กระเจี๊ยบแดง สมุนไพรยอดนิยม สรรพคุณเป็นอย่างไร

กระเจี๊ยบแดง สมุนไพร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมาเป็นอาหารรับประทาน และ ทำเครื่องดื่ม ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร สรรพคุณและโทษมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบแดง สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบแดง ภาษาอังกฤษ์ เรียก Roselle ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบแดง เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว เป็นต้น

ต้นกระเจียบ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย แถบประเทศซูดาน อินเดีย มาเลเซีย และ ประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีแหล่งผลิตกระเจี๊ยบที่สำคัญ โดยพื้นที่ที่ปลูกกระเจี๊ยบจำนวนมาก เช่น ลพบุรี สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรี และ ฉะเชิงเทรา เป็นต้น กระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น เพียงแค่ปีเดียว นิยมปลูกสำหรับนำดอกมาใช้ประโยชน์หลัก ได้แก่ นำดอกมาต้มเป็นน้ำกระเจี๊ยบ ส่วนอื่นๆรองลงมา ได้แก่ ใบ และยอดอ่อนนำมาปรุงอาหาร สีของดอกใช้เป็นสีผสมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น เรานำเอาส่วนยอดใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ของกระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์แบบสดๆ ส่วนกลีบเลี้ยง ใบ เมล็ด สามารถนำมาตากแห้งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง

นิยมนำดอกกระเจี๊ยบมาทำเครื่องดื่ม น้ำกระเจี๊ยบ ช่วยบำรุงกำลัง แต่ ใบอ่อนของกระเจี๊ยบ สามารถรับประทานเป็นผักได้ รสเปรี้ยว วิตามินเอสูง สามารถนำดอกกระเจี๊ยบมาเป็นวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเจี๊ยบแดงอบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล สีผสมอาหาร แยม เยลลี่ เบเกอรี ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส เป็นต้น นอกจากนั้นกระเจี๊ยยังเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ เช่น โลชัน ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว เป็นต้น ลำต้นกระเจี๊ยบยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอได้

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดง

การรับประทานกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกกระเจี๊ยบขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 49 กิโลแคลอรี

โดยพบกระเจี๊ยบมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

กระเจี๊ยบ มีสารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) และ สารโพลีฟีนอล ได้แก่ Protocatechuic Acid ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอความแก่ และ ช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนิ่ม

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง

ต้นกระเจี๊ยบ เป็นพืชล้มลุก พรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก อายุ 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ชอบดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบแดง มีดังนี้

  • ลำต้นของกระเจี๊ยบสูงประมาณ  2 เมตร กิ่งก้านของกระเจี๊ยบจะมีสีสีม่วงอมแดง
  • ใบของกระเจี๊ยบ ขอบใบจะเว้าลึก หยัก เป็นรูปวงรี แหลม
  • ดอกของกระเจี๊ยบ เป็นสีสีชมพู  ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะแหลม มีสีแดงเข้ม
  • เมล็ดของกระเจี๊ยบ เป็นสีน้ำตาล

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

สำหรับการนำเอากระเจี๊ยบมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร และ การรักษาโรค เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์จาก ยอด ใบ เมล็ด ดอก โดยรายละเอียดของสรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • เมล็ดของกระเจี๊ยบ สามารถช่วยลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด เป็นยาระบายอ่อนๆ เมล็ดของกระเจี๊ยบสามารถ นำมาบดเป็นผงผสมน้ำกินได้
  • ยอดและใบของกระเจี๊ยบ สามารถใช้ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและเป็นยาระบาย  นำมาตำพอกฝี ล้างแผล
  • ดอกกระเจี๊ยบ นำมาต้มชงน้ำดื่ม ช่วยให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ

โทษของกระเจี๊ยบแดง

สำหรับการรับประทานกระเจี๊ยบเป็นอาหาร หรือใช้เป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสียอยู่ ไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบ เนื่องจากน้ำกระเจี๊ยบมีสรรพคุณเป็นยาระบาย
  • น้ำกระเจี๊ยบ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ไม่ควรดื่มน้ำกระเจี๊ยบเข้มข้นในปริมาณมากและติดต่อกันนาน ๆ เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ
โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม