ถุงน้ำดีอักเสบ ปวดท้องชายโครงด้านขวา นิ่วอุดตันท่อน้ำดี

ถุงน้ำดีอักเสบ เกิดจากนิ่วอุดตันท่อน้ำดี ทำให้ปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวา เจ็บเวลาหายใจเข้าลึกๆ อาการลามไปถึงกล้ามเนื้อหน้าท้อง หากไม่รักษาต้องตัดถุงน้ำดีทิ้ง

ถุงน้ำดีอักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรค

น้ำดี คือ น้ำที่สร้างจากตับเป็นน้ำที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเก็บน้ำดีไว้ที่ถุงน้ำดี น้ำดีจะมีหน้าที่ย่อยไขมันและย่อยอาหาร เมื่อน้ำดีในร่างกายลดลงจะก็ทำให้เกิดนิ่วที่ถุงน้ำดี

ถุงน้ำดี ( Gallbladder ) คือ อวัยวะที่ช่องท้องลักษณะเป็นถุงเล็กๆ อยู่บริเวณท้องด้านขวาใกล้ตับ สามารถจุน้ำได้ประมาณ 35 – 50 มิลลิลิตร มีหน้าที่หลักในการสำรองน้ำดีที่สร้างจากตับ เพื่อใช้ในการย่อยอาหารและไขมัน

ถุงน้ำดีอักเสบ (Choleycystitis) คือ การเกิดอาการอักเสบของถุงน้ำดี ซึ่งสาเหตุของการเกิดอักเสบของถุงน้ำดีเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำดี ทำให้ถุงน้ำดีบวม อักเสบ และเกิดอาการปวดได้ การอุดตันของน้ำดีมักมีสาเหตุมาจากนิ่วรวมไปถึงปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำดีอื่นๆ เช่น เนื้องอก เป็นต้น

ชนิดของนิ่วในท่อน้ำดี

ซึ่งนิ่วที่ท่อน้ำดีที่เราพบ นั้นพบว่ามีนิ่วอยู่ 2 ชนิด คือ นิ่วที่เกิดจากคอเรสเตอรัล cholesterol และ นิ่วที่เกิดจากเกลือ และนิ่วในถุงน้ำดีเหล่านี้สามารถหลุดและเข้าไปอุดทางเดินของน้ำดีได้ จนเป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ เพราะบวมน้ำดีจนเนื้อเยื่ออักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาการตัวเหลือง ตาเหลือง ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดของโรคถุงน้ำดีอักเสบ จะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบ โดยปัจจัยของการเกิดถุงน้ำดีอักเสบ ประกอบด้วย

  • เพศหญิง
  • การคุมกำเนิด
  • พันธุกรรม
  • เชื้อชาติ
  • ผู้สูงอายุ
  • อาหาร
  • ภาวะอ้วน
  • การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • การกินยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูงขึ้น
  • การอักเสบเรื้อรังของถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง

สาเหตุของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วไปอุดตันทางเดินของน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว โรคถุงน้ำดีอักเสบเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี และสาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี

  • สาเหตุจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้สูงประมาณ 90-95% อาจเกิดเนื่องจากก้อนนิ่วที่ไปอุดตันท่อน้ำดีจนส่งผลให้น้ำดีไหลออกจากถุงน้ำดีเข้าสู่ลำไส้ไม่ได้ ทำให้ถุงน้ำดีมีแรงดันเพิ่มขึ้นและมีการยืดขยายตัวมากขึ้นจนไปกดเบียดหลอดเลือดต่าง ๆ ที่หล่อเลี้ยงถุงน้ำดี ทำให้เยื่อบุผนังของถุงน้ำดีขาดเลือด เป็นผลให้เกิดการบาดเจ็บและเกิดการอักเสบขึ้นตามมา หรืออาจเกิดจากการระคายเคืองของสารเคมีบางชนิดอันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในถุงน้ำดี หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล ( E.coli ) เชื้อเคล็บซิลลา ( Klebsiella ) เชื้อสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus), เชื้อสเตรปโตค็อกคัส  ( Streptococcus ) เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าขาดเลือดมากขึ้นจะส่งผลทำให้เนื้อเยื่อถุงน้ำดีเน่าตายหรือเกิดการแตกทะลุของถุงน้ำดี ก่อให้การเกิดติดเชื้อรุนแรงในช่องท้องได้ด้วย
  • สาเหตุที่ไม่ใช่มาจากนิ่วในถุงน้ำดี เป็นกรณีที่พบได้เพียงส่วนน้อยประมาณ 5-10% โดยอาจเกิดจากถุงน้ำดีติดเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากเนื้องอกของถุงน้ำดีหรือของท่อน้ำดี เกิดจากท่อน้ำดีตีบตันจากสาเหตุต่าง ๆ ที่ไม่ใช่จากนิ่ว เช่น โรคไทฟอยด์ ถุงน้ำดีได้รับอุบัติเหตุและเกิดการฉีกขาด นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อจำนวนมาก ภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือเจ็บป่วยหนัก เป็นต้น

อาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ปวดตามชายโครงด้านขวาและปวดร้าวไปถึงสะบักข้างขวา เวลาหายใจเข้าลึกๆ จะปวดมากขึ้น หลังจากนั้นอาการปวดท้องจะลามไปที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง เมื่อกดจะเจ็บ มีไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน ปัสสาวะเหลือง ตัวเหลือง สามารถสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้

  • ปวดท้องบริเวณด้านขวา ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียด ปวดบีบ หรือ ปวดแบบตุบๆ อาการปวดท้องจะปวดร้าวไปที่หลังหรือบริเวณใต้สะบักด้านขวา และ อาการปวดแย่ลงเมื่อหายใจลึก ๆ
  • ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร
  • ระบมที่ท้องด้านขวา เมื่อกดท้องจะปวดมาก
  • อุจจาระออกสีเทาคล้ายดินโคลน
  • ท้องอืด
  • มีไข้สูง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เหงื่อออก
  • เบื่ออาหาร
  • ผิวและตาขาวมีสีเหลือง

การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น อาการเนื้อเยื่อตาย (Gangrene) ถุงน้ำดีทะลุ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น การผ่าตัดถุงน้ำดีอักเสบมีเทคนิคในการผ่าตัดที่แตกต่างกัน เช่น การผ่าตัดแบบส่องกล้อง และ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ในการรักษา

ป้องกันโรคถุงน้ำดีอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะถุงน้ำดีอักเสบนั้น ไม่สามารถป้องกันได้อย่างเด็ดขาด แต่สามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดนิ่วอุดตันท่อน้ำดีได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • จำกัดการกินอาหารที่มีไขมันสูง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

Last Updated on March 12, 2024