มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เกิดจากพฤติกรรมการกิน อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก โรคอันดับ 3 ของโลก อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จากสถิติของผู้ป่วย โรคมะเร็ง พบว่ามีผู้ป่วย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เพศชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง และแนวโน้มการเกิดโรคพบว่ามีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณอะไรบ้างบ่งบอกว่าท่านควรตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อ คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ปวดท้องเป็นพักๆ การปวดแบบเป็นๆหายๆ ปวดตามจังหวะการบีบตัวของลำไส้ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและปวดบ่อยมากขึ้น
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย ระบบการขับถ่ายผิดปกติ มีอาการท้องผูกต่อเนื่องกันหลายวัน สลับกับท้องเสียจากการติดเชื้อ
  • อุจจาระมีเลือดปด เป็นมูก เป็นผลมาจากตัวเนื้องอก ที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ก้อนอุจจาระมีขนาดเล็ก เนื่องจากรูของลำไส้ใหญ่มีขานดแคบลง
  • ปวดท้องถ่ายอุจจาระตลอดเวลา แต่ถ่ายไม่ออก ไม่มีอุจจาระแต่ปวดท้อง เนื่องมาจากการมีก้อนเนื้องอกในทวารหนัก ทำให้ร่างกายมีความรู้สึกเหมือนมีอุจจาระในทวารหนักตลอดเวลา

เรามาทำความรุ้จักกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กันว่าเป็นอย่างไร

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นอีก โรคมะเร็ง ที่พบว่าเกิดกับ คนอายุ 55 ปีขึ้นไป โอกาสในการเกิดในเพศชายและหญิงมีอัตราเท่าๆกัน ลำไส้ใหญ่ เป็นอวัยวะในช่องท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมการกิน เป็นสาเหตุหลักของปัญหา และปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีผลต่อการเกิดโรค เรามีปัจจัยการเกิดโรคมาให้ดังนี้

  • การกินอาหารที่มีไขมันสูง บ่อยและเป็นเวลานานสะสมหลายปี เนื่องจาก ไขมัน เป็นอาหารที่ไม่มีกากใยอาหาร ส่งผลเสียต่อระบบลำไส้ โดยเฉพาะ คนที่กิยอาหารที่มีกากาใยอาหารน้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากสถิติ มีการพบว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เคยมี่บุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เหมือนกัน
  • ป่วนโรคติ่งเนื้อเมือกที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเนื้องอกที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาหารของผู้ป่วยที่เป็น โรคโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่ามีอาการผิดปรกติ เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารและขับถ่ายเริ่มมีอาการผิดปรกติ อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี ดังนี้

  • อุจจาระเป็นเลือด มีมูกปนเลือดในอุจจาระ
  • ท้องผูกสลับกับท้องเสีย โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดท้องเรื้อรัง

ระยะของอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราพบว่ามีระยะการเกิดโรค 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 ซึ่ง รายละเอียดของ โรคมะเร็ง ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 1 จะมีก้อนเนื้อ และแผลขนาดเล็กที่ผนังลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามไปจนถึงเยื่อหุ้มลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้กับลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และลามสู่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกระแสเลือด

สำหรับ การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มจากการ ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย และอาการผิดปรกติของร่างกาย ตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นั้นสามารถตรวจเพื่อ คัดกรองโรคมะเร็ง ได้ เหมือน มะเร็งเต้านม การตรวจ คัดกรองโรคมะเร็ง มีความจำเป็น เนื่องจาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมากจะตรวจพบในระยะที่มากกว่าระยะที่ 2 แล้ว การรักษาจะยาก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราใช้การ ผ่าตัดชิ้นเนื้อออก และรักษาร่วมกับอาหารทำเคมีบำบัด การฉายแสง เพื่อให้เนื้อร้ายฝ่อ แต่การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะได้ผลดมากน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อร้าย และระยะของโรค

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้หลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย หมั่นตรวจคัดกรอง โรคมะเร็ง เป็นระยะๆ

หลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อ อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจเสียงดัง พบบ่อยในเด็ก ผลข้างเคียงจากภูมิแพ้ หืดหอบ สูบบุหรี่โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

หลอดลมอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Bronchitis เป็นโรคติดเชื้อที่หลอดลม เกิดกับเด็กเป็นส่วนมาก โรคนี้เป็นการการติดเชื้อบริเวณหลอดลม เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่าง โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อย กล่าวได้ว่า เป็น โรคเด็ก คนช่วยอายุ 9 ถึง 15 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

เราสามารถแยกสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบได้ 2 กรณี คือ หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน และหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น rhinovirus, adenovirus, corona virus, influenza virus, parainfluenza virus, respiratory syncytial virus (RSV) เป็น ชนิดเหมือนกับไข้หวัด หลอดลมอักเสบชนิดนี้ จะเกิดหลังจากเป็นไข้หวัด หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้อลามไปสู่หลอดลม  หากเป็นหวัด และมีอาการไอ มีเสมหะ นานกว่า 7 วัน มีโอกาสเกิดโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง เป็นการอักเสบจากโรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือการสูบบุหรี่ เป็นลักษณะปอดอุดตัน สังเกตุ คือ จะมีอาการไอ โดยมีเสมหะ นานกว่า 90 วัน นอกจากโรคภูมิแพ้ หืดหอบ การสูบบุหรี่แล้ว การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศบ่อยๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือ สารเคมี มีมีการระเหยได้

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุของหลอดลม เมื่อเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะในหลอดลม มีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง ในบางราย จะมีอาการ แสบคอ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว

เราสามารถแยกอาการให้เห้นอย่างชัดเจนได้ดังนี้

  • มีอาการไอแบบเรื้อรัง ในช่วงเวลา 14 วันโดยไม่หาย
  • มีเลือดปน จากการไอ
  • มีไข้ ไอ และเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไออย่างมาก
  • มีอาการเจ็บหน้าอก เวลาไอ หายใจ หรือ การเคลื่อนไหวทรวงอก
  • เกิดอาการหอบเหนื่อยทันที หลังจากการไอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอังเสบ หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบลามไปถึงปอด เช่น เกิดปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงปอด ฟังเสียงหลอดลม การที่เสมหะมีสีขาว หรือสีเขียว ตรวจภาพรังสีทรวงอก

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

หากป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ร่างกายสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 10 วัน การรักษานั้น สามารถตัว โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจาก น้ำอุ่นช่วยละลายเสมหะได้ดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการระคายเคืองหลอดลม เช่น การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และทุกอย่างที่ระคายเคืองหลอดลม
  • หลีกเลี่ยงอากาศเย็นและอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศเย็น จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้ไอมากขึ้น
  • ให้รักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น ห่มผ้า ใส่ถุงเท้า ใส่หมวก หรือพันผ้าพันคอ

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ นั้น ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ เนื่องจากจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและรักษาอย่างเร็วที่สุด การรักษาจากการปฏิบัติตัว สามารถทำควบคู่กับการรักษาตามอาการโรค ด้วยยารักษาโรค เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม

หากเกิดโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แสดงว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อโรค ซึ่งเราต้องหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคให้เจอ และรับประทานยาป้องกันจุลชีพ ยาต้านจุลชีพ สามารถใช้ได้หากผู้ป่วยไม่แพ้ยา โรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง ต้องรักษาตามสาเหตุ อาจใช้ยาลดการอักเสบของหลอดลม  ยาขยายหลอดลม และหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม

การป้องกันการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคให้ลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองหลอดลมทั้งหมด รายละเอียด ดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเย็น
  • อย่าเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องสัมผัสอากาศเย็น ให้ใส่เครื่องที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสูดดม ควัน กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ สารเคมี ฝุ่นและสารระคายเคืองต่างๆ

โรคหลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง พบบ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นผลข้างเคียงของโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือ การสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove