แอนแทรกซ์ เกิดจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis กินเนื้อสัตว์ดิบ เชื้อโรคจะทำลายระบบภูมิต้านทานโรค ทำให้เกิดแผล หายใจผิดปรกติ และ ระบบทางเดินอาหารผิดปรกติแอนแทรกซ์ โรคติดเชื้อ การรักษาโรค

โรคแอนแทรกซ์ ( Anthrax ) คือ ภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ซึ่งเป็นแบคทีเรียจากเนื้อสัตว์ เมื่อคนกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อโรคจะทำให้ร่างกายติดเชื้อและแสดงอาการต่างๆ เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และ ตัวจะเขียว เชื้อโรคจะทำลายภูมิต้านทานโรค และ ทำให้เสียชีวิตในที่สุด

โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในสัตว์และแพร่สู่คนจากการกินเนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีโอกาสมีเชื้อโรคเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ และแกะ เป็นต้น เมื่อเชื้อแอนแทรกซ์เข้าสู่ร่างกายจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายสร้างสารทอกซิน โดยมันจะช่วยทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

เชื้อโรคแอนแทรกซ์ สามารถสร้างเกาะตัวได้ เมื่ออยู่นอกร่างกายคนหรือสัตว์ ทำให้มีความทนทานอยู่ได้นานนับ 10 ปี สัตว์ติดโรคนี้โดยการกินหรือการหายใจเอาเชื้อเข้าไปเชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเร็วมาก สัตว์จึงมักตายภายใน 1 ถึง 2 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไม่แสดงอาการให้เห็น อาจพบเลือดสีดำคล้ำไหลออกจากจมูก ปากหรือทวารหนักของซากสัตว์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแอนแทรกซ์

สำหรับปัจจัยความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแอนแทรก มักจะเป็นคนในกลุ่มที่ทำงานเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโรค และ กลุ่มคนที่นินมกินอาหารดิบ โดยกลุ่มคนที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคแอนแทรกซ์

  • กลุ่มคนที่นิยมกินเนื้อสัตว์ดิบ เช่น ก้อยดิบ ลาบดิบ เป็นต้น
  • ผู้ที่ทำงานในปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์กลุ่มกินหญ้า
  • ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสัตว์กินหญ้าเช่น หนัง ขน กระดูก (ในสหรัฐอเมริกามีรายงานติดต่อจากการตีกลองที่ทำจากหนังสัตว์ที่ติดเชื้อนี้)
  • ผู้ทำงานในห้องปฏิบัติการที่ศึกษาเกี่ยวกับเชื้อนี้
  • เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ในประเทศที่มีการก่อการร้าย
  • สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์กลุ่มนี้
  • ทหารที่ทำสงครามกับประเทศที่ใช้อาวุธชีวภาพ
  • ผู้ฉีด (เข้ากล้ามเนื้อ) สารเสพติดผิดกฏหมาย

อาการของโรคแอนแทรกซ์

สำหรับโรคแอนแทรกซ์ จะมีการแสดงอาการ แบ่งได้ 3 อาการ คือ โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินหายใจ โรคแอนแทรกซ์ที่ทางเดินอาหาร

  • โรคแอนแทรกซ์ที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีตุ่มนํ้าใส แต่หลังจากนั้น 2 – 6 วัน ตุ่มจะยุบตรงกลาง และแผลจะเป็นสีดำเหมือนโดนบุหรี่จี้ มักไม่ปวดแผล
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อย มีอาการไอ เจ็บที่หน้าอก หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก และตัวจะเขียว ทำให้เสียชีวิตในที่สุด
  • โรคแอนแทรกซ์ที่ระบบทางเดินอาหาร พบว่าผู้ป่วยจะเกิดการอักเสบที่ลำไส้ และตัวบวมทำให้เลือดไปอุดตันระบบทางเดินอาหาร มีน้ำในช่องท้องมาก อาจทำให้เกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก และเสียชีวิตในที่สุด

อาการแทรกซ้อนของโรคแอนแทรกซ์ 

อาจพบติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งจะเกิดลักษณะความผิดปรกติจากสมอง เช่น ปวดหัว สับสน กระวนกระวาย เอะอะอาละวาด จนกระทั่งซึมหมดสติ เป็นต้น

การรักษาโรคแอนแทรกซ์ 

เราสามารถรักษาโรคแอนแทรกซ์ โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2544  พบว่ามีการใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยแอนแทรกซ์ แต่ไม่มีผลการศึกษาชัดเจนว่าได้ผลดี

  • การให้ยาปฏิชีวนะ จะได้ผลดีกว่าเมื่อเริ่มให้ยาตั้งแต่รู้ว่าสัมผัสโรคโดยยังไม่เกิดอาการเรียกว่าเป็นการรักษาแบบป้องกัน แต่เมื่อมีอาการแล้วการรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควรและผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคนี้มีหลายตัว โดยการรักษาอาจใช้ยาฯเพียงตัวเดียวหรือหลายตัวร่วมกันทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรคเช่น ยา Cyprofloxacin, Doxycycline, Erythromycin, Penicillin
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำกรณีกินอาหารได้น้อย การให้ออกซิเจนกรณีมีอาการทางการหายใจ การให้เลือดถ้ามีภาวะซีดจากเลือดออกมาก รวมไปถึงการให้ยาแก้อักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์

ในปัจจุบันได้มีการศึกษานำยาที่เป็นสารภูมิต้านทาน (Monoclonal antibody therapy) เช่น ยา Raxibacumab มาใช้ทั้งในการป้องกันและในการรักษาการติดเชื้อแอนแทรกจากการสูดดม ซึ่งได้ผลดีในระดับหนึ่ง

การป้องกันโรคแอนแทรกซ์

  1. หากพบว่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เช่น วัว ควายติดเชื้อแอนแทรกซ์ ให้เผาทำลายซากสัตว์อย่าให้เชื้อโรคแพร่กระจาย
  2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ให้แก่สัตว์เลี้ยง ทุกปี
  3. รักษาสุขอนามัยในการทำอาหาร โรงงานขนสัตว์ และ อาหารสัตว์

เชื้อโรคชนิดนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ดังนั้น การการรักษาและดูแลผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องแยกผู้ป่วย นอกจากจะสงสัยว่าอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกันนี้อาจมีเชื้อโรคจึงจะป้องกัน เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตลง ต้องระวังการแพร่เชื้อจากศพ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ภาวะตาแห้ง Dry Eyes อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดูมือถือนานๆ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ ไม่มีน้ำตา

โรคตาแห้ง ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว และกลุ่มคนที่ใช้สายตามมาก เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิต และ คนที่ดวงตาต้องกระทบกับลมมากๆ โรคตาแห้ง เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอทำให้ดวงตาขาดความชุ่มชื่น สำหรับน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา หรือ ฟิล์มน้ำตา สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ชั้นไขมัน ชั้นสารน้ำ และ ชั้นน้ำเมือก

คนที่มีภาวะตาแห้ง บางครั้งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคตาแห้ง เนื่องจากการระคายเคืองดวงตาจนเกิดความเคยชิน อาจทำให้เป็นแผลที่กระจกตา กระจกตาไม่เรียบใส  ผิวกระจกตาอักเสบ บางรายอาจร้ายแรงจนเกิดการติดเชื้อทำให้ตาบอดได้

สาเหตุของโรคตาแห้ง

โรคตาแห้งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมและความผิดปรกติของร่างกายเอง เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้ง ได้ดังนี้

  1. ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  2. ผลค้างเคียงจากการใช้ยาในบางกลุ่ม เช่น ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาไข้หวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ภาวะเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรง ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยผิดปกติ รวมถึงส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็ว เป็นต้น
  5. ภาวะการเสื่อมของร่างกายตามวัย
  6. ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทำให้เกิดต่อมน้ำตาอักเสบ
  7. ผลข้าวเคียงจากการรักษาดวงตาด้วยการทำเลสิก ทำให้ร่างกายไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  8. ผลข้างเคียงจากการใช้คอนแทคเลนส์
  9. การเกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

อาการของโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่ดวงตาและส่งผลกระทบต่อการมองเห็นพอสมควร ผู้ป่วยจะระคายเคืองดวงตาเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา ขี้ตาเหนียว บางครั้งมีอาการน้ำตาไหล เราสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคตาแห้ง ได้ดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายตา มีอาการฝืดๆดวงตา ระคายเคืองตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว บางครั้งการมองเห็นภาพเหมือนมีภาพซ้อน
  • น้ำตาไหล
  • ขี้ตาเป็นเมือกเหนียว
  • อาจรู้สึกปวดหัว หรือ ปวดตา บางครั้ง

ลักษณะอาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น หากใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวีนานๆ

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับทางการรักษาโรคตาแห้ง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเกิดโรค ตั้งแต่ การปรับการใช้ชีวิต การใช้ยาหยอดตาลดการระคายเคือง การให้ยารักษาตามอาการ รวมถึงการผ่าตัดเพื่อรักษา สรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้ง ดังต่อไปนี้

  1. สำหรับกลุ่มคนที่มีปัจจัยตาแห้งจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม แต่หากจำเป็นให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อดวงตา รวมถึงให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา
  2. สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการตาแห้งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ใช้น้ำตาเทียมช่วยลดอาการขาดน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา และลดการอักเสบของดวงตา
  4. สำหรับในบางกรณีหากจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มีแนวทางการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร และ การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

วิธีการป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง สามารถป้องกันโอกาสการเกิดโรคในส่วนของปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคตาแห้ง มีดังนี้

  • ให้ใส่เครื่องป้องกันดวงตา เช่น ใส่แว่นช่วยป้องกันแสงสีฟ้า จากคอมพิวเตอร์
  • พักสายตาจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ หากจำเป็นต้องใช้สายตานานๆ ควรพักสายตาทุก 30 – 60 นาที ด้วยการหลับตา 1 – 2 นาที
  • หมั่นบริหารดวงตา เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำตาให้หลั่งน้ำตาออกมามากขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • ควรสวมแว่นกันแดดหรือกันลม หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัดแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา
  • หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

ภาวะตาแห้ง ( Dry Eyes ) คือ อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ส่งผลให้ระคายเคืองตา แสบตาไม่สบายตา โรคจากการใช้คอมพิวเตอร์มาก ดูมือถือนานๆ แนวทางการรักษาและการป้องกันโรคตาแห้ง ทำอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove