คราบหินปูน คราบที่เกาะตามฟัน เกิดจากน้ำลาย เศษอาหารและเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เหงือกอักเสบ เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ แนวทางการป้องกันการเกิดคราบหินปูนทำอย่างไร

คราบหินปูน โรคในช่องปาก โรค การรักษาโรค

คราบหินปูน ( Dental plaque) คือ คราบสีขาวเกาะที่ฟัน เมื่อเกิดการเกาะตัวมากขึ้นจะทำให้คราบสีขาวนั้นมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้น หากไม่กำจัดออกจะทำให้เชื้อแบคทีเรีย สร้างกรด เพื่อทำลายฟัน ซึ่งไม่สามารถกำจัดด้วยการแปรงฟันได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดคราบหินปูน

สำหรับปัจจัยของการเกิดคราบหินปูนนั้น มีปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดคราบหินปูน มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่เป็นเวลานานๆ
  • ลักษณะของฟัน ที่สบกันไม่ดี
  • พฤติกรรมการชอบนอนกัดฟัน
  • ชอบทานอาหารที่มีรสหวาน
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนร่างกาย เช่น วัยรุ่น ตั้งครรภ์ วัยทอง เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
  • เกิดจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิต ยากันชัก เป็นต้น
  • อาการปากแห้ง

สาเหตุของการเกิดคราบหินปูน

ที่ผิวฟันของเรานั้นมีส่วนที่หุ้มฟันอยู่ ผิวฟันจะเรียบและมัน เมื่อผิวฟันถูกน้ำลายจะทำให้เกิดสารไกลโคโปรตีนจากน้ำลาย ที่มีน้ำตาล และโปรตีน หลังจากทำความสะอาดฟันแล้ว สารเหล่านี้จะเจือจางลง และเกิดสารบางเหลืออยู่ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียมาเกาะที่ฟัน ซึ่งจะพบมากที่ขอบเหงือก และ หลุมร่องฟัน ซึ่งการเกาะของเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้เกิดคราบหินปูน เป็นแคลเซี่ยม เกาะติดแน่น การกำจัดคราบหินปูนนั้นต้องให้ทันตแพทย์ขูดออก

อันตรายของคราบหินปูน

คราบหินปูน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งการเกิดคราบหินปูนทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้

  • ทำให้เกิดฟันผุ เมื่อเชื่อจุลินทรีย์ปล่อยกรดออกมา กรดนี้จะกัดกร่อนผิวเคลือบฟัน ทำให้เกิดเป็นร่องหากทิ้งไว้นานฟันจะผุได้
  • ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เมื่อมีเชื้อเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในปาก เชื้อนี้จะปล่อยสารพิษออกปนกับน้ำลาย ทำให้เกิดเหงืออักเสบได้
  • ทำให้เกิดโรคปริทนต์ คราบหินปูนจะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำลายฟัน
  • ทำให้เกิดโรคหัวใจ เนื่องจากเหงือกอักเสบจากคราบหินปูน ทำให้เกิดการติดเชื้อที่หลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน เกิดภาวะหลอดเลือดตีบ
  • ทำให้เกิดเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งอันตรายของเลือดออกตามไรฟัน คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ทำให้เหงือกบวม
  • ทำให้ฟันเหลือง เนื่องจากแคลเซียมและจุลินทรีย์เกาะเคลือบผิวฟัน เกิดเป็นสีเหลือง
  • ทำให้เกิดกลิ่นปาก เนื่องจากคราบหินปูน มีเชื้อแบคทีเรียเกาะที่ฟัน ทำให้เกิดกลิ่น
  • ทำให้เหงือกร่น เนื่องจากหากหินปูนเกาะตัวและมีขนาดใหญ่ขึ้น ดันให้เหงือกร่น
  • ทำให้ฟันโยกและฟันห่าง เมื่อหินปูนดันเหงือกลงมาก ๆ ทำให้เหงือกยึดฟันได้น้อย เวลาเคี้ยวอาหาร จะทำให้เกิดความเสี่ยงให้ฟันโยก และถ้าหินปูนที่ใหญ่ขึ้นจะดันให้ฟันห่างกัน

ดังนั้น หากแปรงฟันทุกวัน วันละสองครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน จะช่วยลดการเกิดคราบหินปูนได้

การรักษาคราบหินปูน

สำหรับการรักษาคราบหินปูน สามารถทำได้โดยการพบทันตแพทย์ เพื่อทำการขูดคราบหินปูนออก เป็นการรักษาที่ง่าย  ใช้เวลาไม่นาน และ ไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด วิธีขจัดคราบหินปูนในช่องปาก นั้นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  1. ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดคราบหินปูน เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน การดื่มสุรา
  2. แปรงฟันทุกวัน วันละ 2 ครั้ง และควรดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ แปรงสีฟันอย่างถูกต้องและใช้ไหมขัดฟันหลังแปรงฟัน
  3. ขัดฟันด้วยเปลือกหมากสด คนสมัยก่อนใช้วิธีนี้ในการป้องกันการเกิดคราบหินปูน
  4. การพบทันตแพทย์ เพื่อทำลายคราบหินปูนออก

การป้องกันการเกิดคราบหินปูน

การเกิดคราบหินปูนนั้น เป็นอันตรายต่อสุภาพและ ทำให้เกิดผลเสียต่อบุคลิกภาพพอสมควร การป้องกันการเกิดคราบหินปูน ช่วยลดการเกิดคราบหินปูน ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • ให้แปรงฟันทุกวัน โดยอย่างน้อยต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
  • การเลือกแปรงสีฟัน ให้เลือกแปรงที่ขนแปรงนุ่ม ปรายของแปรงมนไม่แหลม
  • การแปรงฟันให้เน้นแปรงที่รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน
  • การเลือกใช้ยาสีฟันให้เลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • ให้ใช้ไหมขัดฟัน ในการทำความสะอาดฟันอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง
  • หมั่นตรวจสุขภาพฟันประจำปี
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีรสหวาน อย่างขนมหวาน หากต้องการรับประทานอาหารที่มีรสหวานให้เลือกรับประทานผลไม้แทน

สำหรับคราบหินปูน หลายๆคนมองข้ามการกำจัดคราบหินปูน เนื่องจากไม่ทำให้การใช้ชิวิตผิดปรกติ เพราะ แขน ขา สมอง สามารถทำงานได้อย่างปรกติ จึงทำให้คนมองข้ามการเกิดคราบหินปูน จากข้อมูลที่เรานำเสนอ เป็นสิ่งที่ดีทำให้เราได้รู้ถึงภัยของหินปูนในปาก ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบได้ จึงไม่ควรมองข้ามปัญหาคราบหินปูนได้เลย

เหงือกอักเสบ ภาวะการอักเสบของเหงือก ทำให้เกิดอาการปวด บวม ที่เหงือก ส่งผลต่างๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน การรักษาและการป้องกันการเกิดโรคทำอย่างไรโรคเหงือกอักเสบ โรคในช่องปาก โรคเหงือก ปวดเหงือก

โรคเหงือกอักเสบ ( Gingivitis ) คือ โรคหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก เกิดขึ้นกับเหงือก ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ปวด และ บวมแดงที่เหงือก เหงือกมีความสำคัญ เมื่อเกิดภาวะเหงือกอักเสบ จึงควรให้ความสำคัญและควรรักษาอย่างทันท่วงที ป้องกันโทษที่เกิดจากการอักเสบของเหงือกที่จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะที่เกี่ยวข้องตามมา

สัญญาณของการเกิดโรคเหงืออักเสบ

สำหรับอาการต่างๆที่แสดงถึงตัวบ่งชี้ว่า กำลังเกิดโรคเหงือกอักเสบกับตัวเรา คือ

  • เหงือกบวม
  • เหงือกนิ่มผิดปกติ
  • เหงือกร่น
  • มีเลือดออกจากเหงือกง่าย เช่น เวลาแปรงฟัน หรือ เวลาใช้ไหมขัดฟัน
  • เหงือกเกิดการเปลี่ยนสี จากปรกติเหงือกจะมีสีชมพู เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มหรือมีสีคล้ำมากขึ้น
  • มีกลิ่นปาก
  • มีหนองออกมาจากเหงือก
  • ฟันโยก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระบต่อเหงือก ที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ มีรายละเอียด ดังนี้

  • พฤติกรรมการดูแลดูแลสุขภาพภายในช่องปากไม่ดีเท่าที่ควร
  • ภาวะเกิดคราบหินปูน
  • ภาวะการเกิดฟันผุ
  • ภาวะปากแห้ง
  • การสูบบุหรี่
  • อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะความเสื่อมของอวัยวะตามการใช้งาน
  • ภาวะโรคเบาหวาน
  • ภาวะโรคจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ เช่น โรคลูคีเมีย โรคเอชไอวี เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาอาการชัก หรือ ยาไดแลนติน
  • ภาวะการติดเชื้อในช่องปาก เช่น เชื้อไวรัส หรือ เชื้อราบางชนิด เป็นต้น
  • ภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น การมีประจำเดือด ภาวะการตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
  • ภาวะการขาดสารอาหารบางชนิด รับประทานอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับสาเหตุหลักของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ คือ พฤติกรรมส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเหงือกและฟัน การดูแลสุขภายในช่องปากไม่ดี การเกิดคราบหินปูนตามร่องเหงือก ซึ่งทำให้เกิดสารที่ทำให้เหงือกเกิดความระคายเคือง จนกลายเป็นภาวะเหงือกอักเสบในที่สุด นอกจาก การเกิดฟันผุ ก็เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

อาการของโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับอาการของโรคเหงือกอักเสบนั้น อาการที่พบเห็นจะแสดงออกอย่างชัดเจน ที่เหงือก มีการเปลี่ยนแปลงของเหงือกอย่างชัดเจน เช่น อาการบวมแดง อาการปวด อาการมีเลือดออก เป็นต้น สำหรับอาการของโรคเหงือกอักเสบ มีระยะของโรค 3 ระยะ คือ ระยะเหงือกอักเสบ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ และ ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย โดยรายละเอียดของระยะของอาการเหงือกอักเสบ มีดังนี้

  • ระยะเหงือกอักเสบ เป็นระยะเริ่มต้นของการอักเสบ เกิดจากคราบที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก การสะสมของคราบเหล่านี้จะทำให้เกิดสารพิษ ก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อของเหงือก ทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด อาการของเหงือกอักเสบระยะนี้ จะมีเลือดออกขณะแปรงฟัน สามารถกลับสู่ภาวะเหงือกสมบูรณ์เหมือนเดิมได้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ เป็นระยะกระดูกและเนื้อเยื่อ ที่มีหน้าที่ช่วยพยุงฟันถูกทำลาย จนไม่สามารถกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้ ระยะนี้เหงือกจะร่นและเกิดโพรงใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ทำให้เกิดคราบและเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกได้
  • ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย ในระยะนี้กระดูกและเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่พยุงฟันถูกทำลายไปจนหมด ทำให้เกิดอาการฟันโยก ส่งผลต่อการเคี้ยวบกพร่อง อาจต้องถอนฟันออก

แนวทางการวินิจฉัยโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับการวินิจฉัยโรคเหงือกของทันตแพทย์ นั้นขึ้นอยู่กับอาการที่แสดงออกกับ ฟัน เหงือก ปาก และ ลิ้น และ ตรวจความผิดปกติของเหงือก เช่น อาการบวมแดง อาการเลือดออกตามเหงือก เป็นต้น นอกจากนั้นสามารถวินิจฉัย จากเครื่องมือและแนวทางต่างๆ ดังนี้

  • ประเมินการเคลื่อนที่ของฟัน และ การตอบสนองต่อการเสียวฟัน
  • ตรวจดูตำแหน่งของฟัน
  • ตรวจสอบกระดูกขากรรไกร

การรักษาโรคเหงือกอักเสบ

สำหรับการรักษาอาการเหงือกอักเสบ นั้นควรต้องเริ่มจากการรักษาสาเหตุของสิ่งที่ทำให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ เพื่อควบคุมอาการและป้องกันการลุกลามของภาวะเหงือกอักเสบ จนทำให้สูญเสียฟัน การรักษาภาวะเหงือกอักเสบที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัย การดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน อย่างถูกวิธี โดยแนวทางการดูแลเหงือกและฟัน ที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • ทำความสะอาดช่องปาก เพื่อกำจัดคราบพลัค และ คราบหินปูน
  • แปรงฟันอย่างถูกต้อง และ ใช้ไหมขัดฟัน ควบคู่กัน เพื่อลดการสะสมของคราบต่างๆ
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  • หากมีปัญหาเกี่ยวกับฟันให้รีบรักษา เช่น ครอบฟัน อุดฟัน ขูดหินปุน เป็นต้น
  • ใช้น้ำยาบ้วนปาก ช่วยควบคุมการเกิดคราบพลัคได้

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบ หากไม่ทำการรักษาให้หาย อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่างๆ อาจมีผลกับสุขภาพร่างกายโดยรวม แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเหงือกอักเสบ อาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอด เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบ ที่ดีที่สุด คือ การดูแลสุขภาพภายในช่องปากที่ดี ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องและปฏิบัติตลอดชีวิต คือ การทำความสะอาดช่องปาก ด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน และ เข้ารับการตรวจสุขภาพในช่องปาก เหงือก และ ฟัน อย่างสม่ำเสมอ ทุก 6 – 12 เดือน

โรคเหงือกอักเสบ คือ ภาวะการอักเสบของเหงือก ทำให้เกิดอาการปวด บวม ที่เหงือก ส่งผลต่างๆภายในช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟัน สาเหตุของเหงือกอักเสบเกิดจากอะไร การรักษาเหงือกอักเสบ และ การป้องกันการเกิดโรค


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove