ไข้เลือดออก DHF การติดเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีผื่นแดงตามผิวหนัง หากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อกและเสียชีวิต

โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ โรคต่างๆ

โรคไข้เลือดออก ( Dengue hemorrhagic fever ) คือ โรคติดเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหนะนำโรค พบโรคนี้มากในประเทศเขตร้อนชื้น โรคไข้เลือดออก สามารถเรียกย่อๆ ว่า DHF  ลักษณะอาการคล้ายไข้ไหวัดทั่วไปในระยะแรก แต่อาการจะมีความรุนแรงมากขึ้น และหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ ไวรัสแดงกี่ ซึงเกิดจากยุงลายตัวเมียกัด เมื่อโดนยุงลายกัดเชื้อไวรัสแดงกีจะขยายตัวและเข้าสู่ระบบเลือดของมนุษย์ ทำให้เกิดอาการต่างๆ ซึ่งหากรักษาไม่ทันท่วงที่จะทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่แล้วไข้เลือดออกจะพบมากในเด็ก และมักเกิดมากในฤดูฝนที่เป็นช่วงเวลายุงลายขยายพันธ์ได้ง่าย

ระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคอันตรายและโอกาสการเกิดโรคง่าย ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก สามารถแบ่งให้เห็นภาพอย่างชั้ดเจนได้ 4 ระดับ คือ ระดับที่1 ระดับที่2 ระดับที่3 และ ระดับที่4 โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ มีไข้ และอาการที่สามารถสังเกตุได้อย่างเด่นชัด คือ มีจุดแดง ๆ ตามผิวหนัง แต่ยังไม่แสดงอาการอื่นๆ ในระยะนี้ เหมือนการป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดา
  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 2 ผู้ป่วยจะมีอาการ จ้ำเลือดที่ใต้ผิวหนัง มีเลือดออกจากที่อื่น ๆ ด้วย เช่น การอาเจียนเป็นเลือด การถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ในระยะนี้ ชีพจรและความดันเลือดของผู้ป่วยยังคงปรกติ
  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะมีอาการช็อก เช่น มีอาการกระสับกระส่าย มีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เต้นเร็ว ระดับความดันต่ำ เริ่มอันตรายแล้วในระยะนี้
  • ไข้เลือดออก ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการช็อกอย่างรุนแรง ชีพจรเต้นเบา ความดันต่ำมีเลือดออกมาก เช่น อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดมาก

ซึ่งระดับของความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในระดับที่ 2 ถึง 4 นั้น จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ต้องมีการจับชีพชร วัดความดันโลหิต และตรวจความเข้มข้นของเลือด และตรวจเกล็ดเลือด เป็นระยะ ๆ

อาการโรคไข้เลือดออก

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในระยะแรกจะแสดงอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ตัวร้อน เวียนหัว แต่อาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นผื่นแดง ปวดตามตัว ปวดศรีษะและปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา และ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมากกว่านี้โดยไม่รักษา อาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งระยะของอาการไข่เลือดออกมี 3 ระยะ คือ ระยะไข้สูง ระยะช็อกและมีเลือดออก และ ระยะพื้นตัว รายละเอียด มีดังนี้

  • ระยะไข้สูง ในระยะนี้ อาการของโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตาแดง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว กระหายน้ำ เบื่ออาหารและอาเจียน หลังจากนั้นในระยะ 1 ถึง 2 วัน จะเกิดอาการผิวหนังแดง บริเวณ ใบหน้า ลำคอ และ หน้าอก ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ในวันที่ 3 จะมีผื่นแดงเหมือนหัด แต่ไม่มีอาการคัน ซึ่งผื่นนี้จะขึ้นตามแขนขา และลำตัว ในผุ้ป่วยบางรายจะพบลักษณะของผื่น เป็นจ้ำเลือด จุดแดงๆ ร่วมด้วย ขึ้นตามหน้า แขน ขา ซอกรักแร้ และในช่องปาก หากอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเกิน 7 วันโดยไม่รักษา จะทำให้เข้าสู่ระยะอันตรายแล้ว คือ ระยะช็อกและมีเลือดออก
  • ระยะช็อกและมีเลือดออก ในระยะนี้ ความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับ 3 และ 4 อาการมีไข้จะลดลง แต่อาการป่วยจะหนักขึ้น ซึมมากขึ้น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันต่ำ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ภายใน 2 วัน แต่หากสามารถผ่านระยะนี้ไปได้ ก็จะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว
  • ระยะฟื้นตัว เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วง ร่างกายก็จะฟื้นเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ ผู้ป่วยจะเริ่มทานอาหารได้  ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ

การรักษาโรคไข้เลือดออก

สำหรับการรักษาโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสแดงกี่ แนวทางการรักษาโรค คือ การประคับประคองให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟู และ ประคับประคองไม่ให้เกิดอาการช็อค โดยให้ผู้ป่วยกินยาลดไข้ หมั่นเช็ดตัวรักษาอุณหภูมิร่างกาย ให้ดื่มน้ำมากๆ และ รักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานโรคและรักษาตัวเองได้ภายใน 7 วัน

สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเบื้องต้น ควรให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือ น้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ รับประทานยาลดไข้ แต่หากพบอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง ตัวเย็น และไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง ต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

สำหรับแนวทางการป้องกำจัดโรคไข้เลือดออก ต้องป้องกันที่สาเหตุขอการเกิดโรค คือ ยุงลาย ต้องป้องกันการถูกยุงลายกัด และ ลดการขยายพันธ์ของยุงลาย โดยแนวทางการป้องกันโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  • ควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและกำจัดยุงลายและลูกน้ำ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ท่อระบายน้ำ กระถางต้นไม้ เป็นต้น
  • ดูแลสภาพแวดล้อมไม้ให้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย เช่น ตัดต้นไม้ที่รกให้มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทดี ไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง
  • นอนในมุ้งหรือนอนในห้องที่ติดมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด โดยจะต้องปฏิบัติเหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
  • ควรใส่เสื้อผ้าที่หนาและควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของโรค
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ไข้เลือดออก ( DHF ) การติดเชื้อไวรัสเดงกี มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ลักษณะอาการของโรคมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว มีผื่นแดงตามผิวหนัง หากรักษาไม่ทันจะทำให้เกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไข้ไทฟอยด์ Typhoid fever ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย อาการปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องผูก อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวาโรคไทฟอยด์ โรคติดเชื้อ ติดเชื้อแบคทีเรีย

ไข้รากสาดน้อย ไข้หัวโกร๋น ไข้ไทฟอยด์ ภาษาอังกฤษ เรียก Typhoid fever เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ผุ้ป่วยจะ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และเจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การแพร่ระบาดของโรคไทฟอยด์ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อแบคทีเรีย และผู้ที่ติดเชื้อจะขับถ่ายเชื้อโรคออกมาทางอุจาระ เชื้อโรคจะเข้ากระแสเลือด โดยเข้ามาทางลำไส้ ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือม้าม

สาเหตุของการเกิดโรคไทฟอยด์

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi ซึ่งเชื้อโรคก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระ และทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนไปในอาหารรวมถึงน้ำดื่ม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การเกิดโรค

การพัฒนาด้านสุขอนามัยในปัจจุบันทำให้การเกิดดรคนี้น้อยลง แต่ในประเทศหรือสิ่งแวดล้มที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเฉพาะเรื่องอาหารและการขับถ่าย จะมีอัตราการเกิดไข้ไทฟอยด์สูง ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้ชีวิตในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ อาหารไม่สะอาดและการขับถ่ายไม่ถูกสุขอนามัย จะมีโอกาสเกิดดรคนี้สูง

อาการของโรคไทฟอยด์

สำหรับอาการของโรคไทฟอยด์ หลังจากที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 7-14 วัน ผู้ป่วยจะ เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย ปวดตามเนื้อตามตัว มีไข้สูง หลังจากนั้น จะเกิดท้องร่วง มีผื่นขึ้นตามตัว หากไม่รักษาให้ทันท่วงที จะเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร เกิดลำไส้ทะลุ ภาวะไตวาย และช่องท้องอักเสบ

การรักษาไข้ไทฟอยด์

ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ รวมถึงการคิดค้นวิจัยยาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ทำให้การรักษาไข้ไทฟอยด์นั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับยาปฎิชีวนะที่ใช้ส่วนใหญ่นั้น เป็นยาในกลุ่ม fluoroquinolones เช่น ciprofloxacin รวมถึงยาในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่สาม เช่น ceftriaxone สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่นภาวะลำไส้เล็กทะลุ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากการรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองควบคู่กันไปด้วย เช่น

  • การให้ยาลดไข้ในกรณีที่มีไข้สูง เช่น การใช้ยา paracetamol ทาน 500 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง
  • การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย
  • การดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะท้องเสีย หรืออาจเจียน
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะท้องเสียและอาเจียนที่รุนแรง อาจให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดได้

การป้องกันโรคไทฟอยด์

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคไทฟอยด์ นั้นสามารถทำได้โดยการ รักษาสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุก ซึ่งควรปฏิบัต ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย และ อาหารที่ปรุงไม่สุด
  • น้ำที่ดื่มต้องเป็นน้ำสะอาด ต้มน้ำให้สุกทุกครั้ง
  • ผัก หรือ ผลไม้ ที่จะรับประทาน ต้องล้างให้สะอาด
  • หมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการติดต่อกันระหว่างคนผ่านทางแหล่งน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องเสียได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงลดลง รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยยังลงลงอีกด้วย นอกจากนี้การรักษาสุขอนามัยส่วนตัว ถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดไข้ไทฟอยด์ที่ดีที่สุด

ไข้ไทฟอยด์ ( Typhoid fever ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค คือ ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร ท้องเดิน ท้องผูกได้ อ่อนเพลีย ริมฝีปากแห้ง และ เจ็บที่ท้องน้อยข้างขวา การรักษาไข้ไทฟอยด์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove