชื้อบาดทะยักจะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง ซึ่งหลังจากระยะฟักตัว ภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรค ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคบาดทะยัก มีดังนี้
- ปวดหัว
- ปวดบริเวณกราม
- เกรงตามกล้ามเนื้อ
- ปวดตัว
- กลืนน้ำลายไม่ได้
- กล้ามเนื้อกระตุก
- มีไข้สุงและเหงื่อออก
- หัวใจเต้นเร็วและความดันโลหิตสูงขึ้น
การรักษาโรคบาดทะยัก
แนวทางการรักษาโรคบาดทะยัก สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ penicillin และการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ฉีดวัคซีน Toxoid และทำความสะอาดแผลไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ แนวทางการรักษาต่อไปนี้
- ให้ยา Tetanus Immunoglobulin และยาปฏิชีวนะ
- นำเอาเนื้อเยื่อแผลที่ตายแล้วหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกจากบาดแผล
- ให้ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อและยาระงับประสาท
- ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหากมีอาการหายใจลำบาก
- ส่วนบางรายที่รับประทานอาหารไม่ได้จะต้องใช้หลอดให้อาหารเชื่อมต่อไปยังท้องหรือการหยดสารอาหารเข้าเส้นเลือด
ส่วนใหญ่อาการของโรคบาดทะยักที่ได้รับการรักษาจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ๆ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตจากโรคบาดทะยักได้เช่นกัน
การป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก
แนวทางการป้องกันการเกิดโรคบาดทะยัก สามารถปฏิบัติได้โดยลดความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรคบาดทะยัก มีดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงที่ทำงานคลุกคลีกับสภาพแวดล้อมที่มีสนิม เช่น ช่างก่อสร้าง ช่างเหล็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักเอาไว้ก่อน
- หากต้องเดินทางไปสภานที่มีความเสียงเกิดอุบัติเหตุ ควรใช้ความระมัดระวัง
- กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ควรซีนวัคซีนป้องกันบาดทะยักตามคำสั่งของแพทย์
- หากเกิดแผลขึ้นให้ทำความสะอาดแผลให้สะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- หมั่นรักษาความสะอาดของสิ่งแวดล้อมให้สะอาดเสมอ
- จัดเก็บสิ่งของต่างๆที่เป็นอันตรายให้เข้าที่เรียบร้อย ลดการเกิดอุบัติเหตุ