กลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ อักเสบผิวหนัง เป็นวงสีแดง มีขุยสีขาว ติดต่อจากการสัมผัส การรักษาป้องกันโรคทำอย่างไรโรคกลาก ติดเชื้อราที่ผิวหนัง โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคกลาก ภาษาทางการแพทย์ เรียก Ringworm คือ โรคติดต่อ จากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งกลากสามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หนังหัว ใบหน้า มือ เท้า เล็บ และ ขาหนีบ สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยพบในเด็กมากที่สุด โรคกลาก หากเกิดกับเด็กจะพบว่ามีกลากขึ้นที่ศีรษะมากที่สุด แต่หากเป็นผู้ใหญ่พบว่ากลากขึ้นมากที่เท้า ส่วนในผู้ชายวัยรุ่นมักพบกลากขึ้นที่ขาหนีบ

สาเหตุของการเกิดโรคกลาก

กลาก เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ ( Dermatophytes ) ที่ผิวหนัง ซึ่งเชื้อราอาศัยอยู่บนผิวหนัง ส่วนเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว  เชื้อราเหล่านี้ไม่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ เชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสปอร์ขนาดเล็กๆ อาศัยอยู่ตามผิวหนังของมนุษย์ หรือ พื้นดิน สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราสามารถติดต่อสู่คนโดยการสัมผัส

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก

โดยคนที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดกลาก คือ กลุ่มคนที่เหงื่อออกง่าย ทำความสะอาดร่างกายไม่สะอาด และ อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อนและมีความชื้นสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้ ประกอบด้วย

  • เด็กอ่อน
  • ผู้สูงอายุ
  • คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักมากกว่ามาตราฐาน
  • กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเอชไอวี คนที่ผ่านการทำเคมีบำบัด เป็นต้น
  • กลุ่มคนที่มีประวัติเคยติดเชื้อราที่ผิวหนังมาก่อน
  • กลุ่มผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกลาก

สำหรับอาการของโรคกลาก คือ เกิดผื่นแดงหรือผื่นสีขาวเป็นขุย ลักษณะเป็นวงกลม มีอาการคัน สามารถลามไปสู่ผิวหนังส่วนต่างๆได้ และ ติดต่อสู่คนอื่นได้ โดยจุดที่มักเกิดกลาก คือ หนังศรีษะ ผิวหนัง เล็บ ขาหนีบ และ เท้า โดยลักษณะของอาการกลากในตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

  • กลากที่หนังศีรษะ จะพบว่าที่หนังศีรษะจะเป็นจุดๆสีขาวตกสะเก็ด คันที่หนังศีรษะ ผมจะร่วงเป็นหย่อมๆ อาจมราตุ่มหนองเล็กๆที่หนังศรีษะ ซึ่งสามารถเป็นแผลขนาดใหญ่ได้
  • กลากที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะคันรอบๆแผลที่อักเสบ ลักษณะของแผลจะเป็นขอบชัดเจน และ สีแดง บางรายแผลเป็นวงขนาดใหญ่ มีตุ่มหนองขึ้นได้
  • กลากที่เล็บ ผู้ป่วยจะมีลักษณะเล็บมีสีขาวขุ่น เล็บหนาขึ้น และ เล็บเปราะหักง่าย รู้สึกเจ็บและระคายเคืองที่นิ้วบริเวณผิวหนังรอบเล็บ
  • กลากที่ขาหนีบ เกิดผื่นแดง และ คัน ที่ผิวหนังที่ขาหนีบ ทำให้ผู้ป่วยเกาจนเกิดแผล เรียกว่า โรคสังคัง ซึ่งผิวหนังที่ขาหนับอาจตกสะเก็ด มีตุ่มหนอง ตุ่มพอง
  • กลากที่เท้า มีอาการคันที่เท้าบริเวณง่ามนิ้ว อาจมีตุ่มหนอง และ ตุ่มพอง จนทำให้รู้สึกเจ็บ เรียกอาการนี้ว่า ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า

การรักษาโรคกลาก

สำหรับการรักษาโรคกลาก คือ แพทย์จะรักษาอาการติดเชื้อรา เป็นการให้ยาทา เพื่อรักษาอาการคัน และ ฆ่าเชื้อรา โดยต้องใช้ประมาณ 15-30 วัน จนกว่าจะฆ่าเชื้อราได้หมด แต่การรักษาโรคกลาก นั้น นอกจากจะใช้ยาทาในการรักษา ตัวผู้ป่วยเอง ต้องปรับสุขอนามัยพื้นฐานของตนเอง ไม่ให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อรา เช่าน หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าอับชื้นที่มีเชื้อรา ทำความสะอาดเครื่องนอน ทำความสะอาดผิวหนังให้แห้ง

สำหรับการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ต้องใช้ยารับประทานต้านเชื้อรา ได้แก่ กริซีโอฟูลวิน ( Griseofulvin ) โดยต้องรับประทานประมาณ 3 เดือน ส่วนการรักษาเชื้อราที่เล็บ ต้องรักษาสุขอนามัย ของมือและเท้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก

สำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคกลาก คือ หากเชื้อราแพร่ไปสู่ผิวหนังชั้นใน อาจทำให้เกิดความรุนแรง และ รักษาให้หายยากขึ้น การลุกลามของกลาก จากจุดหนึ่งไปส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลต่อบุคคลิกภาพที่เสีย ทำให้สังคมรังเกรียจ ไม่อยากเข้าใกล้

การป้องกันโรคกลาก

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคกลาก นั้นต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคกลาก และ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สะอาด เพื่อลดการเกิดเชื้อรา โดยแนวทางการปฏิบัตเพื่อป้องกันโรคกลาก มีดังนี้

  • ล้างมือเป็นประจำ
  • ทำความสะอาดร่างกายทุกวัน และ เช็ดตัวให้แห้ง หากสระผมต้องทำให้ผมและหนังศรีษะแห้ง
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่อับชื้น
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมถึงผู้ป่วยโรคกลากด้วย
  • ทำความสะอาดพื้นที่ส่วนรวม ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ให้อับชื้นเป็นที่อยู่ของเชื้อรา
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคกลาก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่เป็นกลาก
  • หมั่นตัดเล็บมือเล็บเท้า และ ทำความสะอาดเล็บอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สวมร้องเท้าที่มีความอับชื้น
  • เช็ดร่างกายให้แห้งหลังจากอาบน้ำโดยเฉพาะส่วนขาหนีบ และ ที่สำคัญสวมกางเกงชั้นในที่สะอาด แห้ง ไม่นำกางเกงชั้นในเก่าที่ยังไม่ซักมาใช้งานซ้ำ

โรคกลาก หรือ ขี้กลาก ( Ringworm ) คือ ภาวะติดเชื้อราที่ผิวหนัง ผม และ เล็บ โดยเกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เป็นวงสีแดงหรือ มีขุยสีขาว โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากการสัมผัสได้ สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร

หลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อ อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจเสียงดัง พบบ่อยในเด็ก ผลข้างเคียงจากภูมิแพ้ หืดหอบ สูบบุหรี่โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

หลอดลมอักเสบ ภาษาอังกฤษ เรียก Bronchitis เป็นโรคติดเชื้อที่หลอดลม เกิดกับเด็กเป็นส่วนมาก โรคนี้เป็นการการติดเชื้อบริเวณหลอดลม เป็นอวัยวะที่อยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่าง โรคหลอดลมอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อย กล่าวได้ว่า เป็น โรคเด็ก คนช่วยอายุ 9 ถึง 15 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคนี้มากที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

เราสามารถแยกสาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบได้ 2 กรณี คือ หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน และหลอดลมอักเสบแบบเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น rhinovirus, adenovirus, corona virus, influenza virus, parainfluenza virus, respiratory syncytial virus (RSV) เป็น ชนิดเหมือนกับไข้หวัด หลอดลมอักเสบชนิดนี้ จะเกิดหลังจากเป็นไข้หวัด หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้อลามไปสู่หลอดลม  หากเป็นหวัด และมีอาการไอ มีเสมหะ นานกว่า 7 วัน มีโอกาสเกิดโรคหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • สาเหตุของหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง เป็นการอักเสบจากโรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือการสูบบุหรี่ เป็นลักษณะปอดอุดตัน สังเกตุ คือ จะมีอาการไอ โดยมีเสมหะ นานกว่า 90 วัน นอกจากโรคภูมิแพ้ หืดหอบ การสูบบุหรี่แล้ว การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศบ่อยๆ เช่น ฝุ่น ควัน หรือ สารเคมี มีมีการระเหยได้

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุของหลอดลม เมื่อเกิดการอักเสบ ส่งผลให้ เยื่อบุหลอดลมบวม มีเสมหะในหลอดลม มีอาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง ในบางราย จะมีอาการ แสบคอ เจ็บคอ หรือเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว

เราสามารถแยกอาการให้เห้นอย่างชัดเจนได้ดังนี้

  • มีอาการไอแบบเรื้อรัง ในช่วงเวลา 14 วันโดยไม่หาย
  • มีเลือดปน จากการไอ
  • มีไข้ ไอ และเหนื่อยหอบ
  • มีอาการไออย่างมาก
  • มีอาการเจ็บหน้าอก เวลาไอ หายใจ หรือ การเคลื่อนไหวทรวงอก
  • เกิดอาการหอบเหนื่อยทันที หลังจากการไอ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอังเสบ หากไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดการอักเสบลามไปถึงปอด เช่น เกิดปอดอักเสบ หรือโรคถุงลมโป่งพองได้

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

สำหรับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคนี้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ฟังเสียงปอด ฟังเสียงหลอดลม การที่เสมหะมีสีขาว หรือสีเขียว ตรวจภาพรังสีทรวงอก

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ

หากป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเฉียบพลัน ร่างกายสามารถรักษาให้หายได้ภายใน 10 วัน การรักษานั้น สามารถตัว โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ การปฏิบัติตนเพื่อรักษาโรคหลอดลมอักเสบ มีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ เนื่องจาก น้ำอุ่นช่วยละลายเสมหะได้ดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการระคายเคืองหลอดลม เช่น การสูบบุหรี่ การสูดดมควัน และทุกอย่างที่ระคายเคืองหลอดลม
  • หลีกเลี่ยงอากาศเย็นและอากาศแห้ง เนื่องจากอากาศเย็น จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ส่งผลให้ไอมากขึ้น
  • ให้รักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น ห่มผ้า ใส่ถุงเท้า ใส่หมวก หรือพันผ้าพันคอ

การรักษาโรคหลอดลมอักเสบ นั้น ต้องหาสาเหตุของการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ เนื่องจากจะช่วยให้เราสามารถป้องกันและรักษาอย่างเร็วที่สุด การรักษาจากการปฏิบัติตัว สามารถทำควบคู่กับการรักษาตามอาการโรค ด้วยยารักษาโรค เช่น ยาลดไข้ ยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม

หากเกิดโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง แสดงว่าร่างกายเกิดการติดเชื้อโรค ซึ่งเราต้องหาเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคให้เจอ และรับประทานยาป้องกันจุลชีพ ยาต้านจุลชีพ สามารถใช้ได้หากผู้ป่วยไม่แพ้ยา โรคหลอดลมอักเสบ ชนิดเรื้อรัง ต้องรักษาตามสาเหตุ อาจใช้ยาลดการอักเสบของหลอดลม  ยาขยายหลอดลม และหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม

การป้องกันการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคให้ลดปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองหลอดลมทั้งหมด รายละเอียด ดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเย็น
  • อย่าเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องสัมผัสอากาศเย็น ให้ใส่เครื่องที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการสูดดม ควัน กลิ่นฉุน ควันบุหรี่ สารเคมี ฝุ่นและสารระคายเคืองต่างๆ

โรคหลอดลมอักเสบ ( Bronchitis ) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการไอ มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงดัง พบบ่อยในเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นผลข้างเคียงของโรค เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบ หรือ การสูบบุหรี่


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove