จอประสาทตาลอก ( Retina detachment ) เกิดรอยฉีกขาด การดึงรั้งของผังผืดจอประสาทตาทำให้น้ำเซาะจนจอประสาทหลุดลอก ทำให้มองเห็นแสงแฟลช มองเห็นจุดสีดำ สายตาพล่ามัว
จอประสาทตาลอก โรคเกี่ยวกับตา ภาษาอังกฤษ เรียก Retina detachment สาเหตุของจอประสาทตาลอก เกิดจากรู เกิดรอยฉีกขาด เกิดการดึงรั้งของผังผืด เกิดการอักเสบ จึงทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทหลุดลอก จอประสาทตาลอก
จอตาลอก หรือ จอตาหลุดลอก คือ ภาวะการแยกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม ซึ่งการลอกของจอประสาทตาทำให้เกิดอาการเห็นแสงเหมือนฟ้าแลบหรือแสงแฟลช มองเห็นจุดดำ คล้ายหยักไย่ ร่วมถึงอาหารสายตาพล่ามัว มักเกิดจากสาเหตุของการเสื่อมของดวงตาตามอายุ โดยเฉพาะคนที่อายุ 50 ปี ขึ้นไป
สาเหตุของจอประสาทตาลอก
สำหรับ สาเหตุของจอประสาทตาลอก เราแบ่งได้ 3 ชนิด โดยรายละเอียด ประกอบด้วย
- จอประสาทตาลอกจากรู หรือ รอยฉีกขาดที่จอประสาทตา ( rhegmatogenous retinal detachment ) มักเกิดจากอุบัติเหตุทำให้มีการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงที่ดวงตา เกิดอาการจอประสาทตาเสื่อมในคนที่มีสายตาสั้น
- จอประสาทตาลอกจากการดึงรั้ง ( tractional retinal detachment ) เกิดจากพังผืดที่จอประสาทตาดึงรั้งหรือจอประสาทตาหลุดลอกจากน้ำในวุ้นตาทำให้หลุด
- จอประสาทตาลอกแบบไม่มีรูขาดที่จอตา ( Exudative ) การอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ส่งผลให้มีน้ำรั่วซึมและขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในคนที่มีเนื้องอกที่จอประสาทตา ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าปรกติ หรือภาวะไตวาย เป็นต้น
บุคคลที่มีความเสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตาลอก คือ คนสายตาสั้นมาก คนที่เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน พันธุกรรม คนที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจก คนที่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลอกของประสาทตา
เราสามารถแยกถึงปัจจัยของการเกิดการลอกของประสาทตา ได้ดังนี้
- อายุที่มากขึ้น เกิดการเสื่อมของตา โดยเกิดน้ำวุ้นลูกตาด้านหลังเสื่อมตามอายุ โดยเกิดการหดตัวและลอกของจอตา
- คนที่มีสายตาสั้นมาก คนที่สายตาสั้นมากจะมีอาการเสื่อมของน้ำวุ้นลูกตา จนเกิดการฉีกขาดของจอประสาทตาได้ง่าย
- คนที่เคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตามาก่อนแล้ว
- คนที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติการลอกของจอประสาทตา
- อาการติดเชื้อหรืออักเสบของลูกตา
- การเกิดเนื้องอกภายในลูกตา
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคจอประสาทตาเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
- การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง
อาการของจอประสาทตาลอก
สำหรับอาการของจอประสาทตาลอก คือ มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มองเห็นแสงคล้ายแสงแฟรช มองเห็นภาพบางส่วนไม่ครบ เป็นต้น โดยเราสามารถแยกรายละเอียดเป้นข้อๆ ได้ดังนี้
- มองเห็นแสงแฟลชหรือแสงฟ้าแลบ
- ลักษณะในการมองเห็นเหมือนมีสิ่งปิดบังอยู่
- มองเห็นจุดสีดำ หรือ ภาพใยแมงมุม
- การมองเห็นไม่มีประสิทธิภาพ ลักษณะพล่ามัว
การรักษาจอประสาทตาลอก
สำหรับ การรักษาจอประสาทตาลอก นั้นสามารถทำได้โดยการยิงเลเซอร์บริเวณรอยขาด หากพบมีการลอกขาดของจอประสาทตาแล้ว แพทย์จพรักษาโดยฉีดก๊าซเข้าไปในตา จากนั้นทำการการผ่าตัดหนุนจอประสาทตาและผ่าตัดน้ำวุ้นในตา ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ
- การรักษาจอประสาทตาลอกในกรณีที่ จอประสาทตาฉีกขาด สามารถรักษาด้วยการใช้แสงเลเซอร์ยิงเพื่อปิดรูที่ฉีกขาด หรือ ใช้วิธีจี้ด้วยความเย็น ( Cryotherapy ) รอบ ๆ รอยฉีกขาดของจอประสาทตา
- การผ่าตัดจอประสาทตาลอก มีวิธีการผ่าตัดอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยรายละเอียดการผ่าตัดมีดังนี้
- การฉีดก๊าซเข้าไปในตา เรียกPneumatic retinopexy ใช้การฉีดก๊าซเข้าไปในช่องน้ำวุ้นลูกตาเพื่อดันให้จอประสาทตาที่หลุดลอกกลับเข้าไปติดที่เดิม
- การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา เรียก Scleral buckling ใช้ยางเพื่อหนุนตาขาวให้เข้าไปติดจอประสาทตาที่หลุดลอก
- การผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา เรียก Pars plana vitrectomy เป็นการตัดน้ำวุ้นลูกตาที่ดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉีกขาดออก
การป้องกันการลอกของจอประสาทตา
- จากปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น หากท่านมีอาการผิดปรกติ ให้เข้ารับการตรวจดวงตาอย่างละเอียด เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
- หากมีอาการมองเห็นแสงไฟคล้ายฟ้าแลบ หรือ เห็นเหมือนแสงแฟลช อาจเป็นสัญญาณเตือนภาวะจอประสาทตาลอก ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจจอประสาทตาทันที
- ระมัดระวังการเกิดอุบัตติเหตุการกระแทกกับดวงตาอย่างรุนแรง
สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จอประสาทตาลอก ( Retina detachment ) คือ ภาวพจอประสาทตาลอกเกิดรู เกิดรอยฉีกขาด เมื่อเกิดการดึงรั้งของผังผืด หรือ เกิดการอักเสบ จะทำให้มีน้ำเซาะจนทำให้จอประสาทหลุดลอก ส่งผลให้เกิดอาการมองเห็นแสงแฟลช เหมือนมีสิ่งปิดบังอยู่ มองเห็นจุดสีดำ สายตาพล่ามัว โรคตา วิธีรักษาจอประสาทตาลอก อาการจอประสาทตาลอกเป็นอย่างไร สาเหตุ อาการ การรักษา โรคจอประสาทตาลอก จอตาลอก โรคตา โรคเกี่ยวกับตา รักษาตา