ต้นกระทือ ( Shampoo Ginger ) สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของกระทือ เช่น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม
ต้นกระทือ ( Shampoo Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระทือ คือ ingiber zerumbet Smith. สมุนไพร พืชท้องถิ่น ใช้เป็นไม้ประดับ สามารถนำมารับประทาน สมุนไพรไทย ตระกูลขิงและข่า สรรพคุณของกระทือ เช่น แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม
กระทือ เป็น สมุนไพรไทย ตระกูลเดียวกันกับพวกขิงและข่า โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากอินเดีย และได้รับการแพร่กระจายมายังทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทย สรรพคุณของกระทือ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร ขับประจำเดือน ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม กระทือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ingiber zerumbet Smith. ชื่ออื่นๆ ของกระทือ เช่น หัวทือ กระทือป่า แฮวดำ กะแวน เฮียงแดง ชื่อเรียกของกระทือจะแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น
ลักษณะของต้นกระทือ
- ต้นกระทือ นั้นเป็น พรรณไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน สีขาวอมเหลือง ใบเรียวยาว สีเขียวแก่ ดอกเป็นช่อ ช่อก้านดอกยาว ปลายดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดง การขยายพันธุ์ของกระทือ ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ กระทือเป็นพืชที่ชอบดินร่วน
- ใบกระทือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบและแผ่นใบเรียบ ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ใบกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ที่ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
- ดอกกระทือ ออกดอกเป็นช่อแทงออกมาจากเหง้าขึ้นมา (รูปแรกด้านบนสุด) ลักษณะของช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกสีขาวนวลออกเหลือง (รูปที่ 1 ด้านล่าง) มีใบประดับขนาดใหญ่สีเขียวแกมแดงเรียงซ้อนกันหนาแน่นและเป็นระเบียบ (รูปที่ 2 ด้านล่าง) โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน
- ผลกระทือ ผลมีลักษณะเป็นเมล็ดสีดำ ผลค่อนข้างกลม ผลแห้งแตก ติดอยู่ในประดับ และมีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ดอยู่
สรรพคุณของกระทือ
การนำเอากระทือ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคนั้น สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ลำต้น ดอก ใบ และเหง้า โดยรายละเอียดมีดังนี้
- ลำต้นของกระทือ ใช้เป็นยาแก้เบื่ออาหาร ช่วยเจริญอาหาร
- ใบของกระทือ สามารถใช้ขับเลือดเน่า ช่วยขับประจำเดือน
- ดอกของกระทือ สามารถนำมาเป็นยาแก้ไข้ คนผอมแห้ง ต้มน้ำดอกกระทือดื่มช่วยเจริญอาหาร
- เหง้าของกระทือ สามารถใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด ลดอาการปวดท้อง บำรุงธาตุ ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงน้ำนม
ประโยชน์กระทือ
กระทือ นั้น นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง ประกอบด้วย
- เป็นไม้ประดับ ลักษณะดอกของกระทือ มีความสวยงามแปลกตา นิยมนำดอกกระทือปักแจกัญประดับตามห้องรับแขก
- หน่ออ่อนของกระทือ สามารถนำมารับประทานได้ ซึ่งนิยมรับประทานทั้งสดๆ และ ลวก ทากับน้ำจิ้ม ส่วนหน่อแก่ของกระทือ นำมาต้มดับกลิ่นคาวของอาหารได้
- แกนของลำต้นกระทือ สามารถรับประทานได้
- ใบกระทือ นิยมนำมาใช้ห่ออาหาร
- ลำต้นของกระทือนำมากรีดเป็นเส้นตากแห้ง ใช้ทำเป้นเชือกได้
- น้ำมันหอมระเหย ที่ได้จากดอกกระทือ ใช้ทำย่าฆ่าแมลงและลูกน้ำได้
โทษของกระทือ
สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระทือ เนื้อจากกระทือมีรสเผ็ดร้อน จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้
การปลูกกระทือ
ต้นกระทือ ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติ การขยายพันธุ์ใช้การแตกหน่อ การปลูกกระทือนั้นนิยมขุดเหง้าจากเหง้าแม่ แล้วนำปลูกลงแปลง ซึ่งดินที่เหมาะสำหรับการปลูกกระทือ ควรเป็น ดินเหนียวปนทราย หรือ ดินร่วนปนทราย ควรปลูกใกล้กับบริเวณที่มีความชื้นตลอด เช่น ข้างบริเวณล้างจาน หรือ หลังห้องน้ำ เป็นต้น
ต้นกระทือ เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ต่อมาภายหลังได้แพร่กระจายมายังทวีปเอเชียรวมถึงประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นอยู่เหนือดินสูงราว 0.9-1.5 เมตร และมีเหง้าอยู่ใต้ดินเรียกว่า “เหง้ากระทือ” หรือ “หัวกระทือ” เปลือกนอกของเหง้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม มีรสขม ขื่น ปร่า และเผ็ดเล็กน้อย ต้นจะโทรมในหน้าแล้งแล้วจะงอกขึ้นใหม่ในหน้าฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าหรือที่เรียกว่าหัว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ในที่ที่มีความชื้นพอสมควร และมีแสงแดดส่องตลอดวัน พบขึ้นมากทางภาคใต้ ตามป่าดงดิบ ริมลำธารหรือชายป่า
Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา
Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma. The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.
Last Updated on March 26, 2024