อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย มี 2 ชนิด อ้อยเคี้ยว อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร

อ้อย สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณอ้อย

อ้อย ( Sugar cane ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. พืชตระกลูหญ้า สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล รสหวาน ประโยชน์ของอ้อย สรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก พืชเศรษฐกิจ ใช้ทำน้ำตาล รวมถึงเป็นวัตถุดิบในการทำเอทานอล อ้อยมีสรรพคุณเด่น คือ ให้ความหวาน นิยมนมาทำเป็นเครื่องปรุงอาหารให้ความหวาน เรียกว่า น้ำตาล แต่อ้อยนั้นไม่ใช่แค่ให้วคามหวานเพียงอย่างเดียว อ้อยยังมีประโยชน์ด้านยารักษาโรค สมุนไพรไทย ด้วย เราจะมานำเสนอ เรื่อง อ้อย ว่า อ้อยเป็นอย่าไร ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย และการนำอ้อยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆ เป็นอย่างไร

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็น พืชล้มลุก การขยายพันธ์โดยการแตกกอ สามารถปลูกโดยใช้น้ำน้อย ลักษณะของต้นอ้อย มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลำต้นมีสีแดงอมม่วงความสูงของลำต้นไม่เกิน 5 เมตร ลำต้นของอ้อยจะตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นของอ้อยจะเป็นข้อปล้องจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำมากและมีความหวาน
  • ใบอ้อย มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก มีหนามเล็กๆที่ขอบใบ
  • ดอกอ้อย ออกดอกที่ปลายยอด
  • ผลเป็นผลแบบผลธัญพืช แห้งและมีขนาดเล็ก
  • รากของอ้อยนั้นอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วลำต้น โดยรากของอ้อยจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ รากของท่อนพันธุ์ และรากของหน่อ

สำหรับ อ้อยในประเทศไทย นั้น มีพันธุ์อ้อยที่นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว และอ้อยสำหรับทำน้ำตาล

  • อ้อยเคี้ยว จะมีเปลือกและชานนิ่ม ให้วความหวานปานกลาง นิยมปลูกเพื่อนำน้ำอ้อยมาดื่มสด ซึ่งพันธ์อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูก คือ อ้อยสิงคโปร์  พันธุ์มอริเชียส พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำอ้อยทั้ง 3 พันธุ์นี้จัดเป็นพวกอ้อยพันธ์ดั้งเดิม ที่ปลูกในแถบเกาะนิวกินี สามารถเคี้ยวให้ความหวานที่มากพอและไม่แข็งจนเกินไป
  • อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เป็นอ้อยที่ถูกพัฒนาสายพันธ์ ให้น้ำมาก เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกทั่วโลก มีสายพันธ์ต่างๆ มากถึง 220 พันธ์อ้อย

สรรพคุณทางสมุนไพรของอ้อย

สำหรับตำราแพทย์แผนไทยนั้น จะใช้ อ้อยเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ รักษาหนองใน ขับนิ่ว ใช้ขับเสมหะ อ้อย นั้นสามารถใช้ประโยชน์ทางยาได้ตั้งแต่ ราก และลำต้น ซึ่งรายละเอียด ดังนี้

  • รากอ้อย ใช้นำมาเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี
  • ลำต้นอ้อย ใช้นำมาช่วยรักษาแผลพุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยรักษาโรคไซนัส ช่วยแก้หืด แก้ไอ ช่วยแก้ไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยรักษาเลือดลม ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาอาการอาการอ่อนเพลีย รักษาอาการผอมแห้งหิวและหอบไม่มีเรี่ยวแรง ช่วยบำรุงโลหิตระดูของสตรี ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกของต้นอ้อย ช่วยแก้ตานขโมย รักษาโรคปากเป็นแผล

การนำอ้อยมาใช้ประโยชน์

สำหรับ ประโยชน์ของอ้อย นั้น เราสามารถแบ่งประโยชน์ของอ้อยออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ประโยชน์การใช้โดยตรงจากอ้อย และการใช้อ้อยด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรายละเอียดดังนี้

  • การใช้ประโยชน์จากอ้อยโดยตรง คือ เป็นอาหาร ให้ความหวาน เป็นอาหารสัตว์ เป็นเชื้อเพลิง ใช้เป็นวัตถุคลุมดินหรือบำรุงดิน เป็นต้น
  • การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากอ้อยนั้น จะให้ ชานอ้อย  กากตะกอน กากน้ำตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะได้น้ำตาลทรายที่เราใช้ปรุงอาหารแล้ว ชานอ้อย กากตะกอน รวมถึงกากน้ำตาล สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ชานอ้อย ใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อัดเป็นแผ่น  แผ่นกันความร้อน ใช้ผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษชนิดต่าง ๆ ใช้เป็นอาหาร ใช้ทำปุ๋ยหมัก  กากตะกอน ใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ขัดเงา ผลิตหมึกสำหรับกระดาษคาร์บอน ผลิตลิปสติก กากน้ำตาล ใช้ทำปุ๋ย ใช้เลี้ยงสัตว์ ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ทำผงชูรส ใช้ทำกรดน้ำส้ม เป็นต้น

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคน้ำอ้อยในปริมาณมาก และ ติดต่อกันนานเกินไป ทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานตามมาอีกมากมาย

อ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccharum officinarum L. อ้อย นั้นจัดเป็นพืชในตระกูลหญ้า ไผ่ สำหรับ อ้อยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง เป็นต้น อ้อย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน น้ำของต้นอ่อยมีความหวาน นำทำน้ำตาลรับประทาน นอกจากน้ำตาลแล้วอ้อยถูกนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ พลาสติก เป็นเชื้อเพลิง และอาหารสัตว์ เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกอ้อยจำนวนมาก คือ บลาซิล คิวบา และอินเดีย

การปลูกอ้อย

สำหรับ การปลูกอ้อย นั้น อ้อยจะมีการเจริญเติบโตอยู่ 4 ระยะ ประกอบด้วย

  • ระยะงอก ภาษาอังกฤษ เรียก germination phase เป็นระยะแรก คือ หน่อเริ่มโผล่พ้นดิน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14-21 วัน เป็นหน่อที่เกิดจากตาของท่อนพันธุ์ เราเรียก หน่อแรก (primary shoot)
  • ระยะแตกกอ ภาษาอังกฤษ เรียก tillering phase ในระยะนี้การแตกกอของอ้อยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์หลังปลูก และการแตกกอนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้อ้อยสามารถแตกกอได้ดี คือ ความชื้นในดิน แสง อุณหภูมิ และปุ๋ย การปลูกอ้อยในระยะการแตกกอต้อง การควบคุม น้ำ และ วัชพืช ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแตกกอให้ผลผลิตที่ดีได้
  • ระยะย่างปล้อง ภาษาอังกฤษ เรียก stalk elongation phase เมื่อปลูกอ้อยได้อายุ 4-8 เดือน อ้อยจะเข้าสู่ระยะย่างปล้อง คือ อ้อยจะมีการเพิ่มความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านระยะ 8 เดือนแล้ว การเจริญเติบโตของอ้อยจะเริ่มลดลง และเริ่มมีการสะสมน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นฃ
  • ระยะแก่และสุก ภาษาอังกฤษ เรียก maturity and ripening phase ในระยะนี้อ้อยพร้อมให้ผลผลิตแล้ว อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก การสะสมน้ำตาลนั้นจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย สามารถตัดผลผลิตไปใช้ประโยชน์

อ้อย ( Sugar cane ) สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ นำมาทำน้ำตาล ประโยชน์และสรรพคุณของอ้อย ช่วยบำรุงร่างกาย อ้อยในประเทศไทย ที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ อ้อยเคี้ยว  และ อ้อยสำหรับทำน้ำตาล ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สมุนไพรไทย ลักษณะของต้นอ้อย การปลูกอ้อย อ้อยสรรพคุณเป็นอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

บอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) พืชรสขม สมุนไพร นิยมทำยารักษาโรค สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ขับพยาธิบำรุงผิวพรรณ

บอระเพ็ด ต้นบอระเพ็ด สมุนไพร สรรพคุณของบอระเพ็ด

บอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook.f.& Thomso ชื่ออื่นของบอระเพ็ด เช่น ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เจตมูลหนาม เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด ถือไม้เลื้อย ซึ่งจะพบเห็นต้นบอระเพ็ด พันตามต้นไม้ เถาของบอระเพ็ดมีลัษณะกลมใหญ่เป็นปุ่ม มีสีเทาอมดำ รสขมจัด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบเหมือนรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ สีเขียว ดอกจะออกตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ขนาดเล็ก ผลเป็นทรงกลม สีเหลือง

สรรพคุณของบอระเพ็ด

สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล รายละเอียด ดังนี้

  • รากของบอระเพ็ด ใช้ลดไข้ ดับพิษร้อน และ ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของบอระเพ็ด ใช้ลดไข้ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุขัน บำรุงเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบของบอระเพ็ด ใช้แก้ไข้ ขับพยาธิ แก้ปวดฝี บำรุงธาตุ ลดความร้อนในร่างกาย บำรุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนัง รักษาผดผื่นคัน บำรุงเส้นเสียง ใช้รักษาเลือดคั่งในสมอง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • ดอกของบอระเพ็ด ใช้ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู
  • ผลของบอระเพ็ด ใช้ขับเสมหะ ลดไข้

เมื่อพูดถึงสมุนไพรที่มีรสขมนั้นนับได้ว่า บอระเพ็ดเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีรสขม โดยอาจจะเรียกได้ว่ามีรสชาติที่ขมที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งรสชาติที่ขมของบอระเพ็ดนั้นมีสรรพคุณเหลือหลายที่มีบอระเพ็ด สมุนไพร รสขม ที่ใช้เป็นอายุวัฒนะ ผมหงอกแก้ด้วยบอระเพ็ดะโยชน์ต่อร่างกายและมีสรรพคุณทางยาที่มากล้น จนมีคำกล่าวว่าหวานเป็นลมขมเป็นยานั่นเอง บอระเพ็ดนั้นจัดเป็นต้นไม้ประเภทเครือเถา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจะขึ้นเกี่ยวกับต้นไม้ชนิดไม้ยืนต้นเป็นหลัก

บอระเพ็ดเป็นสมุนไพรที่มีรสขม โดยรสชาติที่ขนของบอระเพ็ดนั้นมีสรรพคุณมากมายโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้บอระเพ็ดเป็นยาสมุนไพรในการช่วยให้เจริญอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งบอระเพ็ดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายโดยเฉพาะแทนนินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการต่อต้านความเสื่อมชราและชะลอความแก่ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง นอกจากบอระเพ็ดจะถูกใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบำรุงร่างกายแล้วบอระเพ็ดยังถูกนำมาใช้เพื่อบำรุงและฟื้นฟูร่างกายทางด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของความสวยความงาม เช่น หากผู้ใดที่มีปัญหาเรื่องของสุขภาพเส้นผมทั้งเส้นผมบางผมร่วงอีกทั้งยังรวมไปถึงผมหงอกก่อนวัยนั้นนับเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครหลายคนวิธีการแก้ไขง่ายๆโดยใช้สมุนไพรบอระเพ็ดรับประทานวันละ 600 มิลลิกรัม โดยรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนขึ้นไปนั้นจะช่วยทำให้ผมกลับมาดกดำไม่ร่วงง่ายและยังช่วยให้ผมที่งอกนั้นกลับมาดกดำเหมือนเดิมได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นอกจากนั้นแล้วบอระเพ็ดยังสามารถช่วยให้ผู้ที่ทานเป็นประจำจะมีร่างกายที่แข็งแรงอีกทั้งยังมีความสดชื่นอยู่เสมอ
ความคมของบอระเพ็ดนั้นสามารถช่วยในการถอนพิษไข้ได้เป็นอย่างดีจึงมีการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคใครหวัดและไอตัวร้อนรวมถึงอาการดีซ่านซึ่งสามารถรักษาได้เป็นอย่างดี แม้ในปัจจุบันนี้ผลงานวิจัยทางด้านการใช้บอระเพ็ดเป็น

สมุนไพรในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆนั้นอาจจะยังดูน้อยเนื่องจากสมุนไพรบอระเพ็ดนั้นจะไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันมากเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันนี้ในทางการแพทย์แผนไทยและเภสัชกรรมไทยได้มีการผลิตบอระเพ็ดแคปซูลเพื่อเป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายออกมาวางจำหน่ายสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการใช้สมุนไพรบำรุงร่างกายนั่นเองโดยถือได้ว่าเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจและหันมาใช้ยาสมุนไพรแทนการใช้ยาแผ่นปัจจุบันนั้นเอง

โดยสมุนไพรบอระเพ็ดนั้นมีข้อดีคือสามารถช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้น้อยกว่าการใช้ยาเคมีหรือยาแผนปัจจุบันนั่นเอง

ข้อควรระวังในการกินบอระเพ็ด

สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน

ข้อควรคำนึงในการบริโภค บอระเพ็ดแบบแคปซูล คือ ไม่ควรทานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่าหนึ่งเดือน เพราะ หากมีการทานเกินกว่าหนึ่งเดือน จะมีการสะสมในร่างกายทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและเบื่ออาหารได้

สมุนไพรบอระเพ็ด สำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน

ถ้าหากใช้แล้วเกิดอาการมือเท้าเย็น อ่อนเพลีย ตาเหลือง แขนขาหมดเรี่ยวแรง ขอแนะนำว่า ควรหยุดรับประทานในทันที และควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นการแสดงอาการเริ่มแรกของโรคตับอักเสบ หากดูจากข้อมูลผลรับรองการวิจัย และความเชื่อของคนในสมัยก่อนที่นำบอระเพ็ดมาใช้เป็นยาแล้วนั้น จะสามารถเห็นได้ว่า ไม่มีความเชื่อหรือผลวิจัยที่ช่วยรับรองที่ช่วยชี้ให้เห็นว่า บอระเพ็ด สามารถช่วยในการลดความอ้วนได้จริง อย่างไรก็ตาม บอระเพ็ด ก็ยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์อย่างมากมายต่อร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ทานเป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วโดยที่ไม่รู้ตัว

บอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) เป็นไม้เลื้อย พบได้ตามป่าดิบแล้ง สมุนไพรไทย รสขม สรรพคุณของบอระเพ็ด ลดไข้ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุขัน บำรุงเลือด แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ขับพยาธิ แก้ปวดฝี ลดความร้อนในร่างกาย บำรุงผิวพรรณ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove