ชมจันทร์ Moonflower สมุนไพร นิยมทานดอกเป็นผักสด สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสมอง บำรุงเลือด ขับปัสสาวะ ดอกชมจันทร์เป็นอย่างไร
ชมจันทร์ ภาษาอังกฤษ เรียก Moonflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของชมจันทร์ คือ Ipomoea alba L. สำหรับชื่เรียกอื่นๆของชมจันทร์ เช่น เครือเถาเมื่อย เถาเอ็น ขยุ้มตีนหมา ผักบุ้งเล คอนสวรรค์ สนก้างปลา จิงจ้อขาว จิงจ้อเหลือง จิงจ้อแดง เป็นต้น ต้นชมจันทร มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกชมจันทร์เพื่อใช้เป็นอาหาร ดอกชมจันทร์สามารถใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด เดี๋ยวนี้ตามร้านอาหารก็นำดอกชมจันทร์มาเป็นเมนูอาหารกันมากขึ้น
ดอกชมจันทร์มีความสวยงาม ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสีขาว มีกลิ่นหอมจะบานในเวลากลางคืนตั้งแต่ช่วงประมาณหัวค่ำ สามารถปลูกชมจันทร์ เพื่อใช้เป็นไม้ประดับได้
ประโยชน์ของชมจันทร์
ดอกชมจันทร์สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้ โดยใช้ดอกตูมนำมาทำอาหาร เช่น ผัดน้ำมันหอย หรือ ลวกจิ้มกับน้ำพริก ดอกชมจันทร์มีไขมันต่ำมาก สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัสและและวิตามินต่างๆ มากมาย
ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืน และกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก จากผลการวิเคราะห์พบสรรพคุณดอกชมจันทร์ ดังนี้
- ดอกชมจันทร์ เป็นผักที่ไขมันต่ำและมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
- ดอกชมจันทร์ มีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ดอกชมจันทร์ มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ขณะที่เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ จึงช่วยให้หลับสบาย
ลักษณะของต้นชมจันทร์
ชมจันทร์เป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ ลักษณะของต้นชมจันทร์ มีดังนี้
- ลำต้นชมจันทร์ ลักษณะเป็นเถา ไม่มีขน ลำต้นมียางใส สีเขียว
- ใบชมจันทร์ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบคล้ายรูปหัวใจ กว้าง 5-13 เซนติเมตร ยาว 8-17 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าลึก ก้านใบเรียว ยาว 5-18 เซนติเมตร
- ดอกชมจันทร์ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม บานตอนเช้าและพลบค่ำ
คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์
สำหรับการบริโภคชมจันทร์เป็นอาหารนิยมบริโภคดอกตูมของชมจันทร์ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 34.91 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม แคลเซียม 22.74 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34.42 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.25 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 0.09 มิลลิกรัม วิตามินเอ 136.11 มิลลิกรัม โคเอนไซม์คิว 0.28 มิลลิกรัมมีสารต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณของต้นชมจันทร์
สรรพคุณของชมจันทร์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคใช้ประโยชน์จากดอกของชมจันทร์ ซึ่งดอกชมจันทร์ มีสรรพคุณ เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ เป็นยาระบายอ่อนๆ มีไขมันต่ำ วิตามินบี ช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้ความจำดี และวิตามินซีในดอกชมจันทร์ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ใช้เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และป้องกันมะเร็ง ดอกชมจันทร์ สามารถใช้ แก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร ส่วน เกสรของดอกชมจันทร์ สามารถช่วยบำรุงระบบประสาท ทำให้ผ่อนคลาย มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ
โทษของชมจันทร์
สำหรับการใช้ประโยชน์จากชมจันทร์ มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้
- ดอกชมจันทร์มีฤทธิ์เป็นยาเย็น สำหรับคนที่มีภาวะร่างกายเย็น ไม่ควรบริโภคชมจันทร์ติดต่อกันในปริมาณมากๆ
- ดอกชมจันทร์มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับคนที่มีภาวะท้องเสีย ไม่ควรบริโภคดอกชมจันทร์มากๆ
ต้นชมจันทร์ เป็นพืชที่ปลูกได้ไม่ยาก เจริญเติบโตง่าย แถมยังมีแมลงมารบกวนน้อยมาก จึงไม่ต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีใดๆ เลยก็ได้ ทำให้ไม่ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านไหนก็รู้สึกถึงได้ความปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสมุนไพรป้องกันและรักษาโรคต่างๆ นั้น ดอกชมจันทร์สามารถให้สรรพคุณและประโยชน์ที่เต็มร้อยแน่นอน
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Last Updated on May 20, 2024