ตาบอดสี Color blindness ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ รักษาไม่ได้และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่รักษาโรคตาบอดสีได้ ตาบอดสีมีกี่ชนิด แนวทางการรักษาอย่างไร
ตาบอดสี ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Color blindness เป็นสภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีนี้เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีได้ ภาวะตาบอดสีนี้ พบในผู้ชาย 8% และผุ้หญิง 0.4%
สำหรับการมองเห็นสีของคนเรา มี 2 ส่วน คือ คลื่นแสงสีต่างๆ และ เซลล์รับรู้การเห็นสีที่จอตา โดยจอตาของคนเรานั้นมีเซลล์รับรู้การเห็นสีอยู่ 2 ชนิด คือ Rod และ Cone เรามาทำความรู้จักกับเซลล์ทั้ง 2 ชนิด
- เซลล์รูปแท่ง เราเรียกว่า รอด ( Rod ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 125 ล้านเซลล์ เซลล์จะกระจายขอบของจอตา ทำหน้าที่มองเห็นในที่สลัวๆ สำหรับคนที่จอตาเสื่อม ในจุดขอบจอตา จะทำให้เกิดโรคตาฟาง ซึ่งเซลล์รูปแท่ง ไม่ใช่ส่วนที่ทำให้มองเห็นสี
- เซลล์รูปกรวย เราเรียกว่า โคน ( Cone ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 7 ล้านเซลล์ อยู่บริเวณจอตาส่วนกลาง ทำหน้าที่สำหรับการมองเห็นในที่สว่าง หากจอตาส่วนกลางเสื่อม จะทำให้ตามัว และเห็นสีผิดปรกติ เรียกว่า ตาฟางกลางวัน เซลล์รูปกรวย มีอยู่ 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง (Red cone) เซลล์รูปกรวยสีเขียว (Green cone) และ เซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน (Blue cone)
ความสามารถในการมองเห็นและแยกสีนั้น เซลล์รูปกรวย มีส่วนเป็นอย่างมาก
สาเหตุของโรคตาบอดสี
สาเหตุของความสามารถในการมองเห็นสีผิดปรกติ เกิดจากการถูกกระตุ้นเซลล์รับรู้การเห็นสี ทั้งแบบแท่งและแบบกรวย รวมถึงเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ สามารถพบได้ร้อยละ 8 ของผู้ป่วย และพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้
- ภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
- บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
- สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ
ตาบอดสีมีกี่ชนิด
เราสามารถแบ่งชนิดของภาวะตาบอดสีได้ 2 ชนิด คือ ตาบอดสีเกิดขึ้นตั้งแต่เกิด และ ตาบอดสีเกิดขึ้นเมื่อภายหลังกำเนิด โรคตาบอดสีสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- ตาบอดแต่กำเนิด เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูก เป็นการถ่ายทอดมากับ โครโมโซม เอ็กซ์ (X chromosome) แม่เป็นพาหะของการเกิดโรคตาบอดสี ตาบอดสีโดยกำเนิด นั้น เราสมารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นสีเดียว กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด และ กลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ชนิด
- กลุ่มเห็นสีเดียว เรียก Monochromatism เกิดจาการ ไม่มีเซลล์รูปกรวย หรือ มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมองเห็นเพียงสีขาวดำ สายตามัวมากจนมองไม่เห็นสี สู้แสงไม่ได้
- กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด เรียก Dichromatism หากไม่มีเซล์รูปกรวยสีแดง เรียก ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) หากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียก ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และหากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียก ตาบอดสีน้ำเงิน ( Tritanopia )
- กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด เรียก Trichromatism เป็นกลุ่มของคนตาบอดสีที่พบได้มากที่สุด เกิดจากการพร่องของเซลล์รูปกรวยในบางสี หรือ ทั้งสามสี
- ตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง เป็นความผิดปกติของการมองเห็นสี เกิดโรคที่จอตา หรือ ประสาทตา รวมถึงสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็น ซึ่งเกิดจากมีการสูญเสียเซลล์รูปกรวยชนิดต่างๆ จากการศึกษาพบว่า หากตาบอดสีจาก โรคจอตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีน้ำเงิน และ สีเหลือง และ หากเกิดตาบอดสีจาก โรคประสาทตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีแดง และ สีเขียว
การมองเห็นสีผิดปกติ นอกจากเห็นสีผิดไปแล้วมักจะมี สายตา หรือ ลานสายตา ผิดปกติด้วย ความผิดปกติของการเห็นสีของตา 2 ข้างไม่เท่ากัน
เมื่อตาบอดสีต้องทำอย่างไร
หากเราพบเป็นภาวะตาบอดสี จะต้องปรับตัว ในการเรียนรู็การใช้สีต่างๆในชีวิต การเลือกวิชาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาวะตาบอดสี หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาให้เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เราควรแจ้งให้คนรอบข้างทราบถึงสภาวะตาบอดสีของเราให้เขาทราบเพื่อจะได้ให้คนรอบข้างปรับตัวเข้ากับเรา
เมื่อคนในครอบครัว เกิดความผิดปกติในการเห็นสี ควรรีบพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ และเพื่อการปรับตัว เรียนรู้ในการใช้สีในชีวิตประจำวัน การเลือกอาชีพสำหรับคนตาบอดสี ต้องเลือกอาชีพที่สีไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ควรแจ้งให้คนในครอบครัวและที่ทำงาน รวมถึงคนรอบข้างทราบ ว่าเรามีภาวะตาบอดสี
สำหรับคนทั่วไป ไม่เฉพาะคนที่มีภาวะตาบอดสี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี หรือ ตามคำแนะนำของแพทย์
สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้
![]() |
![]() |
![]() ผักกระเดียง |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ตาบอดสี ( Color blindness ) คือ ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีรักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีได้ ตาบอดสี พบในผู้ชาย 8% และผู้หญิง 0.4% สภาวะตาบอดสี โรคเกี่ยวกับตา ตาบอดสีเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไรว่าตาบอดสี ตาบอดสีต้องทำอย่างไร ตาบอดสีมีกี่ชนิด โรคตา โรคตาบอดสี โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับการมองเห็น