ภาวะตาแห้ง Dry Eyes อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ทำให้ระคายเคืองตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ ดูมือถือนานๆ รักษาและป้องกันอย่างไร

โรคตาแห้ง โรคตา โรคไม่ติดต่อ ไม่มีน้ำตา

โรคตาแห้ง ภาษาอังกฤษ เรียก Dry Eyes สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกวัย แต่ที่พบมากในเพศหญิง ที่หมดประจำเดือนเดือนแล้ว และกลุ่มคนที่ใช้สายตามมาก เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิต และ คนที่ดวงตาต้องกระทบกับลมมากๆ โรคตาแห้ง เป็นภาวะน้ำตาที่มาหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอทำให้ดวงตาขาดความชุ่มชื่น สำหรับน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา หรือ ฟิล์มน้ำตา สร้างจากเซลล์ในเยื่อบุตา ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ชั้นไขมัน ชั้นสารน้ำ และ ชั้นน้ำเมือก

คนที่มีภาวะตาแห้ง บางครั้งไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคตาแห้ง เนื่องจากการระคายเคืองดวงตาจนเกิดความเคยชิน อาจทำให้เป็นแผลที่กระจกตา กระจกตาไม่เรียบใส  ผิวกระจกตาอักเสบ บางรายอาจร้ายแรงจนเกิดการติดเชื้อทำให้ตาบอดได้

สาเหตุของโรคตาแห้ง

โรคตาแห้งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมและความผิดปรกติของร่างกายเอง เราสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดภาวะตาแห้ง ได้ดังนี้

  1. ความผิดปรกติของฮอร์โมนเพศหญิง
  2. ผลค้างเคียงจากการใช้ยาในบางกลุ่ม เช่น ยากลุ่มแอนตี้ฮิสตามีน ยากล่อมประสาท ยารักษาไข้หวัดและภูมิแพ้ ยาทางจิตเวช และยาลดความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ภาวะเยื่อบุตาอักเสบอย่างรุนแรง ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง
  4. ภาวะการสร้างน้ำตาน้อยผิดปกติ รวมถึงส่วนประกอบของน้ำตาผิดปกติ เช่น น้ำตาระเหยเร็ว เป็นต้น
  5. ภาวะการเสื่อมของร่างกายตามวัย
  6. ภาวะโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ทำให้เกิดต่อมน้ำตาอักเสบ
  7. ผลข้าวเคียงจากการรักษาดวงตาด้วยการทำเลสิก ทำให้ร่างกายไม่มีการถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำตา
  8. ผลข้างเคียงจากการใช้คอนแทคเลนส์
  9. การเกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

อาการของโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง ผู้ป่วยจะแสดงอาการที่ดวงตาและส่งผลกระทบต่อการมองเห็นพอสมควร ผู้ป่วยจะระคายเคืองดวงตาเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา ขี้ตาเหนียว บางครั้งมีอาการน้ำตาไหล เราสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคตาแห้ง ได้ดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายตา มีอาการฝืดๆดวงตา ระคายเคืองตา เหมือนมีอะไรอยู่ที่ดวงตาตลอดเวลา
  • การมองเห็นผิดปรกติ เช่น อาการตาพร่า อาการแพ้แสงแดด และอาการสายตามัว บางครั้งการมองเห็นภาพเหมือนมีภาพซ้อน
  • น้ำตาไหล
  • ขี้ตาเป็นเมือกเหนียว
  • อาจรู้สึกปวดหัว หรือ ปวดตา บางครั้ง

ลักษณะอาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น จะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น หากใช้สายตาหนักขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หรือ ดูทีวีนานๆ

การรักษาโรคตาแห้ง

สำหรับทางการรักษาโรคตาแห้ง มีหลายระดับขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเกิดโรค ตั้งแต่ การปรับการใช้ชีวิต การใช้ยาหยอดตาลดการระคายเคือง การให้ยารักษาตามอาการ รวมถึงการผ่าตัดเพื่อรักษา สรุปแนวทางการรักษาโรคตาแห้ง ดังต่อไปนี้

  1. สำหรับกลุ่มคนที่มีปัจจัยตาแห้งจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต ให้หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา เช่น ไม่อยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง ควัน หลีกเลี่ยงการใช้พัดลม แต่หากจำเป็นให้ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อดวงตา รวมถึงให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา
  2. สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการตาแห้งจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดตาแห้ง เช่น โรคเปลือกตาอักเสบ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. ใช้น้ำตาเทียมช่วยลดอาการขาดน้ำหล่อเลี้ยงดวงตา และลดการอักเสบของดวงตา
  4. สำหรับในบางกรณีหากจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด มีแนวทางการผ่าตัด 3 ลักษณะ คือ การทำ Punctual plug คือ การผ่าตัดเพื่ออุดช่องทางการไหลออกของน้ำตาลงสู่โพรงจมูก การทำ Punctal cautery คือ การผ่าตัดโดยการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาไหล เพื่ออุดการไหลออกของน้ำตาแบบถาวร และ การเย็บเปลือกตาหรือหนังตา เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปรกติของเปลือกตาและหนังตา

วิธีการป้องกันโรคตาแห้ง

สำหรับโรคตาแห้ง สามารถป้องกันโอกาสการเกิดโรคในส่วนของปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคตาแห้ง มีดังนี้

  • ให้ใส่เครื่องป้องกันดวงตา เช่น ใส่แว่นช่วยป้องกันแสงสีฟ้า จากคอมพิวเตอร์
  • พักสายตาจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ หากจำเป็นต้องใช้สายตานานๆ ควรพักสายตาทุก 30 – 60 นาที ด้วยการหลับตา 1 – 2 นาที
  • หมั่นบริหารดวงตา เพื่อกระตุ้นต่อมน้ำตาให้หลั่งน้ำตาออกมามากขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • ควรสวมแว่นกันแดดหรือกันลม หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัดแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสายตา
  • หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

ภาวะตาแห้ง ( Dry Eyes ) คือ อาการน้ำที่ตาไม่เพียงพอที่จะหล่อลื่นลูกตา ส่งผลให้ระคายเคืองตา แสบตาไม่สบายตา โรคจากการใช้คอมพิวเตอร์มาก ดูมือถือนานๆ แนวทางการรักษาและการป้องกันโรคตาแห้ง ทำอย่างไร

เลือดออกในวุ้นตา ตาขาวมีรอยแดงเหมือมมีเลือดคั่งในดวงตา เกิดจากเส้นเลือดที่ตาฉีก ทำให้การมองเห็นไม่ชัดแต่ไม่เจ็บตา เลือดออกในวุ้นตาอันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร

เลือดออกในวุ้นตา โรคตา สายตาพร่ามัว โรคต่างๆ

เลือดออกในวุ้นตา ( Vitreous hemorrhage ) เกิดจากหลอดเลือดที่จอประสาทตาฉีกขาด จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ ทำให้เลือดคั่งอยู่ในวุ้นตา ทำให้ลักษณะเป็นสีแดงๆที่ตาขาว ทำให้เกิดอาการสายตาพร่ามัว แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดดวงตา

สาเหตุที่ทำให้เลือดออกในน้ำวุ้นตา

สำหรับสาเหตุของรอยแดงลักษณะมีเลืิอดขังอยู่ที่ดวงตา เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุ โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากความผิดปรกติของดวงตาเอง และ ภาวะแทรกซ้อนของโรคที่ส่งผลต่อดวงตา สามารถสรุปสาเหตุของภาวะเลือดออกในวุ้นตา มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน หรือ เบาหวานขึ้นตา พบว่าเป็นสาเหตุหลักของอาการเลือดออกในวุ้นตา
  2. ภาวะจอตาขาด แต่ยังโดยไม่มีอาการหลุดลอก พบว่าร้อยละ 15 ของผู้ป่วยเลือดออกในวุ้นตามีสาเหตุมาจากจอตาขาดแต่ยังไม่หลุดลอก
  3. ภาวะขั้วประสาทตาและจานประสาทตาหลุด พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากขั้วประสาทตาและจานประสาทตาหลุด
  4. ภาวะจอตาหลุดลอก พบว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยมีเลือดออกที่วุ้นในตาเกิดจากจอตาหลุด

อาการของโรคเลือดออกในวุ้นตา

การแสดงอาการของผู้ป่วยโรคเลือดออกในวุ้นตา จะแสดงอาการที่ความผิดปรกติของการมองเห็น คือ สายตาพร่ามัวแต่ไม่มีอาการปวดดวงตา การมองเห็นเหมือนมีอะไรลอยไปมา เหมือนมองเห็นหยักไย่ หรือ มองเห็นเหมือนมีเงาเคลื่อนที่ หรือ เห็นเป็นเงาสีแดงเคลื่อนไปมา โดยอาการสายตาพร่ามัวมักจะเกิดตอนตื่นนอน อาการเลือดออกในวุ้นตาสามารถสรุปอาการโดยทั่วไป ได้ดังนี้

  • ลักษณะการมองเห็นพร่ามัวแต่ไม่มีอาการเจ็บปวดดวงตา อาการสายตามัวจะมากที่สุดตอนตื่นนอน และก็จะค่อยๆมองเห็นได้ดีขึ้น
  • การมองเห็นภาพผิดปรกติ เช่น เห็นภาพคนลอยไปลอยมา มองเห็นเหมือนหยักไย่ มองเห็นเป็นเงาเคลื่อนที่ เป็นต้น
  • หากมีอาการปวดที่ดวงตา เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางกรณีที่มีการแทรกซ้อนจากภาวะต้อหิน

อาการของโรคเลือดออกในวุ้นตา นอกจากอาการโดยตรง คือ การมองภาพพร่ามัวแล้ว ยังมีผลข้างเคียงจากการเกิดเลือดออกในวุ้นตาได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ภาวะ Hemosiderosis bulbi คือ อาการตาพล่ามั่ว ที่เกิดจากการเกาะตัวของธาตุเหล็กที่แก้วตา
  • ภาวะ Proliferative vitreo retinopathy คือ ภาวะพังผืดดึงรั้งจอตา อาจทำให้เกิดตาบอดได้
  • ภาวะ Ghost cell glaucoma คือ การเกิดต้อหิน เซลล์ที่มาจากเม็ดเลือดแดง ไหลย้อนเข้ามาในช่องที่อยู่ของวุ้นตา ทำให้เกิดการอุดตันในช่องด้านหน้าของลูกตา ส่งผลต่อความดันตา ทให้สูงขึ้นจนเกิดต้อหิน
  • ภาวะ Hemolytic glaucoma การที่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันทางเดินของน้ำในตา

การรักษาโรคเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเลือดออกในวุ้นตา การรักษาใชเการฉีดยา ผ่าตัด การทำเลเซอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรคและลักษณะความรุนแรงของอาการ แต่โดยทั่วไปแล้วอาการเลือดในวุ้นตาจะค่อยๆถูกร่างกายดูดซึมและหายเองได้ แนวทางการรักษาที่จำเป็นต้องรักษา มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการจอตาหลุดลอก ต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดวุ้นตาและผ่าตัดแก้ไขจอตาให้เข้าที่ และ จะรักษาด้วยลเซอร์ เพื่อป้องกันมิให้เลือดออกซ้ำ
  • รักษาด้วยการฉีดยา Vascular endothelial growth factor เข้าไปในวุ้นตา เพื่อลดการเกิดหลอดเลือดเกิดใหม่
  • รักษาด้วยการฉีดยา Hyaluronidase เข้าไปในวุ้นตา เพื่อละลายเลือด

ป้องกันการโรคเลือดออกในวุ้นตา

สำหรับแนวทางการป้องกันอาการเลือดออกในวุ้นตา ต้องป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค และ การหมั่นสังเกตุความผิดปรกติของดวงตา แนวทางการป้องกันเลือดออกในวุ้นตา มีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่ขยี้ตาแรงๆ
  • ดูแลสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมที่ต้องกระแทกหรือมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัตติเหตุที่ดวงตา ต้องสวมเครื่องป้องกันดวงตา
  • ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี
  • ระมัดระวังการใช้ชีวิตประจำวัน ลดความเสี่ยงทั้งหมดที่มีโอกาสให้เกิดอุบัตติเหตุกับดวงตา

เลือดออกในวุ้นตา อาการตาขาวมีรอยแดง เหมือมมีเลือดคั่งในดวงตา เกิดจากเส้นเลือดที่ตาฉีก ทำให้การมองเห็นไม่ชัดแต่ไม่เจ็บดวงตา เลือดออกในวุ้นตาอันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove