อัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) ส่งผลต่อประสาทควบคุมร่างกาย ทำให้แขนขาอ่อนแรง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก เป็นภาวะฉุกเฉินทำให้เสียชีวิตได้โรคซีวีเอ โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด โรคสมองขาดเลือด

โรคอัมพาต เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด ส่งผลให้ระบบประสาทควาบคุมร่างกายไม่สามารทำงานได้ แขน ขา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ ผู้ป่วยที่เกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ร้อยละ 20 สามารถหายได้ภายใน 90 วัน หากสามารถหาสาเหตุของปัญหาทัน ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ส่วนใหญ่จะไม่เสียชีวิต แต่จะอยู่ในภาวะซึมเศร้าและตรอบใจตาย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอัมพาต

การเกิดโรคสมองขาดเลือด ปัจจัยทั้งหมดเกิดจากปัจจัยการดำรงชิวิตที่ไม่ถูกวิธีเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการกิน และความเครียด ปัจจัยเสี่ยงมีดังนี้

  • เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากแรงดันโลหิตสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดเปราะ ทำให้หลอดเลือดสมองแตก ทำให้สมองขาดเลือด
  • เกิดจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะทำให้เลือดสูบฉีดมาก ทำให้แรงดันเลือดสูง เป็นโรคที่อยู่คู่กับโรคความดันโลหิตสูง
  • เกิดโรคอ้วน การมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้เกิดการสะสมไขมันส่วนเกินในเลือดสูง เมื่อไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดทำให้แรงดันเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้แตกได้
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสิ่งนี้ทำให้ผนังหลอดเลือดบาง ทำให้หลอดเลือดเปราะและแตกง่าย
  • การไม่ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระบบภายในร่างกายไม่แข็งแรง
  • การอยู่ในภาวะเครียด ไม่ผ่อนคลาย ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ปัจจัยเกี่ยวกับอายุ เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมสภาพตามการใช้งาน ซึ่งพบว่าคนอายุ 45 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่สุด
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อเส้นเลือด และแรงดันเลือด
  • กรรมพันธ์ พบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ คนในครอบครัวมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงกว่าปรกติ

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากกว่าปรกติ จากภาวะสภาพสังคมที่เครียดและการแข่งขันสูง

สำหรับการเกิดอัมพาต นั้นจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เราสามารถสังเกตุความเปลี่ยนแปรงของร่างกายได้ว่าหากมีความผิดปรกติ สามารถหาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันเวลา โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการ ชาที่แขนขา จากนั้านแขขาจะเริ่มอ่อนแรง หรือมีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง สายตาจะมืด และมองไม่เห็นชั่วคราว มีภาพซ้อนและเบลอ เวียนหัว อาการบ้านหมุน เป็นลมบ่อยๆ และปวดหัวอย่างรุนแรง การพูดจาไม่ชัด ออกเสียงลำบาก มีอาการพูดตะกุกตะกัก พูดติดขัด ออกเสียงไม่ชัด  ความสามารถการกลืนอาหารลดลง อาการเหล่านี้หากหายภายใน 24 ชั่วโมง สามารถจะกลับสูภาวะปรกติ หากเกิน 24 ชั่วโมง ถือว่าเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องใช้เวลาในการบำบัด

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต

สาเหตุของการเกิดโรคอัมพาต หรือ โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากสมองขาดเลือดอย่างกระทันหัน ซึ่งสาเหตุของสมองขาดเลือด เกิดจาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน และหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก

  • หลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากหลอดเลือดแดงสมองตีบตัน สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ คือ ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ เกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง หรือ ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว
  • หลอดเลือดสมองแตก เป็นสาเหตุที่พบมาก เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโปร่งพอง จากโรคความดันโลหิตสูง

แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีปัญหา ไม่ได้เกิดจากปัญหาของหลอดเลือดโดยตรง แต่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โรคความดัน และภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงคือ การใช้ชีวิตไม่ถูกวิธี คือ การพักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และเครียด

อาการของผู้ป่วยโรคอัมพาต

สำหรับอาการได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น แต่เราจะแสดงรายการอาการโรคอัมพาต เพื่อให้ดูง่ายมากขึ้นมีดังนี้

  • แขน ขา ชาและอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ หรือ อ่อนแรงครึ่งซีก ข้างใดข้างหนึ่ง
  • ความสามารถในการพูด และฟังน้อยลง
  • มีปัญหาระบบการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว มองไม่ชัด เห็นภาพเพียงบางส่วน เห็นภาพได้แคบลง
  • ความสามารถในการหายใจน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยหอบง่าย
  • ปวดหัว เวียนหัว เสียความสามารถในการทรงตัว
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงแบบกระทันหัน
  • คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคอัมพาต

การตรวจวินิจฉัย แพทย์จะสังเกตุจากอาการ การตรวจร่างกาย เช่น ความดันโลหิต การตรวจการเต้นของหัวใจ การตรวจระบบประสาท การตรวจเลือด เพื่อดูน้ำตาลและไขมันในเลือด จากนั้นทำการตรวจสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การรักษาโรคอัมพาต

สำหรับการรักษานั้น ต้องรักษาตามอาการของสาเหตุที่ทำให้สมองขาดลเือด

  • หากเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่สารบางอย่างเพื่อไปอุดหลอดเลือด
  • หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด

นอกจากนั้นแล้ว การรักษาจะทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีกครั้ง เช่น การให้กินยาลดการแข็งตัวของเลือด การควบคุมการเกิดโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน และรักษาโรคไขมันในหิตสูง รวมถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข้งแรง และฝึกการพูด เป็นต้น

การดูแลตนเองและดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาต

  • ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ให้ขยันทำกายภาพบำบัด
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ของผู้ป่วยให้ดี เพื่อคามเสี่ยงการติดเชื้อ
  • จัดสถานที่ที่มีผู้ป่วยให้เหมาะสม และเพื่อความสะดวกในการช่วยตัวเองได้
  • จัดอาหารให้ครบหมวดหมู่ และถูกสุขอนามัย

ป้องกันโรคอัมพาต

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่หมด
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มเครื่องดืมผสมแอลกอฮอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลดของหวาน และไขมัน
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะปรกติ
  • ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี
  • ในผู้ป่วยให้กินยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

ผลข้างเคียง ที่เกิดจากโรคอัมพาต นั้น คือ คุณภาพชีวิตที่ลดลง ความพิการ ปัญหาด้านการทำงาน ปัญหารายได้ ซึ่งทั้งหมด จะส่งผลผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพ เป็นอย่างมาก

โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด เป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ และหากรอดชีวิตร่างกายก็จะไม่กลับสู่ปรกติ มักจะพิการ ช่วยตัวเองไม่ได้มาก ร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อง่าย รวมถึงเกิดภาวะโรคซึมเศร้า ด้วย เป็นโรคที่ต้องการกำลังใจในการใช้ชีวิตสูงมาก

หลายคนเรียกโรคนี้ว่าโรคเวรโรคกรรม เหมือนตายทั้งเป็น เป็นโรคที่ไม่ฆ่าใครตายแต่สร้างความทรมานทางจิตใจมาก ในปัจจุบันภาวะสังคมที่มีการแข่งขันสูง ความเครียดทำให้เกิดโรคนี้มากขึ้น ในวันที่ 24 พ.ค.ของทุกปี เป็นวันอัมพฤกษ์ อัมพาตโลก วันหลอดเลือดสมอง ผู้เกี่ยวข้องด้านสาะารณสุขจะออกมารณรงค์ให้ประชาชน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพ ร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง เพื่อป้องกัน โรคสมองขาดเลือด เรามาทำความรู้จักกับโรคสมองขาดเลือด โรคอัมพาต ให้ละเอียดมากขึ้น ว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรค สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และการดูแลผู้ป่วย จะทำอย่างไร

จากสถิติของประชากรไทย ปี พ.ศ.2547 พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงไทยอันดับหนึ่ง ร้อยละ 15 ของการเสียชิวิต การเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง ของคนไทย มีอัตรา 250 คน ต่อ หนึ่งแสนคน คนไทยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง ปีละ 150,000 คน มีการเสียชีวิตทุกๆ 10 นาที จากโรคนี้

โรคอัมพาต เป็นอาการ แขน ขา หรือร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ขยับไม่ได้ และอ่อนแรง ส่วนอัมพฤกษ์ คือ อาการ แขน ขา อ่อนแรงกว่าเดิม แต่สามารถใช้งานได้อยู่ ทั้งสองอาการเกิดจากอาการสมองขาดเลือด จึงทำให้เกิดอาการแขนขาใช้งานไม่ได้ หรืออ่อนแรง โรคนี้ทางการแพทย์ เรียก โรคซีวีเอ ย่อมาจาก cerebrovascu lar accident

อาการผิดปกติของร่างกายที่ที่เกิดจากสมองขาดเลือด นานกว่า 24 ชั่วโมง โรคอัมพาต สามารถพบได้มากในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มีหลายปัจจัย เราได้รวมปัจจัยของการเกิดอัมพาต มาให้ มีดังนี้

โรคอัมพาต ภาวะสมองขาดเลือด ( Ischemic Stroke ) คือ ภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้ระบบประสาทควบคุมร่างกายทำงานผิดปรกติ แขนขาอ่อนแรง เกิดจาก หลอดเลือดแดงไปเลื้ยงสมองอุดตัน หรือ หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงสมองแตก กรณีรุนแรงรักษาไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกันโรค

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับ นิ้วเท้าชา เกิดจากการนั่งนานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลังหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคระบบประสาท โรคกระดูก

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากท่านมีอาการ อาการปวดหลัง อาการปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง หรือ หลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา เป็นอาการเริ่มต้นเตือนให้ท่านรู้ว่า อาจเป็น โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า สามารถทานยา ทำกายภาพบำบัด โดยไม่ต้องผ่าตัด ก็สามารถทำได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ละเอียดมากกว่านี้ เพื่อใหรู้เท่าทันโรคนี้ ว่า สาเหตุของการเกิดโรค อาการ และการรักษา ต้องทำอย่างไร ป้องกันการเกิดเส้นประสาทสันหลังเสื่อม และกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้

โรคนี้เป็นโรคเสี่ยงของคนวัยทำงาน หรือ เป็นโรคหนึ่งของออฟฟิตซินโดรม ทำไมคนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจาก คนในวัยทำงานใช้ร่างหนัก ในขณะที่ไม่สัมพันธ์กับการพักผ่อน รวมถึงการออกเดินทาง ไปในสถานที่ต่างๆ การเคลื่อนไหวร่างกายมีมากกว่าคนในทุกวัย เราได้รวมพฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง มีดังนี้

  1. มีกิจกรรมที่ต้อง ก้มๆ เงยๆ มากเกินไป
  2. การยกของหนัก ในท่าทางไที่ไม่ถูกต้อง และต้องยกของหนักในเวลานานๆ
  3. อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายสูง ที่ร่างกายต้องรองรับการกระแทกสูง เช่น งานก่อสร้าง
  4. การมีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้ร่างกายต้องใช้ร่างกายและกล้ามเนื้อมาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
  5. การนั้งในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป โดยไม่มีการปรับอิริยาบถ เช่น การนั้งทำงานบนโต้ะทำงานนานเกินไป

พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลังได้ เรามาดูว่าอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอักเสบอย่างรุนแรง แบบฉับหลัน ได้ แต่ลักษณะอาการจะเกิดขึ้น บริเวณ หลังและขา โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • ปวดหลังในส่วนเอวตอนล่าง อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้ อาการปวนนี้จะปวดเวลานั่ง เนื่องจากท่านั้นหมอนรองกระดูกจะถูกกระทบกระเทือนมากที่สุด
  • มีอาการปวดที่ขา มีอาการขาชา และบางครั้งกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • มีอาการปวดหรือชา ตามแนวกระดูกสันหลัง ปวดตั้งแต่ นิ้วเท้า เท้า น่อง ต้นขา ไปถึงเอว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นตามที่กล่าวในข้างต้นถึงปัจจัยที่มีความเสียงในการเกิดโรคแล้วนั้น เราจะสรุป สาเหตุของการเกิดโรคนี้ ให้ละเอียดมากขึ้น มีดังนี้

  • การยกของหนัก ในท่าทางการยกที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคอ้วน และน้ำหนักตัวที่มากเกิน
  • การนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ โดยไม่มีการขยับตัว
  • การเกิดอุบัติเหตุ ที่มีการกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลัง

สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การป้องการการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ยิ่งกว่าการรักษา การเกิดโรคนี้ยังมีสิ่งที่ต้องระวังให้มากกว่านี้ คือ การเกิดโรคแทรกซ้อนที่มาจากการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีดังนี้

  • การรักษามีโอกาสในการเกิดอุบัตติเหตุ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของ หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดใหญ่
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ที่มีผลต่อเส้นประสาทกล่องเสียง ทำให้อาจเสียงแหบได้
  • การผ่าตัด อาจทำให้ข้อกระดูกไม่เชื่อม
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ภายหลังการผ่าตัดได้

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

สำหรับการรักษาโรคนี้ ด้วยเทคโลดลยีทางการแพทย์มีมากขึ้น มีการรักษาด้วยการผ่าดับ ด้วยเทคนิค MIS เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลัง โดยส่องกล้องจุลทรรศน์ แบบแผลเล็ก เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัตติเหตุต่อเส้นประสาท โดยการรักษาโรคนี้ยังสามารถรักษาได้หลายวิธี ดังนี้

  • รับประทานยา เป็นการรับประทานยา แก้ปวด แก้อักเสบ และยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

การป้องกันการเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันการเกิดโรคทำได้โดยการหลีกเลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคทั้งหมด เช่น ไม่ยกของหนัก ยกของในท่าที่ถูกต้อง ไม่ยกของหนักเป็นเวลานาน ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ สำหรับการนั่งทำงานบ่อยๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และออกกำลักกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องอยู่เป็นประจำ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดหลัง ปวดร้าวลงที่ขา ปวดไปถึงน่อง ปวดหลังเท้า เจ็บข้อพับด้านหลัง นิ้วเท้าชา โรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการนั่งอยู่กัยที่นานๆ หรือ การกระแทกที่กระดูกสันหลัง สาเหตุ อาการ การรักษาโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove