กระทือ สมุนไพรไม้ประดับ กินได้ พืชท้องถิ่นสารพัดประโยชน์

ต้นกระทือ พืชท้องถิ่น สมุนไพรไม้ประดับ นำมารับประทานได้ สรรพคุณของกระทือ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ บำรุงน้ำนม ขับน้ำคาวปลา โทษของกระทือเป็นอย่างไร

กระทือ สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของกระทือ

ต้นกระทือ( Shampoo Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ ingiber zerumbet Smith. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระทือ เช่น หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน เฮียงแดง เป็นต้น กระทือ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่น พืชตระกูลขิงและข่า สามารถนำมาทำเป็นไม้ประดับได้ สามารถนำมารับประทานเหง้าของกระทือได้ สรรพคุณของกระทือ เช่น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม

ประโยชน์ของกระทือ

ส่วนใหญ่แล้วนิยมปลูกกระทือเป็นไม้ประดับ  แต่สามารถรับประทานกระทือเป็นอาหารได้ โดยหน่ออ่อน ใช้รับประทานสดหรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ส่วนใบกระทือนำมาใช้ห่อข้าว ห่อของ ห่อปิ้งอาหาร ลำต้นนำมาทำเป็นเชือกรัดของได้ และที่สำคัญน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระทือ มีประโยชน์ใช้ฆ่าตัวอ่อนของแมลงและลูกน้ำ สามารถลดการวางไข่ของด้วงถั่วเขียวได้

ลักษณะของต้นกระทือ

ต้นกระทือ เป็นพืชล้มลุก อายุข้ามปี ลักษณะคล้ายต้นขิง ต้นข่า มีหัว หรือ เหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และ มีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า ลักษณะของต้นกระทือ มีดังนี้

  • ลำต้นกระทือ ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ลำต้นเหนือดิน และ ลำต้นใต้ดิน โดยลำต้นเหนือดิน เป็นไม้เนื้ออ่อน มีแกนเป็นเส้นใยในแนวตั้งตรง มีลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม ส่วนลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า หรือ หัว ลักษณะกลมมีรากแขนงแทงลึกลงดิน เหง้าอ่อนมีกาบหุ้มหน่อสีม่วง เนื้อเหง้ามีสีขาว
  • ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
  • ดอกกระทือ ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา (รูปแรกด้านบนสุด) ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง (รูปที่ 1 ด้านล่าง) มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ (รูปที่ 2 ด้านล่าง) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน
  • ผลกระทือ ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่

การปลูกกระทือ

ต้นกระทือ ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ การปลูกกระทือนั้นนิยมขุดเหง้าจากเหง้าแม่ แล้วนำปลูกลงแปลง ซึ่งดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกระทือ ควรเป็น ดินเหนียวปนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ควรปลูกใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นตลอด เช่น ข้างบริเวณล้างจาน หรือ หลังห้องน้ำ เป็นต้น

สรรพคุณของกระทือ

การนำเอากระทือ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคนั้น สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ลำต้น ดอก ใบ และเหง้า โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • เหง้ากระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย บำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน บำรุงน้ำนม ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม แก้โรคบิด ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลฝี
  • รากกระทือ สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยขับปัสสาวะ และ แก้อาการเคล็ดขัดยอก
  • ลำต้นกระทือ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดไข้ และ บรรเทาอาการไอ
  • ใบกระทือ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ดอกกระทือ สรรพคุณช่วยลดไช้ ช่วยขับลม และ บำรุงร่างกาย

โทษของกระทือ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้

โรคน่ารู้
ปัจจัยของการเกิดโรคต่างๆนั้น บางปัจจัยสามารถมองเห็นได้ แต่บางปัจจัยก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปัจจัยการเกิดโรคมาจาก 3 ส่วน คือ มนุษย์ สิ่งแวดล้อม และ เชื้อโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตผิดปรกติ
ไวรัสโคโลน่า โรคปอดอักเสบ โรคทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อ
โรคไวรัสโคโลน่า
โรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์
โรคกระดูกพรุน โรคข้อและกระดูก โรคไม่ติดต่อ โรคผู้สูงอายุ
 โรคกระดูกพรุน
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ โรคไม่ติดต่อ โรคกระดูก
 โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคเก๊าท์ อาการโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก รักษาเก๊าท์
 โรคเก๊าท์
ข้อเสื่อม โรต โรคข้อกระดูก
โรคข้อเสื่อม