ซาร์ส SARS ไข้หวัดมรณะ โรคติดต่อจากเชื้อไวรัส ทำให้ปอดอักเสบ

ซาร์ส ( SARS ) หรือ ไข้หวัดมรณะ ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ โคโรนาไวรัส และ พาราไมโซไวรัส ทำให้ปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง รักษาอย่างไรซาร์ส SARS ไข้หวัดมรณะ โรคติดต่อ

โรคไข้หวัดมรณะ เราเรียกโรคนี้ว่า ซาร์ส ( SARS ) ซึ่งมาจากคำว่า Severe acute respiratory distress syndrome เป็นภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง เป็นโรคที่อุบัติใหม่ โดยพบว่ามีการติดเชื้อครั้งแรงที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2545 จากนั้นจึงมีการระบาดไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ในการระบาดอย่างหนังในช่วงเวลานั้นสามารถสามารถหยุดได้ในปีต่อ

สถานการณ์โรคซาร์สในปัจจุบัน

องค์การอนามัยโลกได้ประกาศการสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส ในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 แต่ยังพบว่ามีการติดเชื้อโรคซาร์สอีกครั้งในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาที่ไต้หวันและสิงคโปร์ แต่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ.2547 เกิดการแพร่ระบาดเข้าไปในชุมชนที่ประเทศจีน ซึ่งทางรัฐบาลจีนจึงได้ออกมาตรการห้ามจำหน่าย และ บริโภคเนื้อชะมด และให้ทำลายชะมดกว่า 10,000 ตัว ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่พบมีการกลับมาแพร่ระบาดของโรคซาร์สอีก

มาตรการควบคุมการระบาดของโรคซาร์ส

เนื่องจากโรคระบาดทางการหายใจเป็นภาวะที่ระบาดของเชื้อโรคอย่างรวดเร็ว การควบคุมการระบาดของโรคซาร์สจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการลดการระบาด ซึ่งแนวทางการป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้

  • ต้องแจ้งสถานการณ์การระบาดของโรค และ ให้ความรู้ความเข้าใจต่อประชาชนในพื้นที่มีการระบาดของโรค
  • หากพบว่ามีคนที่ติดเชื้อโรคจำเป็นต้องสืบสวนเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ กลุ่มคนใกล้ชิดที่มีความเสี่ยง รวมถึงสถานที่ต่างๆที่ผู้ป่วยมีการสัมผัส เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  • ต้องคัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากกลุ่มคน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค

สาเหตุของโรคซาร์ส

โรคซาร์สเกิดจากร่างกายมนุษย์ติดเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ  ไวรัสในกลุ่ม โคโรนาไวรัส และ ไวรัสในกลุ่ม พาราไมโซไวรัส ซึ่งไวรัสเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ คล้ายอาการของโรคหวัด ซึ่งการแพร์เชื้อและติดต่อของโรคเกิดจากการสัมผัสเชื้อโรคจากคนทีมีเชื้อโรคจากการไอ จาม หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ การแพร่กระจายจะเร็วมากจากการสูดดมหรือสัมผัสระอองสารคัดหลั่งจากการไอจาม

อาการของผู้ป่วยโรคซาร์ส

เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะการฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน เมื่อถึงระยะแสดงอาการผู้ป่วยจะมีไข้สูงมาก หนาวสั่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร บางคนอาจมีถ่ายอุจจาระเหลว หลังจากนั้นจะมีอาการไอแห้งๆแบบไม่มีเสมหะ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก และหากตรวจดูระดับออกซิเจนในเลือดก็จะพบว่ามีค่าลดลง (Hypoxemia) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง  คือ เกิดภาวะหายใจล้มเหลว ซึ่งอันตรายอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซาร์ส

โรคซาร์สเป็นภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และไม่มียารักษาโรค ซี่งร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้เองโดยต้องอาศัยเวลาในการปรับตัวของร่างกาย แต่สิ่งสำคัญคือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งจะทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้นจนยากที่จะรักษา ซึ่งภาวะแทรกแซงที่ต้องระวังมีดังนี้

  • ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ( Hypoxia ) ระบบการหายใจมีหน้าที่เพิ่มออกซิเจนในเลือด เมื่อเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจทำให้ประสิทธิภาพของปอดลดลง ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายทั้งหมด
  • ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ( Acute respiratory distress syndrome : ARDS ) เมื่อระบบการทำงานประสิทธิภาพลดลง ทำให้การหยุดหายใจอย่างกระทันหัน

การรักษาโรคซาร์ส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคซาร์ส ( SARS ) ปัจจุบันยังไม่มียารักษา การรักษาโรคใช้วิธีการประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น การให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ให้น้ำเกลือ ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น และให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นและรักษาร่างกาย แนวทางต่างๆควรดำเนินการ ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแยกผู้ป่วยอย่างรัดกุม
  • ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ต้องแยกตัวอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาดต่อคนอื่นๆ โดยให้แยกกลุ่มเสี่ยงออกจากพื้นที่ เช่น เด็กอ่อน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นอย่างเคร่งครัด เช่น การใส่ผ้าปิดปากปิดจมูก ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมถึงแก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม และแยกทำความสะอาด แยกรับประทาน ส่วนขยะที่เกิดจากผู้ป่วยควรแยกถุงและแยกทิ้งแบบเป็นขยะติดเชื้อ ห้ามให้ผู้ป่วยออกจากบ้าน โดยต้องหยุดงาน หยุดเรียน หยุดทำธุระต่าง ๆ รวมทั้งต้องมีการติดตามอาการและการปฏิบัติตัวจากเจ้าหน้าที่ทุกวัน เช่น การโทรศัพท์สอบถาม

การป้องกันโรคไข้หวัดมรณะSARS )

สำหรับโรคซาร์ส เป็นภาวะการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ และไม่มียารักษาโรค ถึงแม้ว่าร่างกายจะสามารถสร้างภูมิต้านทานโรคได้เอง็ตาม แต่ภาวะการติดเชื้อหากร่างกายอ่อนแอก็เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ แนวทางการป้องกันโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการลดความสี่ยงการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  1. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์สจะต้องมีการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มงวด
  2. แพทย์และพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยซาร์สจะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เช่น สวมถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ ใส่แว่นตาป้องกันการติดเชื้อ หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคซาร์ส
  4. ดูแลสุขภาพร่างกายทั่วไปให้แข็งแรง โดยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. งดการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม